โครงการส่งเสริมการใช้สมุนไพรในชุมชนสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิต
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมการใช้สมุนไพรในชุมชนสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิต |
รหัสโครงการ | 68-L7251-01-08 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดสน |
วันที่อนุมัติ | 15 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 30 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 15,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวกัญญธร ขุนทอง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สถานการณ์โรคเบาหวานและความดันโลหิตเป็นปัญหาสุขภาพสำคัญของโลกและของประเทศไทย ทั้งในมิติของจำนวน การเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม สถานการณ์โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2563 - 2567 พบว่า ความชุกของโรคเบาหวานในประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.9 ในปี 2563 เป็นร้อยละ 9.5 ในปี 2567 และความชุกโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 24.7 ในปี 2563 เป็นร้อยละ 25.4 ในปี 2567 สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง สรีรวิทยา เช่น ภาวะอ้วน ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ระดับไขมันในเลือดสูง และระดับความดันโลหิตสูง นำไปสู่การเกิดโรค ถ้าหากไม่ให้ความสำคัญกับการจัดการปัจจัยเสี่ยงและควบคุมสภาวะโรคอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ส่วนสำคัญในการจัดการปัญหาสุขภาพดังกล่าว คือ การพัฒนาความรอบรู้ให้ประชาชนเพื่อจัดการปัญหาจากโรคไม่ติดต่อและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพทั้งกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิต โดยการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านซึ่งเป็นการดูแลสุขภาพด้วยตนเองมาตั้งแต่ในอดีตและสมุนไพรก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถนำมาใช้ในการบรรเทาอาการเจ็บป่วยและรักษาโรค เบื้องต้นได้ จากสถานการณ์การผลการดำเนินงานการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิต ในปี 2568 พบว่า อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานในประชาชนตำบลวัดสน อายุ 15 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.2 ในปี 2567 เป็นร้อยละ 5 ในปี 2568 และอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.06 ในปี 2567 เป็นร้อยละ 5.22 ในปี 2568 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดสน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการใช้สมุนไพรในชุมชนสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิต เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์และเป็นการบรูณาการการแพทย์ปัจจุบันร่วมกับการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการสร้างเสริมสุขภาพด้วยตนเองได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีองค์ความรู้ที่ถูกต้องในการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในท้องถิ่น
|
||
2 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถดูแลตนเองและครอบครัวด้วยสมุนไพรเมื่อเจ็บป่วยได้ถูกต้องและปลอดภัย
|
๒.๑ ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน คัดเลือกโครงการ เขียนโครงการ
๒.๒ ดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการตามกำหนด/รายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารทราบ
กลวิธีในการดำเนินกิจกรรม มีดังนี้
1. จัดเตรียมเอกสารประกอบการอบรม
2. ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง วัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรม
3. จัดทำหนังสือแจ้งกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนัดวันดำเนินกิจกรรม โดยมีเนื้อหาการอบรมดังนี้
- ให้ความรู้เรื่องภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพ จำนวน 1 ชั่วโมง
- ให้ความรู้เรื่องสมุนไพรที่ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิต จำนวน 1 ชั่วโมง
- ให้ความรู้เรื่องสมุนไพรที่ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 1 ชั่วโมง
- ตัวอย่างสมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้ในการดูแลรักษาสุขภาพ จำนวน 1 ชั่วโมง
- ข้อแนะนำในการนำสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ประโยชน์ จำนวน 1 ชั่วโมง
4. ประเมินผลการดำเนินงาน
- สาธิตการทำอาหารสมุนไพรให้เป็นยา จำนวน 1 ชั่วโมง
- แบบทดสอบความรอบรู้ก่อน - หลังการอบรม
- กลุ่มเป้าหมายมีองค์ความรู้ที่ถูกต้องในการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในท้องถิ่น
- กลุ่มเป้าหมายสามารถดูแลตนเองและครอบครัวด้วยสมุนไพรเมื่อเจ็บป่วยได้ถูกต้องและปลอดภัย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2568 00:00 น.