โครงการเฝ้าระวังคุณภาพอาหารและป้องกันโรคบริเวณตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังคุณภาพอาหารและป้องกันโรคบริเวณตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L6895-01-11 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
วันที่อนุมัติ | 5 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 29 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 29 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 29,872.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.41,99.519place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และนวัตกรรมสะท้อนให้เห็นว่ามีผลกระทบต่อ ระบบการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านอาหารซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ การได้รับอาหารที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย เป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิต ของประชาชน การดำเนินงาน
ด้านอาหารปลอดภัยจึงเป็นวาระสำคัญที่ทั่วโลกให้ความสำคัญมาโดยตลอด จากรายงานสถานการณ์ด้านระบาดวิทยาจังหวัดตรังประจำปี 2567 (1 ม.ค.-30 พ.ย. 2567) พบว่ามีอัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง 192.46 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต
เทศบาลเมืองกันตังดำเนินกิจกรรมตรวจสารปนเปื้อน 6 ชนิด (สารบอแรกซ์ สารกันรา สาร
ฟอกขาว สารฟอร์มาลิน สารเร่งเนื้อแดง และยาฆ่าแมลง) ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้นในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตังในปี 2567 จำนวน 56 รายการ ไม่พบสารปนเปื้อนในอาหาร
เทศบาลเมืองกันตัง เล็งเห็นผลกระทบโดยตรงกับสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคอาหารในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง ดังนั้นเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองและได้บริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยปราศจากการปนเปื้อน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองกันตัง จึงกำหนดดำเนินการโครงการเฝ้าระวังคุณภาพอาหารและป้องกันโรคบริเวณตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง ปี 2568 ขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารด้วยการตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหารและส่งเสริมให้ตลาดมีสุขลักษณะที่ดีด้วยการควบคุมสัตว์และพาหะนำโรคในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหารตลาดสดเทศบาลเมืองกันตังเพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร ตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง ปลอดการใช้สารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 6 ชนิด ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารกันรา สารฟอกขาว สารฟอร์มาลิน สารเร่งเนื้อแดงและยาฆ่าแมลง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 |
||
2 | ส่งเสริมให้ตลาดมีสุขลักษณะที่ดีด้วยการควบคุมสัตว์และพาหะนำโรค
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
- ขั้นเตรียมการ 1.1 เสนอโครงการเพื่อให้อนุกรรมการกลั่นกรอง/คณะกรรมการกองทุนฯเพื่อขออนุมัติงบประมาณ 1.2 วางแผนการดำเนินงาน ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ประชาสัมพันธ์โครงการ 1.3 สำรวจและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง 1.4 จัดทำเอกสารประกอบการดำเนินโครงการ/กิจกรรม 1.5 จัดซื้อและเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ชุดทดสอบตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร วัสดุสำหรับการควบคุมกำจัดหนูในตลาดสด เป็นต้น
- ขั้นดำเนินการ
2.1 กิจกรรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหาร/อันตรายต่อสุขภาพที่เกิดจากสารปนเปื้อนในอาหาร ด้วยการประชาสัมพันธ์ผ่านรถประชาสัมพันธ์/สื่อแผ่นพับ
- จัดจ้างทำสื่อแผ่นพับความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหาร จำนวน 200 แผ่น
- จัดจ้างทำสื่อโปสเตอร์ความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหาร เพื่อติดบอร์ดประชาสัมพันธ์ในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง จำนวน 4 แผ่น
2.2 กิจกรรมตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร
- เก็บตัวอย่างอาหารจากตลาดสดเทศบาลเมืองกันตังเพื่อตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร
- ตรวจสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 6 ชนิด ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารฟอกขาว กรดซาลิซิลิก สารฟอร์มาลิน สารเร่งเนื้อแดง และยาฆ่าแมลง
- แจ้งผลการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารให้ผู้ประกอบการทราบ
2.3 กิจกรรมควบคุมป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรคไม่ให้รบกวนและก่อความรำคาญภายในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง โดยทำความสะอาด/ล้างตลาดทุกวันที่ 5 และวันที่ 20 ของเดือน พร้อมทั้งป้องกัน/ควบคุมสัตว์และแมลงนำโรคเช่น หนูและนกพิราบ
3. ขั้นประเมินผลการดำเนินการ
3.1 สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ
- ตลาดสดปลอดการใช้สารปนเปื้อนในอาหาร ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารกันรา สารฟอกขาว สารฟอร์มาลิน สารเร่งเนื้อแดง และยาฆ่าแมลง ตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
- ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารที่มีความสะอาดปลอดภัยปราศจากการปนเปื้อน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2568 10:39 น.