กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ
รหัสโครงการ 68-L7251-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดสน
วันที่อนุมัติ 15 พฤษภาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดวงใจ แก้วจันทร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ตำบลวัดสน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม สถานการณ์การตรวจหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของประชาชนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ตำบลวัดสน ปี 2567 พบว่า เกษตรกรมีผลตรวจอยู่ในระดับเสี่ยงสูงร้อยละ 12.5 ไม่ปลอดภัยร้อยละ 17.6 โดยพฤติกรรมเสี่ยงของเกษตรกรที่พบมากคือ ไม่เปลี่ยนเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนสารเคมีทันทีหลังการฉีดพ่น ไม่ทำความสะอาดร่างกายเมื่อเสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีทันที และไม่สวมรองเท้าบูท แว่นตา ปิดจมูกให้มิดชิด จากข้อมูลดังกล่าววิเคราะห์ได้ว่าประชาชนยังขาดความรอบรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักในการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดสน จึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจคัดกรองวัดระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย

 

2 เพื่อสร้างความรอบรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงการป้องกันตนเองในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและการป้องกันตนเองที่ถูกต้องเมื่อต้องสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้แก่เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย

 

3 เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจวัดระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสที่อยู่ในระดับเสี่ยงและเสี่ยงสูงได้รับยาสมุนไพรรางจืดลดพิษ ร้อยละ 100 และมีองค์ความรู้ในการนำสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการล้างพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตร

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๒.๑ ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน คัดเลือกโครงการ เขียนโครงการ
๒.๒ ดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการตามกำหนด/รายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารทราบ กลวิธีในการดำเนินกิจกรรม มีดังนี้
1. จัดเตรียมเอกสารประกอบการอบรม 2. ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง วัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรม 3. จัดทำหนังสือแจ้งกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนัดวันดำเนินกิจกรรม โดยมีเนื้อหาการอบรมดังนี้ - เจาะเลือดเพื่อวัดระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส จำนวน 1 ชั่วโมง - ให้ความรู้เรื่องสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตร จำนวน 1 ชั่วโมง - ให้ความรู้เรื่องผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร จำนวน 1 ชั่วโมง - ให้ความรู้เรื่องการดูแลตนเองเพื่อป้องกันพิษจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร จำนวน 1 ชั่วโมง - ให้ความรู้เรื่องการนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการล้างพิษจากสารเคมีทางการเกษตร จำนวน 1 ชั่วโมง - แจ้งผลการตรวจเลือดวัดระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส และให้คำแนะนำเป็นรายกลุ่ม จำนวน 1 ชั่วโมง 4. ประเมินผลการดำเนินงาน - แบบทดสอบความรอบรู้ก่อน - หลังการอบรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองวัดระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด ร้อยละ 100
2.เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมีความรอบรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงการป้องกันตนเองในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและการป้องกันตนเองที่ถูกต้องเมื่อต้องสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ร้อยละ 80 ๓.เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจวัดระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสที่อยู่ในระดับเสี่ยงและเสี่ยงสูงได้รับยาสมุนไพรรางจืดลดพิษ ร้อยละ 100 และสามารถใช้สมุนไพรที่มีในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการล้างพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2568 00:00 น.