โครงการส่งเสริมสุขภาพ “การดูแลผู้สูงอายุเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อม ตามแนวทางสบช.โมเดล”
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพ “การดูแลผู้สูงอายุเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อม ตามแนวทางสบช.โมเดล” |
รหัสโครงการ | L7250-1-06 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา |
วันที่อนุมัติ | 29 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 29 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 27,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวจารุณี วาระหัส ตำแหน่ง อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมชนนีสงขลา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.199011,100.595488place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เขตเทศบาลนครสงขลา มีประชากร 40,205 คน โดยมีประชากรผู้สูงอายุจำนวน 6,206 คน คิดเป็นร้อยละ 15.44 จำแนกเป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม 4,960 คน ติดบ้าน 1,169 คน ติดเตียง 77 คน (กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข, 2568) ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยพบว่า หนึ่งในโรคที่เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของผู้สูงอายุ คือ โรคสมองเสื่อม สถิติผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคภาวะสมองเสื่อมปี 2565 มีผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมจำนวน 770,000 คน หรือประมาณร้อยละ 6 ของจำนวนผู้สูงอายุรวมทั้งประเทศ โดยเฉลี่ยปีละหนึ่งแสนคน (กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2566) ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี ผลกระทบจากโรคสมองเสื่อมส่งผลต่อด้านร่างกาย ด้านจิตใจ การดำเนินชีวิตของผู้ป่วย โดยเฉพาะกระทบต่อภาระในการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมของครอบครัว อาการสมองเสื่อมคือภาวะที่มีการสูญเสียความสามารถทางสมอง เช่น ความจำ การรับรู้ ความเข้าใจ การใช้ภาษา ทิศทาง การใช้เหตุผลและการแก้ปัญหา มีการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมและบุคลิกภาพ โดยมีผลกระทบต่อความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันและการเข้าสังคม การดูแลที่ยาวนานทำให้ภาระการดูแลของผู้ดูแลรวมทั้งภาระงานด้านบริการของระบบสุขภาพต้องเพิ่มมากขึ้น สูญเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและผู้ดูแลลดลง ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสมองเสื่อมจึงเป็นสิ่งสำคัญ การดูแลผู้สูงอายุตามแนวทางสบช.โมเดล ตามหลัก 3 อ. 3 ล. (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย ลดเหล้า ลดบุหรี่ ลดน้ำหนัก) สามารถใช้เป็นแนวทางในการป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้ โดยวิธีการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอความเสื่อมของเซลประสาท อันเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะสมองเสื่อมที่สอดคล้องกับแนวทางสบช.โมเดล ประกอบด้วย การเลือกรับประทานอาหารที่บำรุงสมอง การออกกำลังกายหรือการมีกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอทำให้ระบบการไหลเวียนเลือดดีขึ้นและเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปที่สมอง การจัดการอารมณ์เพื่อไม่ให้เกิดความเครียดส่งผลให้หัวใจและระบบไหลเวียนทำงานได้ดีไม่มีการหดเกร็งของหลอดเลือดจากความเครียดเลือดไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น การหลีกเลี่ยงสารที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่สมอง เช่น บุหรี่ และแอลกอฮอล์ เนื่องจากการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดความเสื่อมของเซลล์ประสาทเร็วขึ้น และการลดน้ำหนักเพื่อรักษาค่าดัชนีมวลกายให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เป็นส่วนหนึ่งของการช่วยดูแลสมอง ผู้ดูแลผู้สูงอายุทั้งบุคคลในครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุขเป็นผู้ที่มีความสำคัญในการการดูแลผู้สูงอายุเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา เห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุดูแลป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสมองเสื่อม จึงจัดโครงการการดูแลผู้สูงอายุเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อม ตามแนวทางสบช.โมเดล ขึ้นซึ่งเป็นการตอบสนองนโยบายโครงการ 1,000 เตียง ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อม
|
80.00 | |
2 | 2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อมได้อย่างถูกต้อง 2.ร้อยละ 80 ผู้เข้ารับการอบรมผ่านการทดสอบการฝึกปฏิบัติทักษะในการดูแลผู้สูงอายุเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อม |
80.00 |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | กิจกรรมอบรมเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อม(29 เม.ย. 2568-30 ก.ย. 2568) | 27,800.00 | ||||||
รวม | 27,800.00 |
1 กิจกรรมอบรมเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 27,800.00 | 0 | 0.00 | 27,800.00 | |
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม | 0 | 7,000.00 | - | - | ||
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง | 0 | 700.00 | - | - | ||
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าอาหารกลางวัน | 0 | 7,000.00 | - | - | ||
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าอาหารกลางวันเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง | 0 | 700.00 | - | - | ||
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าไวนิลโครงการ | 0 | 500.00 | - | - | ||
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าตอบแทนวิทยากร | 0 | 1,800.00 | - | - | ||
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าวิทยากรกลุ่มฝึกปฏิบัติ | 0 | 3,600.00 | - | - | ||
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าคู่มือการดูแลผู้สูงอายุเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อม | 0 | 2,500.00 | - | - | ||
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าใบ certificate | 0 | 2,000.00 | - | - | ||
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น ( ปากกา/แฟ้มใส่เอกสารให้ผู้อบรม/แผ่นเกมจิ๊กซอส์กระตุ้นความจำ | 0 | 2,000.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 27,800.00 | 0 | 0.00 | 27,800.00 |
- กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อมมากขึ้น
- กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการสามารถปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อมได้
- กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการสามารถถ่ายทอดความรู้ไปยังผู้อื่นได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2568 10:45 น.