กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ประกอบการ ร้านค้า เขตเทศบาลนครสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ L7250-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
วันที่อนุมัติ 29 เมษายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 43,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสิริมาส วงศ์ใหญ่ ตำแหน่ง อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.197989,100.602011place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะหัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest) หมายถึง ภาวะหัวใจบีบตัวอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีผลทำให้การไหลเวียนเลือดหยุดลงอย่างกะทันหัน ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายขาดออกซิเจน ซึ่งสมองสามารถทนต่อภาวะขาดออกซิเจนได้ 4 นาทีหลังจากขาดเลือด และสมองจะถูกทำลายอย่างถาวรหลังขาดเลือด 7 นาที ภาวะหัวใจหยุดเต้น ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เสียชีวิตได้ (สุปราณี, อรวรรณ, ไพรินทร์, อนิรุทธ์และสุรพล, 2565) พบว่าผู้ป่วยที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นส่วนใหญ่พบนอกโรงพยาบาลร้อยละ 78 ซึ่งผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพในประเทศไทย มีโรคประจำตัวที่มีการขอความช่วยเหลือมากที่สุด คือโรคหัวใจและหลอดเลือด (พรทิพย์, วาสนา, จุฑารัตน์และกรเกล้า, 2563) หากผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือด้วยวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสมตามขั้นตอนของห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิต ทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตรอดสูง จากการศึกษาของวรรน์นา (2565) พบว่าในโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยทางอายุรกรรม (ร้อยละ 93.9) ผู้ป่วยอุบัติเหตุ (ร้อยละ 6.1) สาเหตุที่พบมากที่สุดได้แก่ Septic Shock และโรคหัวใจและหลอดเลือด เมื่อผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ทำให้อัตราการกลับมาสัญญาณชีพ ร้อยละ 88.6 ดังนั้นการเพิ่มชีวิตรอด ควรมีการจัดอบรมการช่วยเหลือชีวิตขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support) ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้พบเห็นเหตุการณ์สามารถประเมิน และให้การช่วยเหลือเบื้องต้นได้อย่างเหมาะสม
      การสำรวจของสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา (American Heart Association: AHA) พบว่า ในปีคริสต์ศักราช ๒๐๑๕ มีผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล (OHCA) จำนวน ๓๕๐,๐๐๐ คน โดยเกิดเหตุที่สาธารณะร้อยละ ๑๘.๘ ในที่พักอาศัยร้อยละ ๖๙.๕ และ ศูนย์ดูแล ผู้สูงอายุร้อยละ ๑๑.๗ สำหรับประเทศไทย ยังไม่มีข้อมูลภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล (OHCA) ที่แน่นอน อย่างไรก็ตามจากรายงานของศูนย์กู้ชีพนเรนทร โรงพยาบาลราชวิถี( สายด่วน ๑๖๖๙ ) ได้ รวบรวมข้อมูลผู้ที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน (Sudden Cardiac Arrest) และได้รับการช่วยเหลือ ด้วยการทำ CPR จำนวนผู้ป่วย ๗๓ ราย พบว่ามีอัตราการรอดชีวิตเพียงร้อยละ ๗.๗๒ ส่วนข้อมูลการทำ CPR ของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ พบว่ามีอัตราการรอดชีวิตร้อยละ ๕.๖๓ ซึ่งพบว่า สาเหตุของการเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยฉุกเฉินในประเทศไทย ระหว่างปี ๒๕๕๙-๒๕๖๓ ใน ๓ ลำดับ แรก คือภาวะหัวใจหยุดเต้น อัตราป่วยตาย ร้อยละ ๒๖, ไฟไหม้/ลวก เหตุจากความร้อน/สารเคมี/ ไฟฟ้ากระตุก อัตราป่วยตาย ร้อยละ ๑๘.๒ และ อุบัติเหตุทางรถยนต์ อัตราป่วยตาย ร้อยละ ๑๕ ตามลำดับ       การจัดอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพที่ถูกต้องตามแนวทางปฏิบัติเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรเรียนรู้ เพื่อให้ผู้พบเห็นเหตุการณ์ สามารถประเมินผู้ป่วย ขอความช่วยเหลือจากบุคลากรทางการแพทย์ และปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและต่อเนื่องเป็นไปตามมาตรฐานจนกว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากบุคลากรทางการแพทย์ในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง ซึ่งผู้ประกอบการร้านค้า ห้างหุ้นส่วน จำกัด พ่อค้า แม่ค้า ต้องความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน เมื่อพบเจอหรือประสบเหตุการณ์ดังกล่าว ก็สามารถให้การช่วยเหลือเบื้องต้นหรือโทรศัพท์ประสานแจ้งแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ซึ่งสามารถให้การช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างทันท่วงที เพิ่มโอกาสรอดแก่ผู้ที่ประสบเหตุหัวใจหยุดเต้น
    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา เป็นสถาบันการศึกษามีหน้าที่ผลิตบัณฑิตพยาบาลให้มีคุณภาพ และบริการวิชาการชุมชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทีมสุขภาพที่ต้องร่วมรับผิดชอบชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะการช่วยชีวิตผู้ป่วยที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลด้วยการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานที่ถูกต้องและทันสมัย รวมทั้งตอบสนองนโยบายโครงการ 1,000 เตียง จึงเล็งเห็นความสำคัญในการให้ความรู้และการฝึกภาคปฏิบัติ ทั้งนี้ประชาชนที่ประกอบการธุรกิจ ร้านค้า ควรมีความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานเพื่อที่จะสามารถนำไปใช้กับบุคคลทั่วไป ครอบครัวและประชาชนที่ประสบอุบัติเหตุได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ จึงจัดโครงการการให้ความรู้และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพแก่ผู้ประกอบการ ร้านค้า เพื่อให้มีความรู้และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพ( CPR) และการใช้เครื่องAED ได้อย่างถูกต้อง

1.ร้อยละ 80 ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพ( CPR) และการใช้เครื่องAED

80.00
2 2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีทักษะตัวชี้วัดในการช่วยฟื้นคืนชีพ( CPR)ได้อย่างถูกต้อง

2.ร้อยละ 80 ผู้เข้ารับการอบรมผ่านการทดสอบการฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ( CPR)

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าคู่มือการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน 0 1,875.00 -
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าไวนิลโครงการ ( 2 เมตร) 0 500.00 -
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าวิทยากรบรรยาย 0 1,200.00 -
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าวิทยากรกลุ่มฝึกปฏิบัติ 0 6,000.00 -
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าใบ certificate 0 1,500.00 -
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม 0 2,625.00 -
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง 0 700.00 -
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรมและกรรมการดำเนินงาน 0 5,250.00 -
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าอาหารกลางวันเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง 0 1,400.00 -
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น ( ปากกา/แฟ้มใส่คู่มือ/สมุด ฯลฯ) 0 1,000.00 -
29 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 อบรมให้ความรู้ฝึกทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานขั้นพื้นฐาน 0 21,850.00 -
รวม 0 43,900.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการสามารถปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานได้
  2. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการสามารถช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2568 14:54 น.