โครงการผู้นำเยาวชนยุคใหม่ ร่วมใจสร้างเครือข่ายสุขภาพและป้องกันโรค ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการผู้นำเยาวชนยุคใหม่ ร่วมใจสร้างเครือข่ายสุขภาพและป้องกันโรค ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | L7250-1-15 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง |
วันที่อนุมัติ | 29 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 29 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 110,550.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางวิรารัตน์ นิลสวัสดิ์ ตำแหน่ง หัวหน้างานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.197989,100.597891place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 240 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เยาวชน คืออนาคตของชาติ ตามที่รัฐบาลมีนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพ เพื่อให้คนไทยทุกคนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี กลยุทธ์หนึ่งในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน คือการเริ่มต้นการพัฒนาจาก “คน” ซึ่งถือเป็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญ การพัฒนาแนวคิดด้านสุขภาพอนามัย ในกลุ่มนักเรียนและเยาวชน ที่อาศัยความสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์ระหว่างนักเรียนกับครอบครัว ชุมชน สถาบัน ศาสนา โรงเรียน และหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ จึงเป็นการเริ่มต้นที่ดี ในการสร้างสุขภาพอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน รวมถึงแก้ไขปัญหาสาธารณสุข ในกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งจากสถิติ ในปี ๒๕63 พบว่า อัตราการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในวัยรุ่นเพศหญิงอายุ ๑5-๑๙ ปีมีแนวโน้มลดลง ของประเทศไทย พบ 28.7 คนต่อประชากร ๑,๐๐๐ คน (สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์,๒๕63) และอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำ ของหญิงอายุ ๑5-๑๙ ปี พบ 7.8 ต่อประชากร 1000คน ของจังหวัดสงขลาปี 2562-2565 พบ 17.67 16.89 15.78 และ 17.91 คนต่อประชากร ๑,๐๐๐ คน (สำนักศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา,2563) ในส่วนของอำเภอเมือง พบอัตราการตั้งครรภ์ในกลุ่มวัยรุ่น มีอัตราสูงถึงร้อยละ 19.44, 16.50 18.64, และ ๑5.69 ตามลำดับ (ปีงบประมาณ ๒๕62 - ๒๕65) ซึ่งมีแนวโน้มลดลงทุกปี ดังนั้น การสร้างความรอบรู้การใฝ่รู้และสร้างความตระหนักแก่เด็กวัยเรียนและเยาวชนแกนนำ ในเรื่องการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยในการพัฒนาสุขภาพเด็กนักเรียนและผู้เกี่ยวข้อง เกิดความตระหนักและร่วมมือกันของทุกภาคส่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขเช่น การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การควบคุมเฝ้าระวังโรคติดต่อ ซึ่งจะทำให้ทุกคนในโรงเรียนรวมทั้งสมาชิกในชุมชนใกล้เคียงได้รับความรู้ความเข้าใจ เป็นการปลูกฝังทัศนคติและสร้างเสริมทักษะที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและยั่งยืนต่อไป
ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง ร่วมกับศูนย์สุขภาพชุมชนกุโบร์รวมใจ ศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุขและศูนย์บริการสาธารณสุขของเทศบาลนครสงขลาทั้ง2แห่ง ซึ่งรับผิดชอบทั้งหมด ๑8 โรงเรียน มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น ๒5,482 คน เป็นนักเรียนระดับอนุบาล 3,946 คน ระดับประถม ๑๐,730 คน และระดับมัธยม ๑๐,788 คน หน่วยงานด้านสาธารณสุขให้ความสำคัญในการสร้างแกนนำด้านสุขภาพสำหรับนักเรียนและเยาวชนในโรงเรียนเพื่อเป็นแกนนำส่งเสริมสุขภาพ ด้วยการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้นำนักเรียนให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ดูแลสุขภาพตนเองได้เหมาะสม ติดตามพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน ตลอดจนดำเนินการจัดทำมุมสุขภาพ สื่อสารความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องผ่านสื่อดิจิทัลที่มีคุณภาพ พัฒนาคลินิกวัยใส ในโรงเรียน และเพื่อให้ผู้นำนักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการเป็นแกนนำสุขภาพจัดกิจกรรมต่างๆในโรงเรียน เช่น กิจกรรมการพัฒนาสิ่งแวดล้อม กิจกรรมเฝ้าระวังสุขภาพพฤติกรรมความเสี่ยง กิจกรรมแก้ปัญหาสุขภาพกาย จิตใจ และเฝ้าระวังสุขภาพ จัดคลินิกให้คำปรึกษา ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น นักเรียนและเยาวชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ใช้ชีวิตประจำวัน กับครอบครัว และชุมชน ได้อย่างเหมาะสม อยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อสร้างแกนนำนักเรียนส่งเสริมสุขภาพในระดับประถม และระดับมัธยมศึกษา 1.โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายทุกโรงเรียนส่งนักเรียนเข้าร่วมการอบรมจนครบหลักสูตร |
100.00 | |
2 | 2.เพื่อให้ผู้นำนักเรียน มีความรู้ทักษะด้านการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคและคำปรึกษาในการจัดการปัญหาเบื้องต้นได้ 2.ผู้นำนักเรียนส่งเสริมสุขภาพมีความรู้และทักษะในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 |
80.00 | |
3 | 3.เพื่อให้เกิดการดำเนินงาน “คลินิกเพื่อนใจวัยรุ่น” ในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง 3.มีแกนนำเครือข่าย “คลินิกเพื่อนใจวัยรุ่น” เพิ่มขึ้นอย่างน้อย ๑ เครือข่ายและมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง |
100.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม | 0 | 1,400.00 | - | ||
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมอาสาสมัครนักเรียนส่งเสริมสุขภาพ วันที่ 1 | 0 | 42,300.00 | - | ||
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมผู้นำเยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียน วันที่ 1 | 0 | 43,300.00 | - | ||
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมผู้นำเยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียน วันที่ 2 | 0 | 10,200.00 | - | ||
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | ติดตามการดำเนินงาน “คลินิก เพื่อนใจวัยรุ่น” | 0 | 1,350.00 | - | ||
6 พ.ค. 68 | อบรมอาสาสมัครนักเรียนส่งเสริมสุขภาพ วันที่ 2 | 0 | 12,000.00 | - | ||
รวม | 0 | 110,550.00 | 0 | 0.00 |
๑.ผู้นำนักเรียนส่งเสริมสุขภาพสามารถดำเนินงานด้านสุขภาพพัฒนาโรงเรียนให้มีการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ๒. โรงเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ๓. โรงเรียนมีการดำเนินงานคลินิกวัยเพื่อนใจวัยรุ่น อย่างต่อเนื่อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2568 10:24 น.