โครงการสร้างภูมิคุ้มกันลูกน้อยด้วยนมแม่ ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการสร้างภูมิคุ้มกันลูกน้อยด้วยนมแม่ ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3061-1-6 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โครงการสร้างภูมิคุ้มกันลูกน้อยด้วยนมแม่ ประจำปี 2568 |
วันที่อนุมัติ | 27 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 มิถุนายน 2568 - 3 มิถุนายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 20,850.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวเจะฟาตีฮะห์ เจะและ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายมะรอกี เวาะเลง |
พื้นที่ดำเนินการ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปั่จจุบันสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไป ครอบครัวที่เคยอยู่พร้อมหน้ากัน พ่อ แม่ ลูก และญาติ แต่แม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน มีความจำเป็นต้องละทิ้งเด็กอ่อนไว้กับ ปู่ ย่า ตา ยาย ทำให้เด็กได้รับนมแม่อย่างเดียวจนอายุ 6 เดือน ลดน้อยลง ซึ่งน้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดเพราะมีสารอาหารครบถ้วน ตามความต้องการของทารกมีภูมิคุ้มกันโรคซึ่งไม่มีในสารอาหารชนิดอื่นและที่สำคัญมีการสร้างความรักระหว่างแม่ลูก เพราะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นกระบวนการเรียนรู้ในการปรับตัว ก่อเกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ข้อมูลเด็กแรกเกิดตั้งแต่ปี 2566,2567 ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะเปาะ ซึ่งพบว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วง 6 เดือนแรก คิดเป็นร้อยละ 0.19,2.50 ตามลำดับ ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เกณฑ์ที่กำหนดไว้ต้องมากกว่าร้อยละ 50 การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีทั้งทางด้านร่างกายและสติปัญญา เพื่อเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะเปาะ มีหน้าที่สนับสนุนองค์ความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งในปีที่ผ่านมาได้มีการประเมินโครงการมหัศจรรย์ 2,500 วัน ยกระดับโภชนาการ ปีงบประมาณ 2568 ทั้งนี้เพื่อให้เด็กทารกได้รับการเลีี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน และต่อเนื่องได้ถึง 2 ปี ควบคู่กับอาหารตามวัย ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ ให้เป็นเด็กเก่ง ดี และมีความสุข
ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะเปาะ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นส่งเสริมนมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อยนาน 6 เดือนตามกระบวนการสุขภาพ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน แกนนำหมู่บ้าน อย่างต่อเนื่อง เพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมและสร้างความเข้าใจการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อเพิ่มความรู้และพัฒนาทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 1.ร้อยละ 70 เพิ่มความรู้และพัฒนาทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ |
30.00 | 70.00 |
2 | 2.เพื่อสร้างทัศนคติเชิงบวกและสร้างบรรยากาศที่ดีในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่สร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ 2.ร้อยละ 80 สร้างทัศนคติเชิงบวกและสร้างบรรยากาศที่ดีในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่สร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ |
20.00 | 50.00 |
3 | 3.เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปกครอง และผู้เลี้ยงดูให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน 3.ร้อยละ พัฒนาศักยภาพผู้ปกครอง และผู้เลี้ยงดูให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน |
30.00 | 70.00 |
4 | 4.เพื่อเสริมสร้างสายสัมพันธ์ ความรัก ความผูกพันในครอบครัว 4.ร้อยละ 70 เสริมสร้างสายสัมพันธ์ ความรัก ความผูกพันในครอบครัว |
20.00 | 50.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 20,850.00 | 0 | 0.00 | |
3 มิ.ย. 68 | อบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด | 0 | 15,850.00 | - | ||
3 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | จัดทำธนาคารนมแม่ โดยที่มีจุดรับเก็บสต็อคนมแม่ ที่ รพ.สต.เกาะเปาะ | 0 | 5,000.00 | - |
1.หญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดมีความรู้/ทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น
2.หญิงตั้งครรภ์มีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้น
3.มารดาหลังคลอดมีศักยภาพในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานถึง 6 เดือนได้สำเร็จ
4.ระบบบริการอนามัยแม่และเด็กมีศักยภาพในการให้บริการส่งเสริมกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2568 15:01 น.