โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเด็กวัยเรียนในการดูแลช่องปาก
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเด็กวัยเรียนในการดูแลช่องปาก |
รหัสโครงการ | L8411-01-68-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำนบ |
วันที่อนุมัติ | 20 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 2 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 11,300.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวอิซตีมา สบาหานาเล๊าะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.355399858,101.3271073place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สุขภาพช่องปากเป็นปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ
โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียนที่อยู่ในช่วงการเจริญเติบโตและพัฒนา เด็กที่มีสุขภาพช่องปากดีจะสามารถพูดและเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้น และพัฒนาการทางด้านการเรียนรู้และการเข้าสังคมที่ดีขึ้นด้วย หนึ่งในปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบมากในเด็กวัยเรียน คือ ฟันผุ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากการสะสมของแบคทีเรียในช่องปากที่มีผลมาจากการบริโภคน้ำตาลและการดูแลช่องปากที่ไม่ดี การไม่แปรงฟันอย่างถูกวิธีหรือไม่แปรงฟันเป็นประจำสามารถทำให้ฟันเกิดการผุได้ง่าย และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพช่องปากในระยะยาว
จากข้อมูลสถานการณ์สภาวะสุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียนปี 2567 พบว่า ปราศจากฟันผุ
(Caries free) ร้อยละ 70.0 โดยเป้าหมายกำหนดไว้ที่ร้อยละ 72 โดยที่จังหวัดยะลาอยู่ที่ร้อยละ 73.52 ในส่วนของอำเภอบันนังสตาอยู่ที่ร้อยละ 76.62 และในเขตพื้นที่รพ.สต.บ้านทำบอยู่ที่ร้อยละ 62.59 จะเห็นได้ว่ามีค่าปราศจากฟันผุน้อยกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำนบ เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพช่องปาก จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเด็กวัยเรียนในการดูแลช่องปาก นำร่องในโรงเรียนบ้านตาเนาะปูเต๊ะเพราะจากการตรวจสุขภาพฟันเด็กวัยเรียนปีที่ 2567 พบเด็กมีปัญหาสุขภาพช่องปากร้อยละ 85 เพื่อให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดียิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เด็กวัยเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปาก
|
||
2 | เพื่อให้ควบคุมโรคในช่องปากและลดอัตราการสูญเสียฟันแท้ในเด็กวัยเรียน
|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 60 | 11,300.00 | 0 | 0.00 | 11,300.00 | |
2 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้ การดูแลสุขภาพช่องปากเด็กกลุ่มวัยเรียน | 60 | 11,300.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 60 | 11,300.00 | 0 | 0.00 | 11,300.00 |
ขั้นเตรียมการ
1. เขียนโครงการและกำหนดแผนปฏิบัติงาน
2. ติดต่อประสานงานโรงเรียน
ขั้นเตรียมการ
1.ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กกลุ่มวัยเรียน
2.อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กกลุ่มวัยเรียน
3.สรุปผลและประเมินผลโครงการฯ
1.เด็กนักเรียนจะเข้าใจถึงความสำคัญของการดูแลฟันและเหงือก
2.เด็กได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟันที่ถูกต้อง
3.เด็กสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพช่องปากในระยะยาว
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2568 11:32 น.