โครงการ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลูกไม้ไผ่
ชื่อโครงการ | โครงการ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลูกไม้ไผ่ |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลูกไม้ไผ่ |
วันที่อนุมัติ | 4 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 14,960.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางอุมาพร นิลมณี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 48 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กคืออนาคตที่สําคัญของประเทศที่ต้องได้รับการพัฒนาให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ การสร้างคนไทยคุณภาพจึงต้องเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา คือ ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงอายุ 2 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาทองของเด็กที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาสมอง เพราะโครงสร้างสมองจะมีการพัฒนาสูงสุด ทั้งการสร้างเซลล์สมองและการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมองเกิดเป็นโครงข่ายใยประสาทนับล้านโครงข่าย และการที่เซลล์สมองมีการเชื่อมต่อกันทำให้เกิดการสื่อสารระหว่างเซลล์อย่างมีประสิทธิภาพ มีผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผู้เป็นแม่หรือผู้ปกครอง ต้องให้ความสำคัญกับโภชนาการที่ดีตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต คือ ช่วงที่อยู่ในท้องแม่ ช่วงเด็กอายุ 0-6 เดือน ช่วงเด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี จะต้องเลี้ยงดูและพัฒนาทักษะของเด็กโดยกระบวนการกระตุ้นผ่านกิจวัตรประจำวัน ในรูปแบบกิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน
ด้วยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลูกไม้ไผ่ มีจำนวนเด็กนักเรียน จำนวน 40 คน จากการสังเกตุพฤติกรรมของนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลูกไม้ไผ่ตลอดปีการศึกษา 2567 พบว่าเด็กนักเรียนหลายคนได้รับอาหารมื้อเช้าที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม อาหารมือเช้าเป็นอาหารมื้อแรกของวันที่สมควรได้รับ แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้ผู้ปกครองหรือบุคคลในครอบครัวมีรายได้น้อยลงอีกทั้งมีการใช้ชีวิตที่เร่งรีบของผู้ปกครองทำให้ไม่สามารถจัดสรรอาหารมื้อเช้าให้กับลูกได้ ส่งผลให้อาหารเช้ากลับกลายเป็นอาหารมื้อที่ถูกละเลยมากที่สุด เด็กนักเรียนบางคนผู้ปกครองมาส่งพร้อมขนม 1 ชิ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการรับรู้และการเรียนรู้ของเด็กเป็นอย่างมาก และมีเด็กนักเรียนจำนวน 3 คน มีน้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์ ครูจึงได้ร่วมกันวางแผนและหาแนวทางแก้ไขปัญหานี้โดยการเสนอโครงการกิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้และเกิดความตระหนักเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการและการดูแลสุขภาพของเด็กรอบด้าน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา ทั้ง 4 ด้าน ในเด็กปฐมวัย 1.ร้อยละ 70 ของเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลูกไม้ไผ่ในการดูแลของผู้ปกครองมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย |
48.00 | 70.00 |
2 | 2.เพื่อจัดกิจกรรมให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมการพูด การกินที่ถูกต้อง การกอด การนอนหลับพักผ่อน การเล่นเสริมพัฒนาการ และการดูแลสุขภาพฟัน 2.ร้อยละ 70 ของผู้ปกครอง บุคลากร และเด็กปฐมวัย มีความรู้เรื่องการพูด การเรียนรู้ การกอด การกิน ทราบถึงประโยชน์ความสำคัญ และทักษะการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย |
48.00 | 70.00 |
3 | 3.เพื่อส่งเสริมและป้องกันโภชนาการเด็กในภาวะเสี่ยงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3.ร้อยละของผู้ปกครองมีความตระหนักในส่งเสริมและป้องกันโภชนาการเด็กในภาวะเสี่ยงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก |
48.00 | 70.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 14,960.00 | 0 | 0.00 | 14,960.00 | |
4 เม.ย. 68 | ประชุมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง กำหนดและวางแผนการดำเนินโครงการ | 0 | 0.00 | - | - | ||
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | จัดอบรมให้ความรู้แก่ ผู้ปกครองของเด็กผู้ดูแลเด็กและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เรื่องการกิน กอด เล่น การนอนหลับพักผ่อนและการดูแลสุขภาพฟัน | 0 | 6,960.00 | - | - | ||
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | จัดกิจกรรมส่งเสริมการเล่นและพูด | 0 | 0.00 | - | - | ||
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | จัดกิจกรรมส่งเสริมการกินโดยสนับสนุนอาหารมื้อเช้าระยะเวลา 4 สัปดาห์ | 0 | 8,000.00 | - | - | ||
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | สรุปและประเมินผลการดำเนินกิจกรรม | 0 | 0.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 14,960.00 | 0 | 0.00 | 14,960.00 |
1.เด็กปฐมวัยได้รับการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีสุขภาพอนามัย ที่ดี มีพัฒนาการสมวัย 2.ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความรู้ เรื่องการส่งเสริมการพูด การกินที่ถูกต้องการกอด การเล่นเสริมพัฒนาการ การนอนหลับพักผ่อน และการดูแลสุขภาพฟัน 3.ผู้ปกครองมีความตระหนัก และทราบแนวทางในการสร้างความผูกพันกับลูก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2568 00:00 น.