โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อตามฤดูกาล
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อตามฤดูกาล |
รหัสโครงการ | 68-L1526-01-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองปรือ |
วันที่อนุมัติ | 30 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 7,720.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางปาริฉัตร น้อยนาฎ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.798,99.563place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 70 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัญหาโรคติดต่อ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิด เนื่องจากเชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น เจริญเติบโตได้รวดเร็ว สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็ว เช่น โรคติดต่อทางระบบหายใจ(ไข้หวัดใหญ่) โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ (ไข้เลือดออก) โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ (อุจจาระร่วง) และโรคติดต่ออื่นๆ (มือ เท้า ปาก,ฉี่หนู) โดยประชาชนจะต้องทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อให้ระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อตามฤดูกาลในพื้นที่จะต้องรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพ โดยการดำเนินงานในลักษณะ “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล และร่วมรับผิดชอบ” ในทุกระดับ เพื่อช่วยกันค้นหาปัญหา จึงจะสามารถแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรค ประชาชนจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ภายใต้ศักยภาพพื้นที่ของตนเอง หน่วยงานเกี่ยวข้องทุกระดับให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพที่แท้จริงของพื้นที่เป็นหลัก สามารถเชื่อมโยงผสมผสานแนวคิด องค์ความรู้ เข้ากับบริบทของพื้นที่ จึงจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป ในอนาคต
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก จังหวัดตรัง ปี2567 ได้รับรายงานผู้ป่วย จำนวนทั้งสิ้น 1,085 ราย คิดเปน อัตราปวย 170.50 ตอประชากรแสนคน พบผูเสียชีวิต จำนวน 0 ราย คิดเปนอัตราตาย 0.00 ตอประชากรแสนคน อัตราปวยตาย รอยละ 0.00 (ขอมูล ณ วันที่ 21 ตุลาคม 2567 : ระบบรายงานโรค 506 สสจ. ตรัง)
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก อำเภอห้วยยอด ปี2567 ได้รับรายงานผู้ป่วย จำนวนทั้งสิ้น 79 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 84.45 ต่อประชากรแสนคน รายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 0 ราย (ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม 2567 – 31 ตุลาคม 2567 : ระบบรายงานโรค 506 สสจ.ตรัง)
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสขภาพตำบลบ้านหนองปรือ ปี๒๕๖7 พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก (Active case) จำนวน 2 ราย ได้แก่ พื้นที่หมู่ที่ 9 จำนวน 2 ราย (ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม 2567 - วันที่ 31 ตุลาคม 2567 : ทะเบียนรางานโรค 506 รพ.สต.)
และในส่วนสถานการณ์ของโรคฉี่หนู จังหวัดตรัง ปี2567 ตั้งแตวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง วันที่ 21 ตุลาคม 2567 กลุ่มงานควบคุมโรคติดตอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ไดรับรายงานผู้ปวยโรคเลปโตสไปโรสิส (Leptospirosis) พบผู้ปวย จำนวน 167 ราย คิดเปนอัตราปวย 26.24 ตอประชากรแสนคน พบผู้เสียชีวิต จำนวน 2 ราย (อำเภอปะเหลียน 1 ราย และอำเภอกันตัง 1 ราย) คิดเปนอัตราตาย 0.31 ตอประชากรแสนคน อัตราปวยตาย รอยละ 1.20 อำเภอที่มี อัตราปวยสูงสุด คือ อำเภอวังวิเศษ จำนวน 27 ราย คิดเปนอัตราปวย 62.26 ตอประชากรแสนคน รองลงมา คือ อำเภอเมืองตรัง จำนวน 54 ราย คิดเปนอัตราปวย 35.10 ตอประชากรแสนคน และ อำเภอสิเกา จำนวน 11 ราย คิดเปนอัตราปวย 28.75 ตอประชากรแสนคน อำเภอที่มีอัตราปวยต่ำสุด คือ อำเภอรัษฎา จำนวน 3 ราย คิดเปนอัตราปวย 10.34 ตอประชากรแสนคน (ขอมูลวันที่ 1 มกราคม 2567 - วันที่ 21 ตุลาคม 2567 : ระบบรายงานโรค 506 สสจ.ตรัง)
สถานการณ์ของโรคฉี่หนู อำเภอห้วยยอด ปี 2567 ได้รับรายงานผู้ป่วย จำนวนทั้งสิ้น 17 ราย คิดเป็น อัตราป่วย 18.17 ต่อประชากรแสนคน รายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 0 ราย (ขอมูลวันที่ 1 มกราคม 2567 - วันที่ 21 ตุลาคม 2567 : ระบบรายงานโรค 506 สสจ. ตรัง)
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองปรือ ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคติดต่อตามฤดูกาล เพื่อส่งเสริมแกนนำสุขภาพประจำบ้านสามารถป้องกันตนเอง ไม่ให้ป่วย ด้วยโรคติดต่อ ที่ป้องกันได้ และเพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อมในการเฝ้าระวังและการสอบสวนโรค พร้อมทั้ง เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
23 มิ.ย. 68 | ๑. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ ๑.๑ ให้ความรู้แกนนำ ประจำบ้านแจำนวน 69 คน | 69 | 7,720.00 | - | ||
รวม | 69 | 7,720.00 | 0 | 0.00 |
๑. แกนนำสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคโรคติดต่อตามฤดูกาลเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๘๐ ๒. อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อตามฤดูกาล ไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร และ หมู่บ้าน/ชุมชน สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกไม่ให้เกิดใน Generation ที่ ๒ ได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2568 10:39 น.