กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคนบ่อยาง ฟันดี ชีวีมีสุข ประจำปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ L7250-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานทันตสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา
วันที่อนุมัติ 29 เมษายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 154,929.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนนทิพา เอกอุรุ ตำแหน่ง ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.196286,100.598234place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 1499 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 2500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 280 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 157 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 21 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากจะส่งผลต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกาย ปัญหาสุขภาพช่องปาก จึงเป็นประเด็นสำคัญที่พบบ่อยในทุกกลุ่มวัย แต่ด้วยลักษณะของรอยโรค ที่ไม่มีอาการในระยะเริ่มต้น ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้    ไม่สังเกตเห็น ไม่ได้ดูแล เฝ้าระวัง จนลุกลาม รุนแรง มากขึ้น ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ทรมาน นำไปสู่การสูญเสียฟัน ไม่สามารถบดเคี้ยวและใช้ชีวิตประจำวันได้ อย่างปกติสุข ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ทั้งที่โรคในช่องปากสามารถป้องกันได้ หากประชาชนสามารถประเมินสุขภาพช่องปากของตนเองได้เร็ว สามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อการดูแลตนเองเบื้องต้น และเข้าถึงบริการ ด้านสุขภาพช่องปากที่จำเป็นทันเวลา จากการดำเนินโครงการในปี 2567 งานทันตสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา ได้ทำการตรวจสุขภาพช่องปากในทุกกลุ่มอายุพบว่าเด็กแรกเกิด 0 - 2 ปี ที่เข้ามารับวัคซีนในคลินิกเด็กดี เริ่มตั้งแต่ มกราคม – กันยายน 2567 ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวงและศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ จำนวน 380 คน มีปัญหาฟันน้ำนมผุ จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 7.8 เด็กก่อนวัยเรียน โรงเรียนในเขตพื้นที่เทศบาลนครสงขลา ตั้งแต่อายุ 3 – 5 ปี จำนวน 804 คน มีปัญหาฟันผุ 425 คน คิดเป็นร้อยละ 52.5 เด็กกลุ่มวัยเรียน ตั้งแต่อายุ 6 – 12 ปี จำนวน 2,210 มีปัญหาฟันผุ จำนวน 1,317 คน คิดเป็นร้อยละ 65  หญิงตั้งครรภ์จำนวน 178 คน มีปัญหาฟันผุจำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 11.80 และกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 579 คน มีปัญหาฟันผุ จำนวน 120 คน คิดเป็นร้อยละ 20.7 สามารถดำเนินโครงการบรรลุตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ในส่วนของการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคประชาชน อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) พบว่า อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) ส่วนใหญ่ยังมีความรู้ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก ดังนั้นงานทันตสาธารณสุขจึงเห็นความจำเป็นในการอบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.)  ด้านทันตสุขภาพ ในเขตเทศบาลนครสงขลา และเห็นความจำเป็นในการจัดทำคู่มือตรวจสุขภาพช่องปากทุกกลุ่มวัยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานของ อสม.ด้านทันตสุขภาพ ดังนั้น งานทันตสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา จึงเห็นความสำคัญในการจัดทำโครงการคนบ่อยาง ฟันดี ชีวีมีสุข ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 6 กลุ่ม
1.หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 157 คน (หญิงมีครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารกเชิงรุก และหญิงมีครรภ์ที่ส่งต่อมาจาก รพ.สงขลา ในเขตศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง และศูนย์บริการสาธารณสุข      สระเกษ 2.เด็ก 0 – 2 ปี จำนวน 360 คน (เด็กที่มารับวัคซีน พุธที่ 2 ของเดือน ณ คลินิกทันตกรรม ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง,ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ)     3.เด็ก 3 – 5 ปี จำนวน 1,139 คน (เด็กนร.อายุ 3 – 5 ปี โรงเรียนในเขตเทศบาลนครสงขลา จำนวน 7 โรงเรียน ได้แก่ รร.เทศบาล 1, รร.เทศบาล 2, รร.เทศบาล 3, รร.เทศบาล 4, รร.จุลสมัย, รร.ชัยมงคลวิทย์, รร.สงขลาวิทยามูลนิธิ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตเทศบาลนครสงขลา จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ศพด.ท่าสะอ้าน,ศพด.บ่อยางประชาสรรค์และเนอสเซอรี่บ้านเด็กดี
4.เด็กนักเรียนชั้น ป.1 – ป.6 จำนวน 2,500 คน (เด็กนร.อายุ 6 – 12 ปี โรงเรียนใน เขตเทศบาลนครสงขลาทั้ง 7 โรงเรียน ได้แก่ รร.เทศบาล 1, รร.เทศบาล 2, รร.เทศบาล 3, รร.เทศบาล 4, รร.จุลสมัย, รร.ชัยมงคลวิทย์,รร.สงขลาวิทยามูลนิธิ     5.ผู้สูงอายุจำนวน 280 คน (ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสงขลาและผู้สูงอายุ ที่ติดบ้าน ติดเตียง )     6.อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 21 คน (อสม.5 PCU และ 2 ศูนย์บริการ) รวม 6 กลุ่ม จำนวน 4,457 คน เป็นโครงการที่ให้ประโยชน์แก่ประชาชน ประชาชนทุกกลุ่มได้เข้าถึงการบริการและเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมป้องกันรักษาปัญหา ด้านทันตสุขภาพ ให้ประชาชนได้มีสุขภาพช่องปากที่ดียิ่งขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน(อสม.)ได้รับความรู้ความเข้าใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากได้

1.อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน(อสม.)และทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ร้อยละ 100

100.00
2 2.เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

2.ทุกกลุ่มเป้าหมายในโครงการได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ร้อยละ 55

55.00
3 3.เพื่อทาฟลูออไรด์วานิชซึ่งช่วยในการลดความเสี่ยงในการเกิดฟันผุ

3.ทุกกลุ่มเป้าหมายในโครงการได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชซึ่งช่วยในการลดความเสี่ยงใน การเกิดฟันผุ ร้อยละ 65

65.00
4 4.เพื่อเคลือบหลุมร่องฟันกรามแท้ป้องกันฟันผุในเด็กนักเรียน ป.1 - ป.6

4.นักเรียนชั้น ป.1 – ป.6 ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันกรามแท้ป้องกันฟันผุ ร้อยละ 30

30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เพื่อให้อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน(อสม.)ได้รับความรู้ความเข้าใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากได้

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2.เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3.เพื่อทาฟลูออไรด์วานิชซึ่งช่วยในการลดความเสี่ยงในการเกิดฟันผุ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : 4.เพื่อเคลือบหลุมร่องฟันกรามแท้ป้องกันฟันผุในเด็กนักเรียน ป.1 - ป.6

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 1.กิจกรรม อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)เชี่ยวชาญ ด้านทันตสุขภาพ 0.00 13,550.00 -
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 2.กิจกรรมส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในกลุ่มต่างๆ 0.00 139,079.00 -
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 3.วัสดุอุปกรณ์และที่เกี่ยวข้องและจำเป็น 0.00 2,300.00 -
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)เชี่ยวชาญ ด้านทันตสุขภาพ 0.00 13,550.00 -
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 2.1 กิจกรรมส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และคุณแม่หลังคลอด 0.00 2,595.00 -
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 2.2.กิจกรรมส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพเด็ก 0 – 2 ปี เทศบาลนครสงขลา 0.00 6,055.00 -
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 2.3.กิจกรรมส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพเด็ก 3 – 5 ปี 0.00 20,495.00 -
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 2.4.กิจกรรมส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพเด็ก 6 – 12 ปี 0.00 105,609.00 -
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 2.5.ผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครสงขลา 0.00 4,325.00 -
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 วัสดุอุปกรณ์และที่เกี่ยวข้องและจำเป็น 0.00 2,300.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ความเข้าใจ
  2 กลุ่มเป้าหมายในโครงการได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
  3 กลุ่มเป้าหมายในโครงการได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช
  4 นักเรียนชั้น ป.1 – ป.6 ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันแท้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2568 20:37 น.