โครงการชุมชนร่วมใจป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลลุโบะบายะ ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการชุมชนร่วมใจป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลลุโบะบายะ ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L2500-02-07 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะบายะ |
วันที่อนุมัติ | 22 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 25,869.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายมาหามะรุสลี อาแว |
พี่เลี้ยงโครงการ | - |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลลุโบะบายะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.422,101.663place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 26 พ.ค. 2568 | 26 พ.ค. 2568 | 25,869.00 | |||
รวมงบประมาณ | 25,869.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 75 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
ด้วยโรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมานานแล้ว โดยมียุงลายเป็น
พาหะ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมีมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5 -14 ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
ในอำเภอยี่งอ มีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกในปี 2567 ทั้งหมดจำนวน 126 ราย เป็นผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาบลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะบายะ จำนวน 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.29 ซึ่งถือว่ายังมีการเกิดโรคนี้อยู่และสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ยังทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้น มาตรการการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการการควบคุมยุงพาหะนำโรค ซึ่งเป็นการยากที่จะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชนช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน สถานที่ราชการต่างๆ การจัดหาสารฆ่าลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำ และสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด
ตำบลลุโบะบายะเป็นตำบลหนึ่งที่ยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออก เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค รวมทั้งเป็นการป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายรวมถึงการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหนะนำโรคไข้เลือดออกในครัวเรือน หมู่บ้าน วัด โรงเรียน อย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะบายะ จึงได้จัดทำโครงการควบคุมยุงลายและป้องกันโรคไข้เลือดออกตำบลลุโบะบายะ ปี 2568 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ม.ค. 68 | ก.พ. 68 | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | โครงการชุมชนร่วใใจป้องกันเเละควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลลุโบะบายะ ปี 2568(1 ม.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) | 25,869.00 | |||||||||
รวม | 25,869.00 |
1 โครงการชุมชนร่วใใจป้องกันเเละควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลลุโบะบายะ ปี 2568 | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 75 | 25,869.00 | 0 | 0.00 | 25,869.00 | |
26 พ.ค. 68 | ชุมชนร่วมใจป้องกันเเละควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลลุโบะบายะ ปี 2568 | 75 | 25,869.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 75 | 25,869.00 | 0 | 0.00 | 25,869.00 |
ขั้นเตรียมการ 1.ประชุมคณะทำงาน เพื่อพิจารณาหาแนวทางการวางแผนการดำเนินงาน 2. จัดหาแหล่งสนับสนุนงบประมาณ ในการดำเนินงานโครงการ โดยขอสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลลุโบะบายะ 3. เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ขั้นดำเนินการ 1.อบรมให้ความรู้แก่ประชาชน ผู้นำ และอสม. 2.ร่วมกันสำรวจ ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย และประเมินค่า HI CI 3.พ่นหมอกควันในพื้นที่ 4.แจกโลชั่น ขั้นประเมินผล 1 .ประเมินค่า HI CI 2. สรุปผลการดำเนินโครงการ
- สามารถลดอัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกของประชาชนในเขตตำบลลุโบะบายะ 2. ประชาชนตลอดจนหน่วยงานเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก 3. ผู้นำชุมชน / ประชาชน/ มีความรู้ตลอดจนตระหนักถึงภัยไข้เลือดออก 4. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน เพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2568 14:55 น.