กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดี ชีวีมีสุข ตามวิถีชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2568
รหัสโครงการ 68-L2489-1-
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บาเระเหนือ
วันที่อนุมัติ 17 เมษายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 64,860.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเระเหนือ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.571,101.613place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)     จากสภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนตามสภาพจากเดิม ทำให้พฤติกรรมของแต่ละคนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง อันนำไปสู่ ระบบการทำงานต่างๆของร่างกายเริ่มจะเสื่อมโทรมลง      และมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะ อย่างยิ่งโรคเรื้อรัง Metabolic ได้แก่ โรคเบาหวาน,        โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะทนทุกข์ทรมาน      และทำให้เกิดความสูญเสียทั้งทรัพย์สิน และชีวิต นอกจากนี้โรคเบาหวานยังคงเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคอื่นๆ  ในกลุ่มโรค NCDs เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง และโรคไตวายเรื้อรัง ฯลฯ     สถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย ข้อมูลจากรายงานสถิติสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทยพบอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2566 มีผู้ป่วยรายใหม่ เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปี    ในปี พ.ศ. 2565 มีผู้ป่วยโรคเบาหวานสะสมจำนวน 3.3 ล้านคนเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2564 มากถึง 1.5 แสนคน    สำหรับการคัดกรองผู้ป่วยรายใหม่ในปี 2567 พบว่า การคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป    ยังไม่ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานมากถึง 5 ล้านคนจากเป้าหมายทั่วประเทศ 22 ล้านคน ดังนั้นประชาชนที่มีอายุ  35 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองโรคเบาหวานปีละ 1 ครั้ง ค่าระดับน้ำตาลในเลือดควรน้อยกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ซึ่งหากตรวจพบตั้งแต่เริ่มแรกและรักษาได้เร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงและ      อาจถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งสาเหตุโรคเบาหวานเกิดจากการทํางานของฮอร์โมนผิดปกติส่งผลให้เกิดภาวะนํ้าตาลในเลือดสูง  หากน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้อวัยวะเสื่อมสภาพเป็นเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ตา ไต    หลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมองโรคเบาหวานที่พบได้บ่อยที่สุด คือ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจาก      ภาวะดื้ออินซูลิน ในระยะแรกอาจไม่มีอาการ มักตรวจพบเมื่อเช็กสุขภาพโดยบังเอิญในผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป        มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนร่วมด้วย การดูแลป้องกันผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทำได้โดย        ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี ควบคุมอาหารลดอาหารหวาน มัน เค็ม พบแพทย์สม่ำเสมอ ใช้ยาตามแพทย์สั่ง  หากมีอาการผิดปกติให้แจ้งแพทย์ที่รักษาห้ามปรับยาเอง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นตรวจเท้าด้วยตัวเอง  หากเป็นแผลควรรีบไปพบแพทย์ ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
    สถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ของตำบลบาเระเหนือตั้งแต่ปี ปี 2564 ถึงปี 2566 เท่ากับ 5 คน    ,4 คน,และ 2 คน ตามลำดับ และในปี 2567 ผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด จำนวน 199 คน และสามารถควบคุมระดับน้ำตาล  ในเลือดได้ดี ร้อยละ 15.58 (เกณฑ์มากกว่าหรือเท่ากับ 40 %) และสถานการณ์ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่  ของตำบลบาเระเหนือตั้งแต่ปี ปี 2563 ถึงปี 2565 เท่ากับ 6 คน,5 คน,และ 5 คน ตามลำดับ และในปี 2567        มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในความรับผิดชอบ จำนวน 627 คน และสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี      ร้อยละ 51.20 (เกณฑ์มากกว่าหรือเท่ากับ 60 %) การดูแลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนั้นไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะ            โดยแพทย์เท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับการดูแลตนเองของผู้ป่วย และการตรวจป้องกันภาวะแทรกซ้อน นอกจาก          ยังควรมีการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านเพื่อจะได้ทราบถึงปัญหาของการดูแลตนเอง และร่วมหารือ และแนะนำ      การแก้ไขปัญหาสุขภาพกับผู้ป่วยแต่ละราย ปัจจุบันผู้ป่วยที่มารับบริการดูแลรักษาโรคเรื้อรังดังกล่าวมี          เป็นจำนวนมาก และมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้รับบริการดูแลภาวะแทรกซ้อนได้อย่างครบถ้วน    และการรักษาส่วนใหญ่ยังเน้นโรงพยาบาลเป็นศูนย์กลาง(Hospital-based) ถึงแม้หลาย ๆ โรงพยาบาล          จะได้รับการรับรองเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ(HPH) ก็ตาม ทำให้ไม่เกิดความยั่งยืนในระบบการดูแลสุขภาพ  ผู้ป่วยและครอบครัวมีศักยภาพในการดูแลตนเองน้อย ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งแพทย์ และทีมงานเป็นหลัก    แต่ในความเป็นจริงการที่สามารถให้ประชาชน กลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วย ได้ตระหนักในการดูแลตนเอง มีความรู้ สร้างทัศนคติ  จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปฏิบัติตัวให้ห่างจากการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย          เพื่อลดงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมาก     การป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนที่มีความเสี่ยงสูงจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่มีความสำคัญเพื่อลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรค ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเระเหนือได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการค้นหาและคัดกรองโรคเบาหวานและภาวะความดันโลหิตสูงของประชาชนในพื้นที่ รับผิดชอบ ทั้งนี้เพื่อประเมินสถานการณ์ และแนวโน้มของการเจ็บป่วย อันจะเป็นแนวทางในการวางแผน กำหนดนโยบายในการควบคุม ป้องกัน และลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งประชาชนในกลุ่มเป้าหมายได้เกิดทักษะในการค้นหากลุ่มเสี่ยงของโรคดังกล่าวในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อสม.มีความรู้และทักษะในการคัดกรองกลุ่มเป้าหมายตามแนวทางที่ถูกต้อง

อสม.มีความรู้และทักษะในการคัดกรองความดันโลหิตสูงและเจาะน้ำตาลในเลือดที่ปลายนิ้ว ร้อยละ 80

2 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นเพื่อค้นหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ประชากรอายุ 35 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นเพื่อค้นหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90

3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วย 3 อ. 2 ส ตามวิถีชุมชน

กลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพร้อยละ 67

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 68เม.ย. 68พ.ค. 68มิ.ย. 68ก.ค. 68ส.ค. 68ก.ย. 68
1 จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำ/ภาคีเครือข่าย(10 มี.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) 8,100.00              
2 กิจกรรมตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงและให้ความรู้แก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป โดยแกนนำ/ภาคีเครือข่ายในชุมชน จำนวน 1,200 คน(7หมู่บ้าน)(10 มี.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) 56,760.00              
รวม 64,860.00
1 จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำ/ภาคีเครือข่าย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 75 8,100.00 0 0.00 8,100.00
10 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 1.1 อบรมให้ความรู้แก่แกนนำในการดูแลติดตาม กลุ่มเสี่ยงสูงและผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 75 คน 1.2 ฝึกทักษะการตรวจความดันโลหิตและระดับ น้ำตาลในเลือดแก่แกนนำ/ภาคีเครือข่าย 75 8,100.00 - -
2 กิจกรรมตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงและให้ความรู้แก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป โดยแกนนำ/ภาคีเครือข่ายในชุมชน จำนวน 1,200 คน(7หมู่บ้าน) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 1320 56,760.00 0 0.00 56,760.00
10 มี.ค. 68 เจาะเลือดปลายนิ้วและวัดความดันโลหิตเพื่อคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนอายุ 35 ขึ้นไป โดยแกนนำ/ภาคีเครือข่ายตามจุดที่กำหนดในชุมชน 1,200 39,960.00 - -
10 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 อบรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่กลุ่มเสี่ยงรายใหม่โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ด้วยหลัก 3 อ 2 ส จำนวน 120 คน(จัดอบรม 2 รุ่นๆละ 60 คน 120 16,800.00 - -
รวมทั้งสิ้น 1,395 64,860.00 0 0.00 64,860.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อภาระโรค METABOLIC

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2568 11:02 น.