โครงการส่งเสริมการบริหารจัดการขยะ ลดพาหะนำโรค
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมการบริหารจัดการขยะ ลดพาหะนำโรค |
รหัสโครงการ | 68-L3024-1-4 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลไทรทอง |
วันที่อนุมัติ | 20 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2568 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 34,320.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวอุรารัตน์ กลามอ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลไทรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.604,101.673place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 75 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 75 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : ระบุ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑3 พ.ศ.๒๕๖6 - พ.ศ.๒๕70 ได้กำหนดมิติการพัฒนา 4 มิติ เพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามหมุดหมายที่ ๘ ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน ในปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาใหญ่ เพราะสิ่งแวดล้อมถูกประชาชนทำลายไปมาก ก่อให้เกิดปัญหามากมายตามมา ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน ปัญหาขยะล้นเมือง ปัญหาสุขภาพอนามัย ซึ่งขยะเป็นปัญหาหลักของสิ่งแวดล้อมที่ยากที่จะแก้ไข และสาเหตุหนึ่งเกิดจากประชาชนไม่รู้จักวิธีการบริหารจัดการขยะที่เกิดขึ้น ขยะมูลฝอย ขยะหรือของเสีย แบ่งเป็น มูลฝอยธรรมดาทั่วไป ได้แก่ มูลฝอยสด เศษอาหาร กระดาษ โฟม พลาสติก ขวด แก้ว โลหะ ฯลฯ และของเสียอันตราย ได้แก่ มูลฝอยติดเชื้อจากโรงพยาบาล กากสารเคมี สารเคมีกำจัดแมลง กากน้ำมัน หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่ใช้แล้ว แหล่งกำเนิดของเสียที่สำคัญ ได้แก่ ชุมชน โรงงานอุตสาหกรรมและพื้นที่เกษตรกรรม การนำขยะไปกำจัดโดยวิธีกองบนพื้นซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ 1.อากาศเสีย เกิดจากการเผามูลฝอยกลางแจ้งทำให้เกิดควันและสารมลพิษทางอากาศ 2.น้ำเสีย เกิดจากการกองมูลฝอยที่ตกค้างบนพื้นเมื่อฝนตกจะเกิดน้ำเสียซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำทำให้เกิดภาวะมลพิษทางน้ำ 3.แหล่งพาหะนำโรค จากมูลฝอยตกค้างบนพื้นจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนูและแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคติดต่อ ทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน 4. เหตุรำคาญและความไม่น่าดู จากการเก็บขยะมูลฝอยไม่หมด ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนการดำรงชีพได้
ตาม พรบ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาตรา 67 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขต (2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ดังนั้นกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลไทรทอง ได้มองเห็นความสำคัญจึงได้จัดโครงการส่งเสริมการบริหารจัดการขยะ ลดพาหะนำโรค บูรณาการร่วมกับชุมชนในตำบลไทรทองและสมาชิกอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) เพื่อแก้ไขปัญหาขยะเปียกและขยะทั่วไปในชุมชน ที่ก่อให้เกิดพาหะนำโรคจากขยะ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ๑ เพื่อให้ชุมชนมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ได้ด้วยตนเอง ๒ เพื่อลดพาหนะนำโรคในชุมชน อันเป็นผลพวงจากขยะ เช่น หนู และแมลงต่าง ๆ ๓ เพื่อขยายผลสู่การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม สมาชิกอาสาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) หมู่ละ 30 คน จำนวน 150 คน |
100.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติให้ความรู้
- บรรยายให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง
- บรรยายให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะแบบ 3Rs
- บรรยายให้ความรู้เรื่องโรคต่างๆที่มาจากการหมักหมมของขยะ เช่น ตับอักเสบ ไข้ไทฟอยด์ ปอดอักเสบ เป็นต้น
- สาธิตการจัดการขยะเปียกครัวเรือนด้วยวิธีถังขยะอินทรีย์ฝังดิน
กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์เพื่อป้องกันโรคจากขยะ
- ป้ายรณรงค์ให้ความรู้การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี
- ประชาสัมพันธ์พร้อมทั้งให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะทุกประเภทอย่างถูกวิธีตามช่องทางต่างๆ เช่น เสียงตามสายในชุมชนทุกวันศุกร์ ประชุมประจำเดือนชาวบ้าน เป็นต้น
๑ ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ และประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ได้ด้วยตนเอง
๒ ลดพาหนะนำโรคในชุมชน อันเป็นผลพวงจากขยะ เช่น หนู และแมลงต่าง ๆ
๓ ประชาชนมีส่วนร่วม ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2568 16:26 น.