โครงการแสงสว่างในที่มืดมน ก้าวผ่านภาวะซึมเศร้าด้วยความเข้าใจและพลังแห่งการโอบรับ ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการแสงสว่างในที่มืดมน ก้าวผ่านภาวะซึมเศร้าด้วยความเข้าใจและพลังแห่งการโอบรับ ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5287-2-08 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สภาเด็กและเยาวชนตำบลท่าแพ |
วันที่อนุมัติ | 8 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 15,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวนูรฟาเดีย เตบสัน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.791,99.964place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 พ.ค. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 15,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 15,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันปัญหาทางจิตที่เกิดจากการเรียนและความกดดันทางสัมคม เป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเยาวชนและประชากรในวัยเรียนอย่างชัดเจน ความคาดหวังจากครอบครัว สถาบันการศึกษา และสังคม รวมถึงการแข่งขันที่สูงขึ้นในด้านการเรียนและการเข้าสู่ตลาดแรงงาน ทำให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล และปัญหาสุขภาพจจิตอื่นๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า คสามรู้สึกไร้ค่า และการขาดความมั่นใจในตนเอง ความกดดันทางสังคม เช่น การเปรียบเทียบ ความสำเร็จระหว่างบุคคล การใช้โซเชียลมีเดีย และการขาดพื้นที่ปลอดภัยในการแสดงออกทางความรู้สึก ยิ่งทำให้ปัญหาสุขภาพจิตรุนแรงขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่พฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อตนเอง เช่น การหลีกเลี่ยงสังคม การใช้สารเสพติด หรือแม้กระทั่งการทำร้ายตัวเอง แม้ว่าหน่วยงานต่างๆ หทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนจะพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่ยังคงมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลและบริการทางสุขภาพจิตในกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะในโรงเรียนและสถาบันการศึกษา และจากข้อมูลสถิติผู้ป่วยซึมเศร้า พบว่า ผู้ป่วยซึมเศร้าในพื้นที่ตำบลท่าแพ ในช่วงวัยรุ่นมากกว่าในช่วงวัยอื่นๆ ในปีงบประมาณ 2566 มีจำนวน 12 ราย ปีงบประมาณ 2567 จำนวน 24 ราย เห็นอย่างชัดเจนเลยว่า จำนวนผู้ป่วยซึมเศร้ามีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้น โครงการที่เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางจิตที่เกิดจากการเรียน ความกดันทางสัมคมและความเครียดไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม อาจพัฒนาไปสู่ภาวะซึมเศร้า ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชที่มีลักษณะอาการเด่น คือความรู้สึกเศร้า หดหู้ ขาดความสนใจในกิจกรรมต่างๆ รวมถึงความคิดอยากทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย หากไม่ได้รับการรักษาภาวะซึมเศร้าสามารถส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ การทำงานและคุณภาพชีวิตโดยรวม ในปัจจุบันปัญหาเหล่านี้ทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากปัจจัยทางสังคม เช่น การแข่งขันในระบบการศึกษา ความกดดันจากการเปรียบเทียบในสื่อโซเชียล และการขาดระบบสนับสนุนทางอารมณ์ใรครอบครัวและชุมชน จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างตระหนักรู้ให้ความช่วยเหลือ และพัฒนาทักษะการจัดการความเครียดในกลุ่มนักเรียน นักศึกษาและผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เพื่อสร้างสุขภาพจิตที่ดีและยั้งยืนในระยะยาว สภาเด็กและเยาวชน สภาเด็กและเยาวชนตำบลท่าแพ ได้ตระหนักถึงความสำคัญและจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำฏครงการแสงสว่างในที่มืดมน ก้าวผ่านภาวะซึมเศร้าด้วยความเข้าใจและพลังแห่งการโอบรับ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตและภาวะซึมเศร้าแก่เด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย ผู็เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 100 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตและภาวะซึมเศร้า |
100.00 | |
2 | 2. เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ส่งเสริมการดูแลฟื้นฟูผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า ทั้งร่างกายและจิตใจ ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 100 รู้จักวิธีการดูแลและฟื้นฟูภาวะซึมเศร้า ทั้งทางร่างกายและจิตใจ |
100.00 | |
3 | 3. เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งช่วยเหลือ เช่น สายด่วนสุขภาพจิต ศูนย์ให้คำปรึกษา และสนับสนุนการใช้เทคโนโลยี เช่น แอปพลิเคชั่นด้านสุขภาพจิต ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 100 มีความรู้การใช้แอปพลิเคชั่นด้านสุขภาพจิตมากขึ้น และรู้จักแนวทางการเข้าถึงบริการสุขภาพจิต |
100.00 |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้(1 พ.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) | 15,000.00 | |||||
รวม | 15,000.00 |
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 50 | 15,000.00 | 0 | 0.00 | 15,000.00 | |
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้และกิจกรรมฐานการเรียนรู้ | 50 | 15,000.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 50 | 15,000.00 | 0 | 0.00 | 15,000.00 |
- ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตและภาวะซึมเศร้า
- ผู้เข้าร่วมโครงการมีภูมิคุ้มกัน ส่งเสริมการดูแลฟื้นฟูผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า ทั้งทางร่างกายและจืตใจ
- ผู้เข้าโครงการมีความรู้เกี่ยวกับแหล่งช่วยเหลือต่างๆ เช่น สายด่วนสุขภาพจิต ฯลฯ และมีความรู้เรื่องการใช้งานแอปพลิเคชั่น ด้านสุขภาพจิตสำหรับใช้ในยามฉุกเฉิน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2568 10:48 น.