DM Remission ลดยาลดโรคในผู้ป่วยเบาหวาน
ชื่อโครงการ | DM Remission ลดยาลดโรคในผู้ป่วยเบาหวาน |
รหัสโครงการ | 68-L5170-1-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนโส |
วันที่อนุมัติ | 29 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 60,865.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวสุมลฑา เศรษฐการ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.229,100.402place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (Non-Communicable Diseases) ที่เป็นภาระโรคสำคัญของระบบสาธารณสุขในแต่ละประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ซึ่งคาดการณ์ว่าในปีพ.ศ. 2588 จะมีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 783 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนของโรค 3.2 ล้านคนต่อปีสำหรับประเทศไทยพบอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปีอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคเบาหวานปี2558 - 2562 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และค่าใช้จ่าย ด้านสาธารณสุขในการรักษาโรคเบาหวานเฉลี่ยสูงถึง 47,596 ล้านบาทต่อปีอีกทั้งผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้หากผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่องตามแนวทางมาตรฐานจะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบของร่างกาย ทั้งภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง อันนำไปสู่ความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ครอบครัว รวมทั้งภาระทางเศรษกิจประเทศ ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพบริการให้ประชาชน ปัจจุบันมีการรักษาที่สามารถช่วยให้ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์วินิจฉัยโรคเบาหวานโดยไม่ต้องใช้ยาเพื่อลดระดับน้ำตาล โดยเรียกภาวะนี้ว่า “DiabetesRemission” หรือโรคเบาหวานระยะสงบ ซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และลดภาระทางเศรษฐกิจได้อย่างมากได้เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ ได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในโรงพยาบาลส่งเสริสุขภาพตำบลบ้านควนโส มีผู้ป่วยเบาหวานในเขตความรับผิดชอบ ทั้งสิ้น 167 ราย ในจำนวนนี้ รับยาต่อเนื่องที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนโส และ รพ.ควนเนียง ในรายที่มียาจำเพาะ และในรายที่ต้องใช้ยาซับซ้อนหรือมีภาวะแทรกซ้อนจะต้องพบแพทย์ที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ ซึ่งร้อยละ 29.01 ผู้ป่วยที่คุมน้ำตาลได้ดี และยังคงพบผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรค ตั้งแต่ต้นปี ร้อยละ 2.67 ซึ่งในรายทีมีภาวะแทรกซ้อนอาจทำให้เป็นโรคเพิ่มที่ต้องรักษาเพิ่ม ทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยแย่ สิ้นเปลืองเวลา และงบประมาณ ซึ่งทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนโส ได้ติดดามข้อมูล กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ร่วมกับสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ฯสมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวานและหน่วยงานวิชาการที่เกี่ยวข้อง จัดทำแนวทางการดำเนินงานการดูแลผู้เป็นเบาหวานให้เข้าสู่ระยะสงบ(Remission service) เพื่อเป็นแนวทางมาตรฐานกลางสำหรับสถานบริการสาธารณสุขนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานตามบริบทของพื้นที่ หวังว่าแนวทางฯ นี้จะเป็น ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพบริการดูแลผู้เป็นเบาหวานให้เข้าสู่ระยะสงบอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป จึงได้จัดทำโครงการ DM Remission ลดยาลดโรคในผู้ป่วยเบาหวาน ในเขตรับผิดชอบ ขึ้นมา
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ๑. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และการดูแลสุขภาพตนเองของโรคเบาหวายระยะสงบ ๑. ร้อยละ 70 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคเบาหวานระยะสงบ |
||
2 | ๒. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการควบคุมระดับน้ำตาลได้ ค่าน้ำหนักตัวลดลง และ HbA1C ลดลง ๒. ร้อยละ 70 ผู้เข้าร่วมโครงการมีควบคุมระดับน้ำตาลได้ ค่าน้ำหนักตัวลดลง และ HbA1C ลดลง |
||
3 | 3.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถ ปรับลดยาลงได้ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรค 3.ร้อยละ 50 ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถ ปรับลดยาลงได้ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรค |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ต.ค. 67 | พ.ย. 67 | ธ.ค. 67 | ม.ค. 68 | ก.พ. 68 | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | DM Remission ลดยาลดโรคในผู้ป่วยเบาหวาน(1 ต.ค. 2567-30 ก.ย. 2568) | 60,865.00 | ||||||||||||
รวม | 60,865.00 |
1 DM Remission ลดยาลดโรคในผู้ป่วยเบาหวาน | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 110 | 60,865.00 | 0 | 0.00 | 60,865.00 | |
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | 1.ประชุมวางแผนการปฏิบัติงานร่วมกับ อสม.จำนวน 80 คน | 80 | 0.00 | - | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | 2. อบรมให้ความรู้โรคโภชนาการอาหารโรคเบาหวาน แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 คนจำนวน 1 วัน - ผู้ป่วยเบาหวานเข้าร่วมโครงการ 30 คน - วิทยากร 2 คน - จนท.เข้าร่วมโครงการ 3 คน | 30 | 60,865.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 110 | 60,865.00 | 0 | 0.00 | 60,865.00 |
1.ผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมโครงการ มีความรู้ ทักษะในการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเอง เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลได้ถูกต้อง 2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมโครงการ มีความรู้ในด้านโภชนาการเพื่อควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือด 3.ผู้ป่วยเบาหวานที่ร่วมโครงการสามารถปรับลดยาลงได้และลดภาระค่าใช้จ่ายจากยาลง 4.ผู้ป่วยเบาหวานที่ร่วมโครงการไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2568 13:32 น.