โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งลำไส้ใหญ่
ชื่อโครงการ | โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งลำไส้ใหญ่ |
รหัสโครงการ | 68-L2520-1-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยะหอ |
วันที่อนุมัติ | 1 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 29 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 22,450.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายมะนาเซ นาปี |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางอานีซะห์ บินสะอิ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลแม่ดง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก โดยโรคมะเร็งที่พบ 5 อันดับแรกของโลก ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งลําไส้ใหญ่และไส้ตรง และมะเร็งปากมดลูก ตามลำดับ สำหรับประเทศไทย จากสถิติโรคมะเร็งของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า แต่ละปีมีคนไทยป่วยเป็นมะเร็งรายใหม่ประมาณ 140,000 คน เสียชีวิตประมาณ 83,000 คน โดยโรคมะเร็งที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย 5 อันดับแรก คือ 1.มะเร็งตับและท่อน้ำดี 2.มะเร็งปอด 3.มะเร็งเต้านม 4.มะเร็งเต้านม 5.มะเร็งปากมดลูก จากสถิติโรคมะเร็งของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เผยคนไทยป่วยเป็นมะเร็งรายใหม่ปีละ 1.4 แสนคน เสียชีวิต 8.3หมื่นคน กรมการแพทย์ ระบุ 5 อันดับมะเร็งที่คร่าชีวิตคนไทย คือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเม็ดเลือดขาว พบมากสุดอายุระหว่าง 40-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม การรักษาจึงเป็นไปได้ยากต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง การป้องกัน และควบคุม โรคมะเร็งต้องมีการค้นหาโดยการตรวจเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่ระยะเริ่มแรกและระยะก่อนเป็นมะเร็งโดยเฉพาะโรคมะเร็งที่สามารถค้นหาและตรวจคัดกรองได้ด้วยตนเองเช่นมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ปัญหาโรคมะเร็งจึงจำเป็นต้องมีการบูรณาการความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อหาแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งอย่างเป็นรูปธรรม เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน จากการคัดกรองการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยตนเอง ในปีงบประมาณ 2567 พบว่า สตรีอายุ 30-60 ปี จำนวน 552 คน ได้รับการคัดกรอง 199 คนคิดเป็นร้อยละ 36.05 มีผลการคัดกรองด้วยตนเอง HPV DNA TEST ไม่พบเซลล์ผิดปกติ สำหรับการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ซึ่งมี กลุ่มเป้าหมายในการตรวจคือ ประชากรอายุ 50-70 ปี จำนวน 568 คน ได้รับการคัดกรอง 126 คน คิดเป็นร้อยละ 22.18 พบมีผลบวก จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 2.38 เพื่อให้การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยตนเอง ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่กลุ่มเป้าหมาย ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในถึงขั้นตอน วิธีในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งลำไส้ด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการป้องกันการลุกลามของโรคมะเร็ง ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยะหอ จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ขึ้น เพื่อติดตามกลุ่มเป้าหมาย ให้ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยตนเองอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 22,450.00 | 0 | 0.00 | 22,450.00 | |
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ | 0 | 22,450.00 | - | - | ||
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมลงพื้นที่ | 0 | 0.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 22,450.00 | 0 | 0.00 | 22,450.00 |
1.กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ และมะเร็งอื่นๆที่พบได้บ่อย 2.กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ ด้วยตัวเองได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ3.กลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจผิดปกติ ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2568 00:00 น.