โครงการพิชิตยุงร้าย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ป้องกันไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการพิชิตยุงร้าย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ป้องกันไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | ุ68-L2986-01-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนา |
วันที่อนุมัติ | 1 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 14,090.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวนูรฮูดา สารี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 เม.ย. 2568 | 31 ส.ค. 2568 | 14,090.00 | |||
รวมงบประมาณ | 14,090.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขของประเทศ ในอดีตจะพบอัตราการเกิดโรคในช่วงปลายปี แต่ปัจจุบันสามารถพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี และพบผู้ป่วยมีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มการเกิดโรคสูงขึ้น ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาล โดยเฉพาะหากมีแหล่งหรือสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเพาะพันธ์ยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรค ดังนั้นการควบคุมป้องกันและการเฝ้าระวังไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก จึงเป็นสิ่งสำคัญในการลดอัตราการป่วย โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากหลายฝ่าย ทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และประชาชน ในการช่วยกันควบคุมป้องกันโรค อาทิเช่น การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย คว่ำภาชนะที่เป็นแหล่งน้ำขัง ปิดฝาภาชนะที่ใส่น้ำให้มิดชิด ใส่ทรายอะเบทกำจัดลูกน้ำยุงลาย รวมถึงการป้องกันไม่ให้โดนยุงกัด และควรเฝ้าระวัง โดยการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายเป็นประจำ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก และการควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดของโรค
จากรายงานสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ.2565 - 2567 ประเทศไทยมีประชากรป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 45,145 ราย, 158,620 รายและ 105,250 ราย ตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วย 68.23, 238.15 และ 159.15 ต่อแสนประชากร ในจังหวัดปัตตานีมีผู้ที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 333 ราย, 2,057 ราย และ 2,378 รายตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วย 45.75, 281.29 และ 325.19 ต่อแสนประชากร (ข้อมูลจากการรายงานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา 506 กองระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข) ในอำเภอทุ่งยางแดงมีประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 3 ราย, 27 ราย และ 28 รายตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วย 14.62, 135.46 และ 139.30 ต่อแสนประชากร และในพื้นที่ตำบล ตะโละแมะนามีประชากรป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 0 ราย, 3 ราย และ 2 รายตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วย 0, 101.28 และ 68.75 ต่อแสนประชากร (เกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ อัตราป่วยทั้งปี ไม่ควรเกิน 50 ต่อประชากรแสนคน , ข้อมูลจากการรายงานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา R506 และระบบดิจิทัลเฝ้าระวังโรค DDS กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข)
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดแนวคิดในการแก้ไขปัญหา โดยการ มีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรค เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนาได้ตระหนักถึงปัญหาและความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการดำเนินการควบคุมโรคทันทีและรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างสม่ำเสมอ จึงได้จัดทำโครงการพิชิตยุงร้าย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ป้องกันไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่
|
100.00 | |
2 | 2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
|
100.00 | |
3 | 3. เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดและลดอัตราป่วย/ตายด้วยโรคไข้เลือดออก
|
100.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 เม.ย. 68 - 31 ส.ค. 68 | กิจกรรม อบรมให้ความรู้ เรื่องโรคไข้เลือดออก และฟื้นฟูการรายงานค่า HI CI ให้ถูกต้อง ทันเวลา และทันสถานการณ์แก่อสม. | 0 | 0.00 | - | ||
1 เม.ย. 68 - 31 ส.ค. 68 | กิจกรรมรณรงค์ พัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก | 0 | 6,600.00 | - | ||
1 เม.ย. 68 - 31 ส.ค. 68 | กิจกรรมพ่นหมอกควัน เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก | 0 | 7,490.00 | - | ||
รวม | 0 | 14,090.00 | 0 | 0.00 |
1.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม 2. สามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ 3. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2568 00:00 น.