โครงการอาหารครบมื้อ โภชนาการครบหมู่สำหรับหนูน้อยปฐมวัย
ชื่อโครงการ | โครงการอาหารครบมื้อ โภชนาการครบหมู่สำหรับหนูน้อยปฐมวัย |
รหัสโครงการ | 68-L7251-01-09 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดสน |
วันที่อนุมัติ | 15 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 30 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 11,630.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวปิยาภรณ์ แก้วรักษ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาประเทศและเป็นต้นทุนทางสังคมที่มีคามากที่สุด โดยเฉพาะเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นชวงวัยที่มีการพัฒนาทุกดานสูงสุด การเลี้ยงดู การดูแลสุขภาพ และการจัดการสภาพแวดลอมที่เอื้อ ตอการเจริญเติบโตและการเรียนรูด้านต่างๆของเด็ก จะสงผลใหเกิดพัฒนาการที่เป็นรากฐานของบุคลิกภาพ อุปนิสัย และการเติบโตของสมองที่มีผลต่อสติปัญญาและความสามารถของเด็กด้วย ปจจุบันสถานการณของเด็กไทยกําลังมีภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งกรมอนามัยคาดวาในอนาคตจะมีอัตราภาวะทุพโภชนาการจะเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 30 ภาวะทุพโภชนาการ หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารที่เบี่ยงเบนผิดไปจากปกติ อาจเกิดจากการได้รับสารอาหารที่น้อยกว่าปกติ เหตุจากความบกพร่องต่างๆจากการกิน การย่อย การดูดซึม การพัฒนาพฤติกรรมโภชนาการที่พึงประสงค์ให้กับเด็กปฐมวัยเป็นการวางารากฐานสุขภาพที่สำคัญในการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต อาหารที่มีคุณภาพเป็นสิ่งจําเป็นในเด็กปฐมวัย เนื่องจากในวัยนี้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นชวงที่สมองกําลังพัฒนา โดยเฉพาะใน 3 ขวบปแรก ซึ่งมีผลในด้านสติปัญญา พัฒนาการ การเรียนรู ถาเด็กวัยนี้ได้รับอาหารที่ไม่มีคุณภาพ สงผลใหการเจริญเติบโตชา สติปัญญาต่ำ การเรียนรูชา ดังนั้นการจัดอาหารในแต่ละมื้อใหเด็กปฐมวัยนั้นตองคำนึงถึงปริมาณและสารอาหารใหเด็กได้รับอย่างเพียงพอ จากสถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการเด็กปฐมวัยในพื้นที่ตำบลวัดสน ในปี 2567 พบว่าอัตราภาวะค่อนข้างผอมร้อยละ 4.23 ภาวะผอมร้อยละ 2.82 ภาวะเริ่มอ้วน 12.68 ภาวะร้อยละ 8.45 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดสน ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอาหารครบมื้อ โภชนาการครบหมู่ สำหรับหนูน้อยปฐมวัย ตำบลวัดสน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2568 เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัย
|
||
2 | เพื่อเฝ้าระวัง ติดตามและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กเล็กโดยผู้ปกครอง
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ
1.๑ ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน คัดเลือกโครงการ
๑.๒ เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเทศบาลตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
๑.๓ ประชุมชี้แจงคณะทำงาน
๑.๔ ประสานงานขอรับการสนับสนุนวิทยากร
๑.๕ จัดเตรียมเอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรม
๑.๖ ดำเนินงาน
ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินงานตามโครงการฯ
๒.๑ จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กเล็ก
- ประเมิน / การบันทึกการเจริญเติบโตโดยการใช้กราฟ จำนวน 1 ชั่วโมง
- ให้ความรู้เรื่องโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 1 ชั่วโมง
- ให้ความรู้เรื่องการจัดอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 1 ชั่วโมง
- ให้ความรู้เรื่องการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโต จำนวน 1 ชั่วโมง
- ให้ความรู้เรื่องการเสริมธาตุเหล็กในเด็กปฐมวัย จำนวน 1 ชั่วโมง
- ให้คำแนะนำทางโภชนาการตามภาวะการณ์เจริญเติบโตเป็นรายบุคคล จำนวน 1 ชั่วโมง
ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล ๓.๑ ประเมินผลจากแบบประเมินความรู้หลังการอบรม ๓.๒ สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคที่พบ
- ผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัย
- เด็กปฐมวัย ได้รับการเฝ้าระวัง ติดตามภาวะโภชนาการ จากผู้ปกครองและได้รับการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2568 00:00 น.