กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมอครอบครัวร่วมใจใส่ประชาชน ปี 2568
รหัสโครงการ 68-L3314-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหานโพธิ์
วันที่อนุมัติ 28 พฤษภาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 34,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสันติ จีนะสอน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.525,100.145place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 1725 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 910 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โดยที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกอบกับพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 มุ่งหมายที่พัฒนาบริการปฐมภูมิให้มีความเเข็งแรง รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบาย ให้คนไทยทุกคนมีหมอประจำตัว 3 คน ได้แก่ คนที่1 อสม.หมอประจำบ้าน(หมอใกล้บ้าน) หมอคนที่ 2 เจ้าหน้าที่สหวิชาชีพของหน่วยปฐมภูมิ (หมอใกล้ตัว) และหมอคนที่ 3 แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว (หมอใกล้ใจ) โดยทั้ง 3 หมอ จะประสานการทำงานร่วมกัน ในการดูแลประชาชนให้เข้าถึงบริการที่ครอบคลุมทุกมิติทั้งในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพและคุ้มครองผู้บริโภค รวมถึง การส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมมีความสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามศักยภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และยั่งยืน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหานโพธิ์ เป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ มีบุคลากรสายอาชีพ 6 คน รับผิดชอบประชากรใน 5 หมู่บ้านของตำบลหานโพธิ์ วึ่งมีประชากรประมาณ 3765 คน 1110 ครัวเรือน และมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 90 คน ปัญหาด้านสุขด้านสุขภาพที่สำคัญในพื้นที่ ได้แก่ กลุ่มประชากรวัยสูงอายุมีประมาณร้อยละ 27 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society) โดยกลุ่มนี้มีแนวโน้มจะเกิดปัญหาการติดบ้าน ติดเตียงเพิ่มขึ้น สำหรับในกลุ่วัยทำงาน พบว่า ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องการการรักษาต่อเนื่อเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน ก็เป็นปัญหาหนึ่งที่เป็ฯแนวโน้มที่จะขยายตัวและสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากได้รับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม และเศรษฐกิจ เป็ฯต้นว่า การอยู่อาศัยตามลำพังโดยขาดคนดูแล ทำให้เข้าถึงบริการล่าช้า จนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนส่งผลให้ภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลเพิ่มขึ้น สื่อสังคมออนไลน์ก็มีอิทธิพลทำให้ผู้คนหลงเชื่อโฆษณาจนเกิดการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง ไม่ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ผู้ดูแล ทำให้ไม่สามารถควบคุมโรคให้สงบลงได้ อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหานโพธิ์ ได้จัดบริการสุขภาพแบบบรูณาการผสมผสาน ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ อย่างต่อเนื่องตลอดมา เช่น การคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน การคัดกรองโรคเรื้อนัง เบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง การคัดกรองโรคมะเร็งต่างๆ เพื่อลดปัญหาการเจ็บป่วยก่อนเวลา อันควร ลดระยะเวลาการรอคอยในโรงพยาบาล ลดภาระการดูแลผู้ป่วยของภาครัฐ และลดการสูญเสียรายได้จากการเจ็บป่วยของประชาชน ซึ่งได้ความร่วมมือเป้นอย่างดีจากโรงพยาบาล และภาคีเครือข่ายทุกระดับ ทำให้การดูแลประชาชนมีความเชื่อมโยง สอดประสานกันอย่างไร้รอยต่อ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหานโพธิ์ ยังคงมุ่งมั่นที่จะทำให้ประชาชนทุกคนมีวิถีชีวิตที่ดี อยู่อาศัยในสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ โดยใช้กลไกลหมอครอบครัว (๓ หมอ ) ประสานการทำงานดูแลประชาชนทั้งที่บ้านและชุมชน แบบ "ดูแลใกล้ตัว ใกล้บ้าน ใกล้ใจ" เพื่อเพิ่มความครอบคลุมให้ได้รับบริการต่อเนื่อง ลดการเดินทาง เน้นการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค และส่งต่อรักษาในโรคซับซ้อนยุ่งยาก จึงได้จัดทำโครงการฯนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ อสม.หมอประจำบ้าน/ อสค./ผู้สูงอายุ มีความรู้และสามารถให้คำแนะนำด้านสุขภาพแกประชาชนได้

อสม./อสค. ที่ผ่านการอบรมมีความรู้อยู่ในระดับดีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

2 2. เพื่อคัดกรองสุขภาพวัยทำงาน

ร้อยละของวัยทำงานที่ได้รับการคัดกรองโรคเรื้อรัง

3 3. เพื่อคัดกรองสุขภาพและประเมินสมรรถภาพทางกายผู้สูงอายุ

ร้อยละของผุ้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองและประเมินสุขภาพในชุมชน โดย อสม. หมอประจำบ้าน ผ่าน Application smart อสม.

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

1.จัดอบรม อสม./ อสค. 2. คัดกรองสุขภาพวัยทำงาน 3. คัดกรองสุขภาพและประเมินสมรรถภาพทางกายผู้สูงอายุ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ
  2. ลดภาวะพึ่งพิงในผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลสุขภาพระยะยาว
  3. ภาคีเครือข่ายต่างๆ ให้ความสำคัญในการจัดการปัญหาสุขภาพของชุมชน ตลอดจน เข้ามามีส่วนร่วม ทั้งแรงกายแรงใจ และร่วมมือในการจัดการปัญหาสุขภาพของชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2568 11:18 น.