กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควันลวงบุหรี่ไฟฟ้า เสน่ห์อันตรายในมือเยาชน (สูบบุหรี่ไฟฟ้า เทห์กี่โมง) ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L5287-2-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สภาเด็กและเยาวชนตำบลท่าแพ
วันที่อนุมัติ 8 เมษายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 16,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรฟาเดีย เตบสัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.791,99.964place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2568 30 ก.ย. 2568 16,800.00
รวมงบประมาณ 16,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าในปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยโดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนและวัยรุ่นซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของการตลาดจากผู้ผลิตไฟฟ้า เยาวชนวัยรุ่นใช้บุหรี่ไฟฟ้ากลายเป็นเรื่องปกติในบางกลุ่ม เนื่องจากมีตลาดที่มุ่งเป้าหมายสู่กลุ่มเยาวชนและวัยรุ่น เช่น กลิ่นและรสชาติที่หลากหลาย บุหรี่ไฟฟ้ามักถูกซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ แม้ว่าจะมีการควบคุมในหลายประเทศไทย บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ปลอดภัยอย่างที่หลายๆคนเข้าใจ สารเคมีในไอระเหยอาจก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจและหัวใจมีโอกาสสูงทีจะหันไปสูบบุหรี่ธรรมดาหรือสูบบุหรี่มวนในอนาตคืบุหรี่ไฟฟ้ายังถือว่าผิดกฏหมายหากมีการนำเข้ามาขายหรือครอบครอง รัฐบาลพยายามเพิ่มการณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักถึงอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า โดยเฉพาะในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย และจากข้อมูลสถิติการบริโภคบุหรี่ไฟฟ้าอำเภอท่าแพจังหวัดสตูล ช่วงเดือนธันวาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 มีกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาเฉพาะเด็กและเยาวชน ช่วงอายุ 10 - 24 ปี ที่อาศัยอยู่ในอำเภอท่าแพ จำนวน 492 ราย ซึ่งอยู่ในพื้นที่ตำบลท่าแพ เป็นจำนวน 132 คน คิดเป็นร้อยละ 26.80 มากกว่าตำบลอื่นๆ ในอำเภอท่าแพ ส่วนใหญ่เริ่มใช้บุหรี่ครั้งแรก อายุ 15 ปี อายุที่เริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้าต่ำที่สุดคือ 10 ปี สูงที่สุดคือ 23 ปี อายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้าเท่ากับ 19.41 ปี (SD = 3.85) สาเหตุที่เริ่มต้นสูบบุหรี่ไฟฟ้าส่วนใหญ่คืออยาดทกลอง คิดเป็นร้อยละ 79.07 ของผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า โดยมีแหล่งที่มาของบุหรี่ไฟฟ้ามาจากเพื่อนหรือคนรู้จักให้ร้อยละ 39.60 รองลงมาซื้อจากร้ารค้า ร้อยละ 36.00 และสั่งซื้อจากร้านค้าออนไลน์ ร้อยละ 24 ตามลำดับ
  ดังนั้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเยาวชนในเรื่องสารเสพติด (บุหรี่ไฟฟ้า) เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตและเยาวชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งสามารถดำเนินการได้หลายแนวทางการให้ความรู้ และการสร้างความตะหนักรู้การจัดอบรมให้ข้อมูล ให้ความรู้เกี่ยวกับโทษและผลกระทบของบุหรี่ไฟฟ้าต่อร่างกาย จิตใจ และสังคม ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจนำไปสู่การใช้สารเสพติด เช่น การปฏิเสธเพื่อที่ชักชวนการตัดสินใจการแก้ไขปัญหาและการปฏิเสธอย่างมั่นใจ ทั้งนี้เพราะปัญหายาเสพติด (บุหรี่ไฟฟ้า) มีการระบาดในทุกพื้นที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของประเทศชาติ แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาสถานการณ์บุหรี่ไฟฟ้าได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นสังเกตุได้จากจำนวนคดี จำนวนของกลางกลุ่มเครือข่ายและการแพร่ระบาดมีแนวโน้มที่รุนแรงขึ้นทุกด้าน ที่สำคัญมีเด็กเยาวชนเป็นจำนวนมากทีเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดไม่ทางใดก็ทางหนึ่งจึงมีการรณรงค์จากหลายภาคส่วนให้ทุกคนตระหนักถึงความรุนแรงของบุหี่ไฟฟ้าที่ไม่ต่างจากมะเร็งที่กัดกินสังคม ซึ่งทุกคนต้องช่วยกันป้องกันและสอดส่องดูแล สภาเด็กและเยาวชนตำบลท่าแพ ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดโครงการควันหลงบุหรี่ไฟฟ้า เสน่ห์อันตรายในมือเยาวชน (สูบุหรี่ไฟฟ้า เท่ห์กี่โมง )

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างความตระหนักรู้ ความเข้าใจ ให้กับเด็กและเยาวชนภายในตำบลท่าแพ รู้จักวิธีการป้องกัน เกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า

ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 100 มีความตระหนักรู้ ความเข้าใจ การป้องกันเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า

100.00
2 2. เพื่ิอกระตุ้นให้เด็กเยาวชน มีการเลือกวิถึชีชีวิตที่ปลอดบุหรี่และสร้างความภาคภูมิใจในการดูแลสุขภาพของตนเอง

ผู้เข้าร่วมโครงาร ร้อยละ 100 มีการเลือกวิถีชีวิตที่ปลอดบุหรี่และมีความภูมิใจในการดูแลสุขภาพของตนเอง

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และกิจกรรมฐานการเรียนรู้ 60 16,800.00 -
รวม 60 16,800.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักรู้ ความเข้าใจ ให้กับเด็กและเยาวชนภายในตำบลท่าแพ รู้จักวิธีการป้องกัน เกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการรู้จักเลือกใช้วิถีชีวิตให้ห่างไกลบุหรี่ไฟฟ้า และภูมิใจในสุขภาพของตนเองโดยไม่พึ่งพายาเสพติด (บุหรี่ไฟฟ้า)
  3. ผู้เจ้า่วมโครงการมีความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายและผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในระยะยาว และสามารถนำข้อมูลไปเผยแพร่ต่อได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2568 11:06 น.