โครงการพัฒนาคลินิกฝากครรภ์เพื่อมารดาคุณภาพ หญิงตั้งครรภ์ปลอดภัย ลูกน้อยแข็งแรง ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาคลินิกฝากครรภ์เพื่อมารดาคุณภาพ หญิงตั้งครรภ์ปลอดภัย ลูกน้อยแข็งแรง ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L2986-01-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนา |
วันที่อนุมัติ | 1 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 10,450.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางฮัสตานีย๊ะ หามาลา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 เม.ย. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 10,450.00 | |||
รวมงบประมาณ | 10,450.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ระยะตั้งครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นที่มีความสำคัญสำหรับการให้กำเนิดทารกให้มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา แม้ว่าการตั้งครรภ์ของสตรีจะเป็นภาวะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่ก็เป็นภาวะที่หญิงตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความไม่สุขสบายและมีความวิตกกังวล ดังนั้นจึงจำเป็นที่หญิงตั้งครรภ์ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองและทารกในครรภ์ การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด ซึ่งต้องมีการเตรียมกล้ามเนื้อให้แข็งแรง โดยการฝึกการหายใจเพื่อลดความเจ็บปวดขณะคลอด เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด รวมทั้งเตรียมรับบทบาทการเป็นมารดาที่ดีมีคุณภาพ สามารถเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาภายหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง เมื่อมารดาได้รับความรู้และได้รับการส่งเสริมอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยจะเริ่มตั้งแต่มารดาวางแผนการตั้งครรภ์อย่างค่อยเป็นค่อยไปตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์และหลังคลอด เพื่อก้าวเข้าสู่บทบาทของการเป็น"มารดาคุณภาพ" จังหวัดปัตตานี มีนโยบายการดำเนินงาน “อำเภอสุขภาวะดี” โดยมีนายอำเภอเป็นประธาน และมีสหสาขาวิชาชีพร่วมเป็นกรรมการ ที่เน้นการควบคุมป้องกันโรคในพื้นที่และการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย ให้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานที่ลงสู่ระดับตำบล ซึ่งการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย ได้มีการในขับเคลื่อนตามมาตรฐาน ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน ภายใต้การมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบล หน่วยบริการสาธารณสุขประจำตำบล ศูนย์เด็กเล็ก และ เครือข่ายชุมชน ที่ต้องร่วมผลักดันให้ มีมาตรการ มีกิจกรรม ที่ส่งเสริมให้ หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์ในคลินิกที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ส่งเสริมภาวะโภชนาการขณะตั้ง เพื่อเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจาง อีกทั้ง ส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์และสามี ได้เข้ารับการเรียนรู้ โรงเรียนพ่อ -แม่ เพื่อการปฏิบัติตนที่ถูกต้องขณะตั้งครรภ์ จากรายงานผลการดำเนินงานด้านอนามัยแม่และเด็กของศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนา ในปีงบประมาณ 2565 - 2567 หญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบมารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ (เกณฑ์ร้อยละ.60) ผลงาน ร้อยละ 68.42 , 66.67,71.05 ตามลำดับ, ฝากครรภ์ครบครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์(เกณฑ์ร้อยละ.60) ผลงาน ร้อยละ 62.96 ,68.42,64.29 ตามลำดับ, หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีดไม่เกิน (เกณฑ์ร้อยละ 10) ผลงาน ตั้งแต่ ปี 2565 คิดเป็นร้อยละ 26.15,ปี 2566 คิดเป็นร้อยละ 18.36,ปี 2567 คิดเป็นร้อยละ 28.0 ตามลำดับ , หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนพ่อ-แม่ (เกณฑ์ร้อยละ 100) ผลงาน ตั้งแต่ ปี 2565 ไม่ได้เก็บข้อมูลเพราะเป็นช่วงหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ,ปี 2566 คิดเป็นร้อยละ 81.63,ปี 2567 คิดเป็นร้อยละ 84.0 ตามลำดับ ตามลำดับ, ทารกแรกคลอดมีน้ำหนัก 2,500 กรัมขึ้นไป (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 7) ผลงานร้อยละ 3.13 , 6.52 , 5.56 ตามลำดับ ปัญหาที่พบ ยังมีหญิงตั้งครรภ์ มาฝากครรภ์ช้า ไม่มาฝากครรภ์ตามนัด ไม่ตระหนักถึงภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์และคลอด เช่นความดันโลหิตสูง เบาหวาน ภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ เป็นต้น และ ซึ่งบ่งบอกถึงคุณภาพของมารดาขณะตั้งครรภ์ที่จะส่งผลต่อการคลอดที่ปลอดภัยทั้งมารดาและทารก ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนาเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพอนามัยมารดาและมารก จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคลินิกฝากครรภ์เพื่อมารดาคุณภาพ หญิงตั้งครรภ์ปลอดภัย ลูกน้อยแข็งแรง ปีงบประมาณ 2568ที่จะส่งเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นในหญิงขณะตั้งครรภ์ ในระหว่างคลอดและหลังคลอด และให้ทารกมีสุขภาพที่แข็งแรง โดยร่วมกันเป็นสายสัมพันธ์ครอบครัว ที่ช่วยกันดูแลสุขภาพในพื้นที่ ต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการเตรียมพร้อมก่อนการตั้งครรภ์สู่การเป็นมารดาคุณภาพเมื่อตั้งครรภ์
|
100.00 | |
2 | เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการในคลินิกมีความรู้ในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์
|
100.00 | |
3 | เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ทราบแนวทางการปฏิบัติตนเองขณะอยู่ที่บ้านอย่างถูกต้อง
|
100.00 | |
4 | เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนพ่อ แม่ หลักสูตรที่1 ทุกราย
|
100.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 10,450.00 | 0 | 0.00 | |
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | 1 อบรมหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ ให้มีความรู้เรื่องการฝากครรภ์คุณภาพ และการเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ | 0 | 7,700.00 | - | ||
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | โรงเรียนพ่อ แม่ หลักสูตรที่ 1 | 0 | 2,750.00 | - |
- หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์เร็วภายใน12สัปดาห์
- หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 60
- หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีดไม่เกิน ร้อยละ 10
- หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนพ่อ แม่ร้อยละ 100
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2568 00:00 น.