โครงการพัฒนาศักยภาพด้านการแพทย์ฉุกเฉินการฟิ้นคืนชีพ (CPR) และการปฐมพยาบาล
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาศักยภาพด้านการแพทย์ฉุกเฉินการฟิ้นคืนชีพ (CPR) และการปฐมพยาบาล |
รหัสโครงการ | 68-L1462-1-9 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองชีล้อม |
วันที่อนุมัติ | 23 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 21 พฤษภาคม 2568 - |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 35,100.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางเนตรชนก หวังสม เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน รักษาราชการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองชีล้อม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองชีล้อม อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.433,99.587place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ภาวะหัวใจหยุดเต้นหรือหยุดหายใจ (Sudden Cardiac Arrest) เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่มีความสำคัญเป็นภาวะที่หัวใจทำงานผิดปกติ จนกระทั่งไม่มีการบีบตัวของหัวใจ โดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า ทำให้ระบบการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายหยุดชะงัก ส่งผลให้ผู้ป่วยหมดสติ ไม่มีชีพจร หยุดหายใจและเสียชีวิต หากไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้องและเหมาะสมอย่างทันท่วงที สาเหตุหลัก พบว่า เกิดจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
สำหรับประเทศไทยข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขพบว่าแต่ละปีคนไทยเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันกว่า 54,000 คน หรือเฉลี่ยทุก ๆ 1 ชั่วโมง คนไทยเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ประมาณ 6 คน และผลสำรวจทักษะความรู้และความพร้อมของคนไทยในการช่วยชีวิตผู้ป่วยเมื่อเกิดเหตุภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน พบว่าเพียงร้อยละ 37 เท่านั้นที่ทราบวิธีการกู้ชีพพื้นฐาน ที่ถูกต้องร้อยละ 50 รู้จักเครื่อง AED แต่ 2 ใน 3 ไม่ทราบวิธีการใช้งาน
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองชีล้อม จึงตระหนักเห็นความสำคัญในปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติ หมู่บ้านต้นแบบ นาทีชีวิต 2 มือ ปาฏิหาริย์ฟื้นคืนชีพ CPR เพื่อให้หัวหน้าครอบครัวและประชาชนในพื้นที่ มีความรู้ สามารถให้การช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันได้ถูกต้อง ทันท่วงทีและเพิ่มโอกาสรอดชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเพิ่มศักยภาพและความรู้แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ร้อยละ 90 แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวมีศักยภาพในการช่วยฟื้นคืนชีพ/การใช้เครื่อง AED |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ และทักษะการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ CPR และการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ (AED) ได้อย่างถูกต้องสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและมีประสิทธิภาพ
- ลดอัตราการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2568 12:06 น.