โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน |
รหัสโครงการ | 68-L3061-2-8 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน |
วันที่อนุมัติ | 27 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 30,900.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวตูแวยามีละห์ ไซดอุเซ็ง |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายมะรอกี เวาะเลง |
พื้นที่ดำเนินการ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 46 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกระดับจังหวัด จากระบบเฝ้าระวังโรค (รง.506) ในปี พ.ศ.2566 อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2566 ลดลงร้อยละ 15 จากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปีงบประมาณ (2565-2566) พบมีผู้ป่วยทั้งหมด 317 ราย อัตราป่วย 51.72 ต่อประชากรแสนคน โดยกลุ่มเสี่ยงพบในเด็กกลุ่มวัยเรียน อายุ 5 - 9 ปี มีอัตราป่วยสูงสุด 668.97 ต่อประชากรแสนคน อายุ 10 - 14 ปี มีอัตราป่วยสูงสุด 560.38 ต่อประชากรแสนคน และอายุ 0-4 ปี มีอัตราป่่วยสูงสุด 448.56 ต่อประชากรแสนคนในอำเภอหนองจิก ตั้งแต่ปี 2567 (ณ วันที่ 1 ม.ค.2567-31 ธ.ค.2567) พบว่ามีผู้ป่วยทั้งหมด (132 ราย) 202.18 ต่อแสนประชากร และในพื้นที่ตำบลเกาะเปาะ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2567-31 ธ.ค.2567 พบว่ามีผู้ป่วยทั้งหมด (4 ราย) 0.11 ต่อประชากร เนื่องจากชุมชนได้มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังสำรวจลูกน้ำยุงลายและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลายในแต่ละแวกบ้านของตนเองทุกเดือนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในชุมชนตำบลเกาะเปาะยังไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก แต่ก็ต้องเฝ้าระวังในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน ทำให้มีเก็บกักน้ำฝนในภาชนะต่างๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะภาชนะที่อยู่นอกบ้าน หรือภาชนะที่ไม่ได้ใช้แล้ว ส่งผลให้มีเพาะพันธ์ุยุงลายจำนวนมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในภาคใต้มักจะมีฝนตกมากในช่วงปลายปี (พฤศจิกายน - ธันวาคม) จึงมีโอกาสที่จะเกิดการระบาดในช่วงปลายปีแล้วต่อเนื่องไปยังต้นปีของปีถัดไป
กลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยโรคไข้เลือดออกยังคงอยู่กลุ่มเด็กวัยเรียน (5-15 ปี) และวัยผู้ใหญ่ตอนเย็น (15-24 ปี) แต่กลุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเป็นวัยผู้ใหญ่ (อายุ 35 ปีขึ้นไป) โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 45-54 ปี และ 60 ปีขึ้นไป มีอัตราป่วยตายสูงกว่าในวัยเด็ก 3-4 เท่า เนื่องจากผู้ใหญ่และผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัวเรื้อรังทำให้เมื่อป่่วยเป็นไข้เลือดออกจะมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ตับวาย ไตวาย ที่รักษาได้ยาก นอกจากนี้ผู้ใหญ่ส่วนมากเมื่อป่วยมักซื้อยารับประทานเองหรือไปฉีดยาลดไข้ที่คลินิก ทำให้ไม่ได้ไปตรวจหาสาเหตุของไข้ ที่โรงพยาบาลแต่เนิ่นๆ จึงได้รับการรักษาที่เหมาะสมล่าช้า ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน โดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม ตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ปี 2567 ขึ้น โดยดำเนินการ 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรณรงค์ไข้เลือดออก ควบคุมยุงพาหะ กำจัดแหล่งพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ไม่พบลูกน้ำยุงลายในทุกบ้าน ทุกชุมชน ทุกพื้นที่ และกิจกรรมที่ 2 กิจกรรมควบคุมการระบาด พ่นสารเคมีทำลายยุงในบ้านผู้ป่วยและรัศมี 200 เมตร ถ้ามีรายป่วยจำนวนมากแล้วให้พ่นทั้งหมู่บ้าน โดยต้องเป็น ULV เท่านั้น และต้องพ่นสารเคมี 4 ครั้ง ในวันที่ 0,1,3 และ 7 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชน และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบ้านและบริเวณใกล้เคียงโดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเกาะเปาะ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 1.ร้อยละ 70 ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก |
20.00 | 5.00 |
2 | 2.เพื่อลดดัชนีลูกน้ำยงลายค่า HI และค่า CI ในชุมชนไม่เกินร้อยละ 15 2.ร้อยละ 30 ลดดัชนีลูกน้ำยงลายค่า HI และค่า CI ในชุมชนไม่เกินร้อยละ 15 |
50.00 | 20.00 |
3 | 3.เพื่อให้ประชาชนตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก 3.ร้อยละ 70 ประชาชนตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก |
50.00 | 20.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 30,900.00 | 0 | 0.00 | |
3 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกที่ระบาดในตำบล และสาเหตุ อาการ เฝ้าระวัง ป้องกัน รู้ทันยุงลาย | 0 | 8,400.00 | - | ||
3 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ในชุมชน มัสยิด และในโรงเรียน | 0 | 0.00 | - | ||
3 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมควบคุมการระบาดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง | 0 | 22,500.00 | - |
1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดลดลง 2.ดัชนีลูกน้ำยุงลายค่า HI และค่า CI ในชุมชนลดลง 3.ประชาชนมีความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2568 14:25 น.