กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจสารเคมีตกค้างในเลืดเกษตรกร
รหัสโครงการ 68-L1256-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองปรือ
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปาริฉัตร น้อยนาฎ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.798,99.563place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 12,600.00
รวมงบประมาณ 12,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประชากรไทยส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ปัญหาสุขภาพที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ อันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างแพร่หลายเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและมีเกษตรกรส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้สารเคมีฯ ที่ไม่ถูกต้อง ปลอดภัย ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง อาการแสดงเฉียบพลันมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ ส่วนอาการเรื้อรังสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะสะสมในระบบต่างๆ ของร่างกายทำให้เกิดความผิดปกติและโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ เป็นต้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามมารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนัง การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มีสารเคมีปนเปื้อน ซึ่งพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ไม่ปลอดภัยนั้นทำให้เกษตรกรผู้อาศัยในชุมชน และผู้ที่มีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้น
    จากการเฝ้าระวังและเก็บข้อมูลผลการตรวจเลือดประชาชนจังหวัดตรัง ตั้งแต่ปี ๒๕๕๖ ถึง ๒๕๖๒ พบว่า มีประชาชนกลุ่มที่มีความเสี่ยง อยู่ระหว่างร้อยละ ๑๐.๖๓ – ๒๔.๙๕ และในปี ๒๕63 มีแนวโน้มจะสูงขึ้น ทั้งนี้ผู้ที่อยู่ ในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ จังหวัดตรัง ได้ส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทยรางจืดเพื่อส่งเสริมสุขภาพและลดภาวะเสี่ยง ซึ่งจากข้อมูลพบว่าวิธีดังกล่าวได้ผลดี โดยทำให้กลุ่มเสี่ยงกลับไปเป็นกลุ่มปกติ ถึงร้อยละ ๙๓.๕ -๙๕.๐ จังหวัดตรังได้กำหนดยุทธศาสตร์จังหวัดเพื่อรองรับปัญหาสุภาพตามกลุ่มวัย ซึ่งกลุ่มหนึ่งที่เป็นเป้าหมายสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพคือกลุ่มวัยแรงงาน เนื่องจากกลุ่มนี้คือกำลังหลักของสังคมที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและดูแลสถาบันครอบครัว
ในส่วนของการตรวจวิเคราะห์หาสารพวกออร์กาโนฟอสเฟตหรือคาร์บาเมท จากอวัยวะต่างๆ หรือจากเลือดมักจะได้ผลไม่ดี เนื่องจากสารพิษเหล่านั้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายอย่างรวดเร็ว โดยเกิดปฏิกิริยาทาง เคมี หลายอย่าง จึงนิยมใช้วิธีตรวจหาระดับของเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส (Cholinesterase Enzyme) ในเลือดและอวัยวะต่างๆ เป็นการยืนยันการเป็นพิษแทน เพราะสารเคมีทั้งสองกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส (Cholinesterase Enzyme) ซึ่งสามารถตรวจหาเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส (Cholinesterase Enzyme) โดยใช้กระดาษทดสอบพิเศษขององค์การเภสัชกรรม ตำบลเขากอบเป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ใน        ภาคเกษตรกรรมโดยมีพื้นที่ที่ใช้ในภาคเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง
    ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองปรือ ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร ขึ้น ให้ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อวิเคราะห์และประเมินปริมาณสารเคมีตกค้าง ในเลือด และให้การรักษาเมื่อพบสารพิษในระดับอันตราย ตลอดจนประเมินและเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สร้างความตระหนักรู้ให้แก่เกษตรกรให้เห็นความสำคัญของอันตรายจากการใช้สารเคมีเพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกต้องและยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 180 12,600.00 0 0.00 12,600.00
23 มิ.ย. 68 ๑. กิจกรรมการตรวจคัดกรอง ๑.๑ เจาะเลือด ตรวจคัดกรอง ค้นหาระดับสารเคมีตกค้างในเลือด โดยวิธี Reactive Paper test ในเกษตรกรจำนวน 180 คนจำนวน 180 คน 180 12,600.00 - -
รวมทั้งสิ้น 180 12,600.00 0 0.00 12,600.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ทำให้เกษตรกรได้ทราบสถานการณ์ความเสี่ยงสุขภาพจากสารเคมีตกค้างในร่างกายเพื่อกำหนดมาตรการส่งเสริมการลดผลกระทบจากโรคที่สืบเนื่องจากพิษสารเคมีกำจัดแมลงและสารเคมีกำจัดวัชพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒. เกษตรกรมีความรู้มีพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ถูกต้องปลอดภัยเพื่อป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพที่ดี ๓. เกษตรกรเห็นคุณค่าสมุนไพรไทยในการสร้างเสริมสุขภาพและสามารถใช้สมุนไพรรางจืดเพื่อป้องกันพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ปนเปื้อนมากับอาหารได้อย่างถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2568 10:54 น.