โครงการศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs สถานีสุขภาพชุมชน (Health Station)
ชื่อโครงการ | โครงการศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs สถานีสุขภาพชุมชน (Health Station) |
รหัสโครงการ | 68-L3320-02-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านเกาะยาง (นางวิธุพร ด้วงเกต) |
วันที่อนุมัติ | 6 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 16 พฤษภาคม 2568 - 26 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 48,050.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านเกาะยาง (นางวิธุพร ด้วงเกต) |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 200 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน | 24.00 | ||
2 | ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง | 35.00 | ||
3 | ร้อยละของประชาชนมีความเสี่ยงโรคNCDs อื่นๆ | 30.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งพบว่าอัตราชุกของโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมองอันเนื่องมาจากปัจจัยเสี่ยง ที่คุกคามภาวะสุขภาพได้แก่การรับประทานอาหารการออกกำลังกาย และพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ก่อให้เกิดความเครียดเป็นต้น ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข ปี 2568มีนโยบายคนไทยห่างไกลโรคและภัยสุขภาพโดยการนำศักยภาพของเครือข่ายสาธารณสุขทุกภาคส่วน รวมถึง อสม.ในการส่งเสริม ป้องกัน และควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable disease : NCDs) ซึ่งเป็นปัญหาที่สามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม โดยจากงานวิจัยของกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ WHO ในปี 2562 ระบุว่า คนไทยเสียชีวิตด้วย NCDs ปีละกว่า 400,000 ราย และสูญเสียต้นทุนทางเศรษฐกิจกว่า 1.6 ล้านล้านบาทต่อปี หรือร้อยละ 9.7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ โดยเป็นค่ารักษาพยาบาลทางตรง 1.39 แสนล้านบาท และความสูญเสียทางอ้อมอีก 1.5 ล้านล้านบาท จึงจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนจึงพัฒนาศักยภาพให้เป็นแกนนำสุขภาพของชุมชน ในการส่งเสริม ป้องกัน และควบคุมโรค NCDs เชิงรุก โดยการให้ความรู้ สร้างความตระหนัก จนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ รวมถึงเป็นผู้ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ในฐานะหมอคนที่ 1 ช่วยยกระดับระบบสุขภาพปฐมภูมิให้คนไทยห่างไกลโรคและภัยสุขภาพ ลดอัตราการป่วยด้วยโรค NCDs ก่อนเข้าสู่ระบบการรักษา ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่าย ด้านสุขภาพของประเทศ ด้วยหลักคิด “NCDs ดีได้ด้วยกลไก อสม.” พร้อมทั้งจะสนับสนุนการดำเนินงานและดูแลให้มีความ “ก้าวหน้า มั่นคง และยั่งยืน” ทั้งในด้านการพัฒนาศักยภาพ การปฏิบัติงาน ทำให้เกิดนวัตกรรมการให้บริการคัดกรองและติดตามภาวะความดันและน้ำตาลในเลือดนอกสถานพยาบาล มีการบันทึกข้อมูลสุขภาพของประชาชน และส่งต่อข้อมูลกับสถานพยาบาล โดยมีสถานที่ตั้งให้บริการอยู่ในชุมชน มีชื่อเรียกว่า สถานีสุขภาพ (Health Station) ซึ่งหมายถึง สถานที่สำหรับให้บริการตรวจสุขภาพด้วยตนเองของประชาชนทุกกลุ่มวัย ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ตลอดเวลาเมื่อมีความต้องการตรวจเช็คสุขภาพของตนเอง หรือเมื่อแพทย์ต้องการติดตามภาวะสุขภาพของผู้ป่วย ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านเกาะยาง จึงได้จัดทำโครงการศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs สถานีสุขภาพในชุมชน (Health Station) เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานสถานีสุขภาพ (Health Station) ของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ (NPCU) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะยาง ตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงของประชาชนช่วยให้ประชาชนทั้งกลุ่มปกติและกลุ่มป่วยสามารถเข้าถึงบริการ การตรวจเฝ้าระวังทางสุขภาพได้สะดวกขึ้น และลดอัตราการป่วย การเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังลงได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง |
24.00 | 20.00 |
2 | ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง |
35.00 | 25.00 |
3 | เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง |
2.00 | 1.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 48,050.00 | 0 | 0.00 | |
26 พ.ค. 68 - 20 มิ.ย. 68 | ประชุมทีมงานเพื่อชี้แจ้งกำหนดรูปแบบและหาแนวทางจัดกิจกรรม | 0 | 1,750.00 | - | ||
23 มิ.ย. 68 - 31 ก.ค. 68 | จัดตั้งศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs สถานีสุขภาพชุมชน (Health Station) | 0 | 46,300.00 | - |
1.ประชาชนมีสุขภาพที่ดี ลดภาวะเสี่ยงต่อโรค NCDs ลดผู้ป่วยรายใหม่
2.ประชาชนในพื้นที่ใช้บริการที่สถานีสุขภาพเพิ่มขึ้น ลดความแออัดในโรงพยาบาล
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2568 15:40 น.