กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแม่ปลอดภัย ห่างไกลซีด ปี 2568
รหัสโครงการ 68-L2500-02-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะบายะ
วันที่อนุมัติ 22 เมษายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 23,820.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนอร์วีณา ยีระ
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลุโบะบายะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.422,101.663place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 26 พ.ค. 2568 26 พ.ค. 2568 23,820.00
รวมงบประมาณ 23,820.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลหิตจางเป็นความผิดปกติทางระบบเลือดที่ส่งผลให้การสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง เกิดจากหลายสาเหตุทั้งความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ภาวะขาดสารอาหารและโรคติดเชื้อ โดยพบบ่อยที่สุดในหญิงตั้งครรภ์ สาเหตุสำคัญของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ คือ การขาดสารอาหารจากธาตุเหล็กและกรดโฟลิก (ชลธิชา ดานา, 2560) ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารก เช่น มารดาเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด ทารกเสี่ยงต่อคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม หญิงตั้งครรภ์ที่่มีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรงจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการตกเลือดในระหว่างคลอด และมีโอกาสติดเชื้อในระยะหลังคลอดสูง พัฒนาการไม่สมบูรณ์ และภาวะตายในครรภ์ ฯลฯ จากรายงานของงานอนามัยแม่และเด็ก พบว่าสาเหตุการตายของมารดา อันดับหนึ่ง คือ ภาวะตกเลือดหลังคลอด ซึ่งปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบเอเชียใต้ พบได้มากสุดถึงร้อยละ 65 (WHO, 2019: Online) ในประเทศไทย ผลสำรวจภาวะโลหิตจางในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์  พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้น สถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนใต้มีภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ ในปี 2568 หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางร้อยละ 36.36 (HDC,2567) กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดให้มีการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย ให้ยาบำรุงเสริมธาตุเหล็กและให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร การดูแลและการส่งเสริมสุขภาพตั้งครรภ์ ทำให้ผลสำรวจภาวะโลหิตจางในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ พ.ศ.2568 เพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 46.20 อย่างไรก็ตาม แผนพัฒนาการสาธารณสุข พ.ศ. 2568 กำหนดเป้าหมายให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กไม่เกินร้อยละ 10 ทั้งนี้จากผลการดำเนินงานแม่และเด็กปี 2567 ของ รพ.สต.ลุโบะบายะ อัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางในระยะใกล้คลอดเท่ากับร้อยละ 36.36 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดแต่เนื่องจากภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมารดาและทารก การตกเลือดหลังคลอดและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์  ลดแม่ตายโดยเน้นระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและหลังคลอดดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะบายะ ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดจึงได้จัดทำโครงการ “แม่ปลอดภัย ห่างไกลซีด” ขึ้น เพื่อให้มารดามีความรู้ในการปฏิบัติตัวตลอดการตั้งครรภ์และหลังคลอด โดยดึงพลังแกนนำของประชาชนโดย แกนนำสุขภาพบุคคลใกล้ชิด ให้มีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้มารดามีความรู้ในการปฏิบัติตัวตลอดการตั้งครรภ์และหลังคลอด 2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการเฝ้าระวังเมื่อมีความเสี่ยง 3.เพื่อให้แกนนำสุขภาพ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการสังเกต การส่งต่อข้อมูล และให้การช่วยเหลือหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่

มารดามีความเข้าใจและปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง ปลอดภัยร้อยละ80 หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง ได้รับการส่งต่อพบแพทย์ ร้อยละ 100 แกนนำสุขภาพมีความเข้าใจและปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องร้อยละ80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 68ก.พ. 68มี.ค. 68เม.ย. 68พ.ค. 68มิ.ย. 68ก.ค. 68ส.ค. 68ก.ย. 68
1 โครงการเเม่ปลอดภัยห่างไกลซีด(1 ม.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) 23,820.00                  
รวม 23,820.00
1 โครงการเเม่ปลอดภัยห่างไกลซีด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 23,820.00 0 0.00 23,820.00
26 พ.ค. 68 เเม่ปลอดภัยห่างไกลซีด 150 23,820.00 - -
รวมทั้งสิ้น 150 23,820.00 0 0.00 23,820.00

วิธีดำเนินการ ขั้นเตรียมการ       1.จัดทำโครงการ นำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล       2. จัดหาแหล่งสนับสนุนงบประมาณ ในการดำเนินงานโครงการ โดยขอสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลลุโบะบายะ       3. เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ขั้นดำเนินการ       1.อบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และแกนนำสุขภาพ       2.ดำเนินการให้บริการตรวจการตั้งครรภ์ตามกระบวนการ       3.ลงข้อมูลการตรวจการตั้งครรภ์ในระบบ ขั้นประเมินผล       1.หญิงตั้งครรภ์ตรวจพบสิ่งผิดปกติ ส่งพบแพทย์ ตามมาตรฐานแนวปฏิบัติ       2. สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุ 12 สัปดาห์ มากกว่าร้อยละ 65
  2. หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง น้อยกว่าร้อยละ 10
  3. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ มากกว่าร้อยละ 75
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2568 13:56 น.