โครงการบูรณาการส่งเสริมการจัดการสุขภาพแบบองค์รวม ศูนย์สุขภาพชุมชนกุโบร์รวมใจ ประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการบูรณาการส่งเสริมการจัดการสุขภาพแบบองค์รวม ศูนย์สุขภาพชุมชนกุโบร์รวมใจ ประจำปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | L7250-1-12 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์สุขภาพชุมชนกุโบร์รวมใจ โรงพยาบาลสงขลา |
วันที่อนุมัติ | 29 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 29 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 146,475.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางรวิสรา แก้วกระเศรษฐ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.204802,100.597891place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 2000 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 200 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
||
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ | 70 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
นโยบายด้านสาธารณสุข ประชาชนคนไทยสุขภาพดี ประเทศไทยสุขภาพดี และความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยเน้นการพัฒนาสุขภาพระดับปฐมภูมิ มีการพัฒนาศักยภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อลดโรคและปัญหาสุขภาพ ส่งเสริมให้ประชาชนพึ่งตนเองได้ลดค่าใช้จ่ายมีคุณภาพชีวิตที่ดีและยังสามารถ ลดความแออัดของโรงพยาบาล ลดการพึ่งพาโรงพยาบาล รวมไปถึงบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนและยกระดับคุณภาพ การบริการด้านสาธารณสุข โดยพัฒนาระบบบริการสุขภาพเน้นการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและภัยสุขภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน
ปัจจุบันสถานการณ์โรควิถีชีวิตในประเทศไทยกำลังทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะ ๕ โรคสำคัญ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตเรื้อรัง ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่รักษายากและไม่หายขาด สาเหตุเกิดจากการใช้วิถีชีวิตแบบสังคมคนเมืองสมัยใหม่ มีพฤติกรรมการกินเปลี่ยนแปลงไป โดยบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม และอาหารสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น รับประทานผักผลไม้น้อยลง มีร้านอาหาร คาเฟ่ ร้านขายน้ำหวาน ร้านสะดวกซื้อเพิ่มขึ้น และขาดการออกกำลังกาย จึงส่งผลให้คนไทยมีภาวะน้ำหนักเกินและเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้น โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลกและประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบมากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความพิการและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิด โรคล้วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพของมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสความเจริญของโลก ทำให้ผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่ม จึงจำเป็นต้องดำเนินการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ๕ โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตเรื้อรัง การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมและครบทุกมิติตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์จนถึงระยะท้ายของชีวิตซึ่งต้องดูแลทุกระยะตลอดชีวิตตั้งแต่กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย โดยทีมสุขภาพ ที่มีความเข้าใจ ตั้งใจมั่นใจในการให้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน จนเกิดความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ ความศรัทธาและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนในพื้นที่โดยการมีส่วนร่วม ของเทศบาลนครสงขลา ภาคประชาชนต่างๆ รวมทั้งการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เป็นแนวคิดด้านสุขภาพที่มองบุคคลทั้งชีวิตครอบคลุมทั้งร่างกาย จิตใจ วิญญาณและสังคมที่มีความเชื่อมโยงเป็นเป็นหนึ่งเดียวกัน ศูนย์สุขภาพชุมชนกุโบร์รวมใจ รพ.สงขลา ร่วมกันดูแลประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบทั้ง 6 ชุมชน ให้ได้รับบริการขั้นพื้นฐานของชีวิตมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพและเหมาะสมตามกลุ่มวัยอายุ ครบทั้ง 5 มิติ มิติด้านส่งเสริมสุขภาพ มิติด้านป้องกันควบคุมโรค มิติด้านรักษาพยาบาล มิติด้านฟื้นฟูสุขภาพ และมิติด้านคุ้มครองผู้บริโภค
สถานการณ์ ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังในเขตเทศบาลนครสงขลาที่อยู่ในระบบการรักษา มีทั้งหมด
11, 848 คน แยกเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 3,243 คน โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 6,494 คน และเป็นทั้งสองโรค จำนวน 2,109 คน (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด, 2566) จากข้อมูลจากงานเวชสถิติโรงพยาบาลสงขลา ปี 2562 – 2566 พบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ 134, 104, 121, 145 และ 165 ตามลำดับ (โรงพยาบาลสงขลา, 2566) ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยพบว่าผู้ป่วยรายใหม่ อายุน้อยสุดคือ 37 ปี ทั้งชายและหญิง จากฐานข้อมูลโรงพยาบาลสงขลา พบว่า ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 ในเขตเทศบาลนครสงขลา พ.ศ. 2565 มีจำนวน 191 ราย ข้อมูลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของศูนย์สุขภาพชุมชนกุโบร์รวมใจ ที่อยู่ในระบบการรักษา มีทั้งหมด 1,703 คน แยกเป็นโรคเบาหวานจำนวน 144 คน โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,004 คน และเป็นทั้งสองโรค จำนวน 555 คน ซึ่งมารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังของศูนย์สุขภาพชุมชนกุโบร์รวมใจ เครือข่ายโรงพยาบาลสงขลา จำนวน 192 คน ซึ่งมีภาวะแทรกซ้อนทางไต ระยะ 3 จำนวน 83 คน และอีก 1,511 คน รับยาที่โรงพยาบาลสงขลา,โรงพยาบาลอื่นๆ ของรัฐ และคลินิก ศูนย์สุขภาพชุมชนกุโบร์รวมใจ รพ.สงขลา มีประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบประมาณ 8,047 คน 2,495 ครัวเรือน จากการวิเคราะห์ข้อมูลและการทำประชาคมพบว่าปัญหาสุขภาพของประชาชนที่อยู่ในความรับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนกุโบร์รวมใจ รพ.สงขลา พบปัญหาที่สำคัญใน 6 กลุ่มโรค คือกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไตวาย หัวใจและหลอดเลือดสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก) กลุ่มแม่และเด็ก (หญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไม่พร้อม ฝากครรภ์ไม่ได้มาตรฐาน ภาวะซีด ลูกน้ำหนักน้อย) กลุ่มเด็ก 0 – 5 ปี (งานภูมิคุ้มกันโรค พัฒนาการเด็ก น้ำหนักน้อย) กลุ่มผู้สูงอายุ (การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุต่อเนื่อง) กลุ่มโรคติดต่อ ไข้เลือดออก อุจจาระร่วง วัณโรค กลุ่มพิการ-จิตเวช และกลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ขาดการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน ซึ่งประชาชนเหล่านี้ต้องได้รับบริการด้านสาธารณสุขทั้งเชิงรุกในชุมชนและเชิงรับในศูนย์สุขภาพชุมชนกุโบร์รวมใจ รพ.สงขลา รวมถึงการให้ความรู้และสร้างความตระหนักรู้ในการป้องกันและชะลอไตเสื่อมและดูแลผู้ป่วยเบาหวานเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวและโรงพยาบาลของรัฐ เช่น การตรวจวัดองค์ประกอบร่างกาย การออกกำลังกาย การจัดการอารมณ์ การให้คำแนะนำด้านโภชนาการภายใต้แนวคิด “จะหยุดเบาหวานต้องทานให้เป็น” และ “เบาหวานหายขาดได้ เข้าสู่ระยะสงบ Diabetes Remission จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับการดูแลแบบองค์รวมครบ 5 มิติสุขภาพ ตามมาตรฐานวิชาชีพ 1.ร้อยละ 90 ผู้ป่วยได้รับการดูแลแบบองค์รวมตามมาตรฐานวิชาชีพ |
100.00 | |
2 | 2.เพื่อให้ผู้ดูแลและจิตอาสา มีความรอบรู้ด้านสุขภาพแบบองค์รวม ใน 5 มิติสุขภาพ 2.ร้อยละ80 ของกลุ่มผู้ดูแล จิตอาสามีความรอบรู้ด้านสุขภาพ |
80.00 | |
3 | 3.เพื่อเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคเรื้อรัง ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน/พิการ 3.ร้อยละ97 ผู้ป่วยเรื้อรังไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน |
97.00 | |
4 | 4.เพื่อเปิดโรงเรียนเบาหวานวิทยา ( กุโบร์รวมใจ) (เบาหวานหายขาดได้)
|
100.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | การประชุมเชิงปฏิบัติการชี้แจง/ทบทวนความรอบรู้/ติดตามงานด้านสาธารณสุขของอสม. แกนนำสุขภาพ เจ้าหน้าที่ | 0 | 11,900.00 | - | ||
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | การเฝ้าระวังติดตามเด็ก 1– 3 ปี | 0 | 87,800.00 | - | ||
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | 6.1 จัดฐานการเรียนรู้การป้องกันเฝ้าระวังชะลอไตเสื่อม หลอดเลือดสมอง หัวใจ | 0 | 8,600.00 | - | ||
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | 6.2.1 อบรมเพิ่มพูนทักษะสร้างความรอบรู้ให้จิตอาสา อสม. แกนนำชุมชน ผู้ป่วยเบาหวาน รับสมัครสมาชิก นักเรียนเบาหวาน เข้าสู่ good model เบาหวานสงบได้ (DM Remission) | 0 | 25,575.00 | - | ||
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | 6.2.2 อบรมเพิ่มพูนทักษะสร้างความรอบรู้ให้ลูกหลานผู้ป่วยเบาหวาน ดวงใจน้อยร่วมดูแล | 0 | 5,200.00 | - | ||
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | 6.2.3 ติดตามเสริมความรู้/การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ/ปิ่นโตสุขภาพ/ผลลัพธ์การควบคุมโรคและการหายจากโรค เดือนละครั้ง 5 เดือน | 0 | 7,400.00 | - | ||
รวม | 0 | 146,475.00 | 0 | 0.00 |
ประชาชนได้รับบริการสุขภาพมีคุณภาพมาตรฐานแบบองค์รวมมีความพึงพอใจเชื่อมั่นศรัทธาต่อการรับบริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนกุโบร์รวมใจและมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมสามารถดูแลพึ่งตนเองได้ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และมีโรงเรียนเบาหวานวิทยามีสุขที่ pcu.กุโบร์รวมใจ สามารถดำเนินการได้อย่างเข้มแข็งต่อเนื่อง และผู้ป่วยหายขาดจากโรคได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2568 10:00 น.