โครงการผู้สูงวัยใฝ่ธรรมะ สร้างปัญญาและพัฒนาจิต ปีงบประมาณ พ.ศ.2568
ชื่อโครงการ | โครงการผู้สูงวัยใฝ่ธรรมะ สร้างปัญญาและพัฒนาจิต ปีงบประมาณ พ.ศ.2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3314-01-06 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะทัง |
วันที่อนุมัติ | 28 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 40,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางอำนวย เซ่งอิ้น |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.525,100.145place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 280 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในสังคมปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและสังคมอย่างรวดเร็ว ผู้สูงอายุหลายคนอาจรู้สึกถูกทิ้งห่างจากโลก ายนอก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพชีวิตทั้งด้านร่างกายและจิตใจของพวกเขา การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีโอกาสศึกษาและฝึกปฏิบัติธรรมะ จะช่วยเสริมสร้างความสมดุลทางจิตใจและพัฒนาความรู้สึกทางด้านจิตวิญญาณให้แข็งแกร่งขึ้น ช่วยให้พวกเขามีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วงวัยสูงอายุ การนำธรรมะมาใช้ในการพัฒนาจิตใจของผู้สูงอายุจะช่วยลดความเครียด ความวิตกกังวล และความเหงา ซึ่งเป็นปัญหาหลักของผู็สูงวัยในสังคมปัจจุบัน นอกจากนี้ยังส่งผลให้ผู้สูงอายุสามารถปรับตัวและรับมือกับความท้าทายในชีวิตได้อย่างมีสติและปัญญามากขึ้น ผู้สูงอายุ จึงถือว่าเป็นปูชนียบุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่ง เนื่องจากผ่านประสบการณ์มามากได้ เคยเป็นกำลังสำคัญของสังคมมาก่อน มีความรู้ มีทักษะ อนุรักษ์ และสืบทอด ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิต ดั้งเดิม และได้ทำคุณประโยชน์ แก่สังมาแล้วมากมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่คนรุ่นหลังจะต้องให้ความสำคัญในการ ดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพจิต สุขภาพกาย เป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ สามารถดำรงชีวิต อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีได้ เช่น การสวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิ การเข้าวัดปฏิบัติธรรม ผู้สูงอายุควรมีการส่งเสริมสุขภาพจิตของตนเองเป็นประจำและสม่ำเสมอ การนำหลักหลักธรรม ของศาสนามาปรับใช้ในวิถีชีวิต การออกกำลังกาย และการเล่นกีฬา เพื่อส่งเสริมสุขภาพ การตรวจคัดครอง เบื้อต้น และในความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การฝึกอาชีพเพื่อให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะทัง เล็งเห็นถึงความสำคัญของประชากรสงอายุกลุ่มนี้ ตัองการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ลดภาวะพึ่งลง มีจิตใจที่แจ่มใสจากการได้พบปะผู้คน และทำกิจกรรมร่วมกัน จึงได้จัดตั้งโครงการผู้สูงวัยใฝ่ธรรมะ สร้างปัญญาและพัฒนาจิต ปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ได้ร่วมร่วมกิจกรรม โดยโครงการของผู้สูงอายุจัดกิจกรรมทุกปี เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุให้เข้มแข็ง ผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 100 |
||
2 | 2.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ เข้าวัด ปฏิบัติธรรม และการครองศีล 8
|
||
3 | 3.เพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจ และร่างกาย ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
|
1.กิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาทักษะทางกายและใจ 2.จัดกิจกรรมบรรยายธรรมและปฎิบัติธรรมให้กลุ่มผู้สูงอายุ
1.ผู้สูงอายุได้รับความรู้ด้านดูแลสุขภาพจิต 2.ผู้สูงอายุได้นำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์มาใช้ในชีวิตประจำวัน 3.ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและใจที่ดีขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2568 14:54 น.