โครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | โครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | L8411-01-68-08 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำนบ |
วันที่อนุมัติ | 20 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 36,268.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางรสนา มะลี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.355399858,101.3271073place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 7 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกกลายเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและการแพทย์ของประเทศเพราะแต่ละปีมีผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจเข้าสู่ภาวะช็อก และทำให้เสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง จากข้อมูกทางระบาดของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 – 2547 ได้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างรุนแรงที่สุด ซึ่งน่าสังเกตว่าในปัจจุบันการระบาดมิได้เกิดเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น แต่ยังควรมีการระบาดได้ทุกฤดูกาล จึงจำเป็นต้องมีการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง โดยการควบคุมพาหนะนำโรคไข้เลือดออกทั้งที่บ้าน โรงเรียน และในชุมชน ซึ่งวิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือการควบคุมจำนวนลูกน้ำยุงลาย โดยการกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้หมดไป และการพ่นสารเคมีควบคุมยุงตัวเต็มวัย ตามมาตรฐานการควบคุมโรคไข้เลือดออก แต่ทั้งนี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน เนื่องจากกิจกรรมส่วนใหญ่ต้องอาศัยชุมชน และเจ้าของอาคาร สถานที่ในการดำเนินการ และความร่วมมือจากหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน
สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ จังหวัดยะลา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา มีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก คือ 282.61 ต่อประชากรแสนคน (จำนวน 1,260 ราย) อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.24 (เสียชีวิต 3 ราย) เมื่อจำแนกอัตราป่วย รายอำเภอ พบว่า อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงที่สุด คือ อำเภอกรงปินัง มีอัตราป่วย 533.02 ต่อประชากรแสนคน (จำนวน 105 ราย) อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.95 (เสียชีวิต 1 ราย) รองลงมา คือ อำเภอรามัน มีอัตราป่วย คือ 476.55 ต่อประชากรแสนคน (จำนวน 370 ราย) อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.54 (เสียชีวิต 2 ราย) และอำเภอกาบัง มีอัตราป่วย 428.52 ต่อประชากรแสนคน (จำนวน 61 ราย) ไม่พบรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก สำหรับในพื้นที่ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ปี 2567 พบว่า มีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก คือ 325.92 ต่อประชากรแสนคน (จำนวน 177 ราย) ไม่พบรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต เมื่อจำแนกอัตราป่วยรายตำบล พบว่า ตำบลที่มีอัตราป่วยสูงที่สุด คือ ตำบลถ้ำทะลุ มีอัตราป่วย 847.46 ต่อประชากร แสนคน (จำนวน 22 ราย) รองลงมา คือ ตำบลเขื่อนบางลาง มีอัตราป่วย คือ 439.20 ต่อประชากรแสนคน (จำนวน 16 ราย) รองลงมา คือ ตำบลตลิ่งชัน มีอัตราป่วย 339.34 ต่อประชากรแสนคน (จำนวน 45 ราย)
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำนบ ปี 2563 - 2567 พบว่า มีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ปี 2563 อัตราป่วย 83.00 ต่อประชากรแสนคน (จำนวน 8 ราย) ปี 2564 ไม่พบรายงานผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ปี 2565 อัตราป่วย 31.13 ต่อประชากรแสนคน (จำนวน 3 ราย) และปี 2566 อัตราป่วย 155.63 ต่อประชากรแสนคน (จำนวน 15 ราย) และปี 2567 อัตราป่วย 176.39 ต่อประชากรแสนคน (จำนวน 17 ราย) ไม่พบรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกอัตราป่วยและการระบาดของโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มระบาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก ทำให้มีการแพร่ระบาดและมีผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
จากปัญหาดังกล่าว การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ได้ส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของคนในชุมชน โดยเฉพาะในเขตพื้นที่รับผิดชอบของตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลาที่มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกทุกปี ดังนั้น การจัดทำโครงการขึ้น เพื่อเป็นการการควบคุมยุงลายในชุมชนไม่ให้มีการแพร่ระบาดเกิดขึ้น และการดำเนินการควบคุมโรคเป็นไปตามมาตรฐาน 3 3 1 ของกรมควบคุมโรค การควบคุมโรคไข้เลือดออกผู้ป่วยรายใหม่ครอบคลุมรอบบ้านผู้ป่วยรัศมี 100 เมตร สามารถหยุดยั้งการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกได้รวดเร็ว และทันเวลา รวมทั้งการให้ความรู้ในเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกกับตนเองได้อย่างถูกต้อง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้อสม.และทีมควบคุมโรคสามารถพ่นหมอกควันได้ทันท่วงที
|
||
2 | เพื่ออัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 20 จากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี
|
||
3 | เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | พ่นหมอกควันในชุมชนและพื้นที่เสี่ยง | 0 | 36,268.00 | - | ||
รวม | 0 | 36,268.00 | 0 | 0.00 |
4.แนวทางการดำเนินงาน
4.1.ประชุมชี้แจงแก่คณะกรรมการพัฒนารพ.สต.บ้านทำนบ ถึงแนวทางการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2568 โดยการประสานแนวคิดร่วมกับชุมชนโรงเรียน มัสยิด อบต.
4.2. มีการจัดตั้งคณะกรรมการและเครือข่ายการดำเนินงานระดับชุมชน ทีม SRRT ตำบล
4.3. การป้องกันและควบคุมโรคทางชีวภาพและทางกายภาพ การป้องกันและควบคุมทางเคมีในหมู่บ้าน โรงเรียน มัสยิด และศูนย์เด็กเล็ก พร้อมสำรวจค่า CI และ ค่า HI
4.4. การสอบสวนโรคเมื่อพบผู้ป่วยทุกรายและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยใช้วิธีกายภาพ ชีวเคมีร่วมกัน ตามความเหมาะสม
4.5. การพ่นหมอกควันในชุมชนโดยเฉพาะในชุมชนพื้นที่เสี่ยง และบ้านผู้ป่วยรายใหม่ครอบคลุมรัศมี 100 เมตร พร้อมสนับสนุนทรายอะเบท สเปรย์กำจัดยุง และโลชั่นทากันยุง
4.6. เน้นกิจกรรมให้สุขศึกษาให้ความรู้ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการกำจัดลูกน้ำยุงลายด้วยวิธีทางกายภาพ ชีวภาพและเคมี
1.อสม.และทีมควบคุมโรคสามารถพ่นหมอกควันได้ทันท่วงที
2.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ20 จากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี
3.ประชาชนมีความรู้ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก มีพฤติกรรมที่ดีในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน ชุมชน หมู่บ้าน โดยประชาชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2568 11:33 น.