กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำประจำหมู่บ้าน (อสม.)สู่การเป็นสมาร์ท อสม. และ อสม. นักวิทย์ฯปี 2568
รหัสโครงการ 68-L1526-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองปรือ
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปาริฉัตร น้อยนาฏ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.798,99.563place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ “ สังคมดิจิทัล ” ข้อมูลข่าวสารสามารถส่งต่อถึงกันได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องและทันเวลาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยเฉพาะข้อมูลทางด้านสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตอีกทั้งรัฐบาลยังมีนโยบายขับเคลื่อนประเทศไทยให้เข้าสู่ประเทศไทย 4.0 มุ่งเน้นการนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพลดรายจ่ายเพิ่ม รายได้ รวมไปถึงการยกระดับคุณภาพการให้บริการสาธารณสุขรวมสู่สุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีขึ้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  (อสม.) ถือเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนงานสุขภาพภาคประชาชนและยังเป็นบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชน ตำบลเขากอบ โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองปรือ ซึ่งมีภารกิจหลักในการส่งเสริมบทบาทและพัฒนา อสม. ปัจจุบันสุขภาพของคนในพื้นที่ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลายชนิด หนึ่งในจำนวนโรคเหล่านั้นนั้นก็เป็นมีโรคมะเร็ง ที่เป็นสาเหตุให้คนเสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่งสาเหตุเกิดจากอาหารการกินสารเคมีที่ปนเปื้อนมาในอาหารในรูปแบบต่างๆ ทำให้ประชาชนเกิดโรคมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์สุขภาพหลายชนิดที่เกิดขึ้น ทั้งผลิตภัณฑ์อาหารยา และเครื่องสำอางค์ ที่กลุ่มผู้ผลิตโฆษณา เพื่อดึงดูดความสนใจผู้บริโภคให้มาใช้สินค้า เกิดการแข่งขันทางธุรกิจ กลุ่มผู้ผลิตพยายามหาจุดขายของผลิตภัณฑ์ บางผลิตภัณฑ์มีการใช้สารที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสม เพราะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค เช่น สารไฮโดรควิโนนสารปรอท ซึ่งห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์สารสเตียรอยด์ ห้ามใช้ในยาแผนโบราณ ส่วนใหญ่จะพบในยาลูกกลอน กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกผัก ผลไม้ ใช้สารเคมีเพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ รวมทั้ง ร้านค้าที่นำผลิตภัณฑ์สุขภาพมาขายในร้าน ยังมีการแอบนำผลิตภัณฑ์ ยาที่ห้ามจำหน่ายในร้านชำมาขายให้ประชาชนในชุมชนจำเป็นต้องให้ประชาชนได้รับความรู้และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้โดยผ่านอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)เป็นแกนนำในการดำเนินกิจกรรม ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองปรือ จึงได้จัดทำอบรม อสม. นักวิทย์ คุ้มครองผู้บริโภคขึ้นเพื่อสร้างแกนนำช่วยเฝ้าระวัง ตรวจร้านชำ และให้ความรู้กับประชาชนการเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหาร ที่ปลอดภัย และรับทราบข้อมูลข่าวสารผลิตภัณฑ์ที่ประกาศห้ามใช้และเพื่อลดการใช้สารเคมีในเกษตรกรและประชาชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองปรือ ตำบลเขากอบ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) สู่การเป็นสมาร์ท อสม. และอสม.นักวิทย์ฯ ปี 2568 เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) สู่การเป็นสมาร์ท อสม. และเพื่อพัฒนาศักยภาพในการใช้ชุดตรวจ คัดกรองความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน สนับสนุนให้ อสม. มีความรอบรู้และเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพจึงได้มีแนวคิดในการพัฒนาศักยภาพ อสม. ให้เป็น อสม.สู่การเป็นสมาร์ท อสม. และอสม.นักวิทย์ฯ โดยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการทำงานเพื่อให้การพัฒนาช่องทางการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันเวลา และมีประสิทธิภาพ มีการดูแลสุขภาพของตนเองและประชาชนรวมถึงรับข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ใหม่ๆ ได้อย่างถูกต้อง นำไปสู่ชุมชนพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อสม. มีความรอบรู้และเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพจึงได้มีแนวคิดในการพัฒนาศักยภาพ อสม. ให้เป็น อสม.สู่การเป็นสมาร์ท อสม. และอสม.นักวิทย์ฯ โดยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการทำงานเพื่อให้การพัฒนาช่องทางการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันเวลา และมีประสิทธิภาพ มีการดูแลสุขภาพของตนเองและประชาชนรวมถึงรับข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ใหม่ๆ ได้อย่างถูกต้อง นำไปสู่ชุมชนพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2568 11:05 น.