กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ “พลังเด็กและเยาวชนตำบลอาซ่อง หยุดบุหรี่ไฟฟ้า สร้างอนาคตที่ปลอดภัย” ประจำปี 2568
รหัสโครงการ 68-L4166-2-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 7 พฤษภาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ บ้านสะโต ม.5 ตำบลอาซ่อง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.52,101.451place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม , แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
        ปัจจุบัน การใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่ากังวล จากการสำรวจพบว่า เยาวชนไทยอายุระหว่าง 6-30 ปี มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าถึง 18.6% โดยแบ่งเป็นเพศชาย 21.49%, LGBTQ+ 19.73% และเพศหญิง 16.22%  นอกจากนี้ ผลสำรวจในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในภาคกลาง พบว่า เด็กประถมฯ เคยลองสูบบุหรี่ไฟฟ้าถึง 43% และที่น่าตกใจคือ พบนักเรียนหญิงสูบมากกว่าชาย ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยพบมาก่อน
      ปัจจัยที่ส่งผลให้เด็กและเยาวชนหันมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ การเลียนแบบพฤติกรรมจากบุคคลใกล้ชิดหรือสื่อสังคมออนไลน์, การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ดึงดูดใจ, ความเข้าใจผิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่เป็นอันตรายหรือไม่ผิดกฎหมาย, และการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เข้มงวด นอกจากนี้ ผลสำรวจในกรุงเทพมหานครพบว่า เยาวชนใช้เงินซื้อบุหรี่ไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 26,944 บาท หรือเดือนละ 2,245 บาท ซึ่งเป็นภาระทางการเงินที่สูง
        จากสถานการณ์พบพื้นที่จังหวัดยะลามีการลักลอบจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าและอุปกรณ์บุหรี่ที่ผิดกฎหมาย จากการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนภายในจังหวัดยะลา บุหรี่ไฟฟ้าเข้าสู่สถานศึกษาและมีแนวโน้มไปสู่นักเรียนที่มีอายุน้อยลงได้ง่ายขึ้น ซึ่งเด็กและเยาวชนยังขาดองค์ความรู้เรื่องโทษของบุหรี่ไฟฟ้า มีความเชื่อและค่านิยมผิดๆเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ร่วมทั้งยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับด้านกฎหมายข้อมูลเหล่านี้สะท้อนถึงความจำเป็นในการดำเนินมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนอย่างเร่งด่วน         ปัจจุบันปัญหาการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลอาซ่อง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา กำลังทวีความรุนแรงขึ้น โดยข้อมูลจากกลุ่มเยาวชนสานสันติ ที่ร่วมกันสำรวจกับสมาคมอาสาสร้างสุข ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ชี้ให้เห็นว่าเด็กตั้งแต่อายุ 11 ปี เริ่มมีพฤติกรรมลอกเลียนแบบและแอบใช้บุหรี่ไฟฟ้าตามสมาชิกในครอบครัว ขณะที่เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน จากข้อมูลการสำรวจในกลุ่มเยาวชนอายุ 10-20 ปี ซึ่งมีจำนวน 560 คน พบว่า 80 คนมีพฤติกรรมอยากรู้อยากลอง และ 36 คนมีการครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า         การใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตในระยะยาว สารนิโคตินที่อยู่ในบุหรี่ไฟฟ้าส่งผลต่อพัฒนาการของสมอง ทำให้เกิดภาวะติดสารเสพติดตั้งแต่อายุยังน้อย นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อผิด ๆ ว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่เป็นอันตรายหรือปลอดภัยกว่าบุหรี่ธรรมดา อีกทั้งปัญหานี้ยังเกิดขึ้นภายใต้บริบทของครอบครัวที่สมาชิกบางส่วนมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้า ส่งผลให้เด็กและเยาวชนซึมซับพฤติกรรมดังกล่าวได้ง่ายขึ้น         เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จำเป็นต้องมีมาตรการเชิงรุกในการสร้างความตระหนักรู้ ให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า และเสริมสร้างทักษะในการปฏิเสธการใช้สารเสพติดให้กับเด็กและเยาวชน รวมถึงการทำงานร่วมกับครอบครัวและชุมชนเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง โดยการจัดทำโครงการนี้จะช่วยลดอัตราการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเยาวชน และส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโทษและอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าแก่เด็ก เยาวชน และครอบครัวในพื้นที่ตำบลอาซ่อง

ร้อยละ 80 ของเด็ก เยาวชน และครอบครัวในตำบลอาซ่องที่ได้รับข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโทษของบุหรี่ไฟฟ้า

2 เพื่อเสริมสร้างทักษะในการปฏิเสธสิ่งเสพติดและพฤติกรรมเสี่ยงในกลุ่มเด็กและเยาวชน

ร้อยละ 90 จำนวนเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างทักษะในการปฏิเสธสิ่งเสพติด

3 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของครอบครัว โรงเรียน และชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในพื้นที่

จำนวนครอบครัว โรงเรียน และองค์กรชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์หรือให้ความร่วมมือในโครงการ

4 เพื่อผลักดันให้เกิดมาตรการและแนวทางการป้องกันการใช้บุหรี่ไฟฟ้าอย่างเป็นระบบในระดับตำบล

จำนวนภาคีเครือข่ายในตำบลที่ร่วมสนับสนุนหรือผลักดันมาตรการป้องกันบุหรี่ไฟฟ้า

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 68มิ.ย. 68ก.ค. 68ส.ค. 68ก.ย. 68
1 กิจกรรมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโทษของบุหรี่ไฟฟ้า โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ นักจิตวิทยา และอดีตผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าที่เลิกได้มาเป็นวิทยากร ( จัดอบรมให้ความรู้ในชุมชนบ้านสะโต )(7 พ.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) 22,100.00          
2 กิจกรรมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโทษของบุหรี่ไฟฟ้า โดยจัดกิจกรรม “โรงเรียนปลอดบุหรี่ไฟฟ้า” เพื่อรณรงค์ในสถานศึกษา ( จัดอบรมให้ความรู้ในโรงเรียนบ้านสะโต )(7 พ.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) 12,800.00          
3 กิจกรรมเดินรณรงค์ ลด ละ เลิกบุหรี่ เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้สูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในโรงเรียนและชุมชน เพื่อส่งเสริมการ ลด ละ เลิก บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มนักเรียนและเยาวชน ในชุมชน(7 พ.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) 5,700.00          
รวม 40,600.00
1 กิจกรรมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโทษของบุหรี่ไฟฟ้า โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ นักจิตวิทยา และอดีตผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าที่เลิกได้มาเป็นวิทยากร ( จัดอบรมให้ความรู้ในชุมชนบ้านสะโต ) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 22,100.00 0 0.00
7 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโทษของบุหรี่ไฟฟ้า โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ นักจิตวิทยา และอดีตผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าที่เลิกได้มาเป็นวิทยากร ( จัดอบรมให้ความรู้ในชุมชนบ้านสะโต ) 100 22,100.00 -
2 กิจกรรมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโทษของบุหรี่ไฟฟ้า โดยจัดกิจกรรม “โรงเรียนปลอดบุหรี่ไฟฟ้า” เพื่อรณรงค์ในสถานศึกษา ( จัดอบรมให้ความรู้ในโรงเรียนบ้านสะโต ) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 12,800.00 0 0.00
14 พ.ค. 68 กิจกรรมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโทษของบุหรี่ไฟฟ้า โดยจัดกิจกรรม “โรงเรียนปลอดบุหรี่ไฟฟ้า” เพื่อรณรงค์ในสถานศึกษา ( จัดอบรมให้ความรู้ในโรงเรียนบ้านสะโต ) 100 12,800.00 -
3 กิจกรรมเดินรณรงค์ ลด ละ เลิกบุหรี่ เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้สูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในโรงเรียนและชุมชน เพื่อส่งเสริมการ ลด ละ เลิก บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มนักเรียนและเยาวชน ในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 5,700.00 0 0.00
7 พ.ค. 68 กิจกรรมเดินรณรงค์ ลด ละ เลิกบุหรี่ เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้สูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในโรงเรียนและชุมชน เพื่อส่งเสริมการ ลด ละ เลิก บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มนักเรียนและเยาวชน ในชุมชน 100 5,700.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและเยาวชนมีความรู้เกี่ยวกับโทษของบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  2. อัตราการทดลองใช้บุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเยาวชนลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
  3. ผู้ปกครองและแกนนำชุมชนมีความเข้าใจและสามารถมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหานี้ได้อย่างเป็นรูปธรรม
  4. มีการพัฒนามาตรการป้องกันการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษาและชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2568 18:22 น.