โครงการป้องกันและเฝ้าระวังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและเฝ้าระวังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | L8411-01-68-09 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกม.26 |
วันที่อนุมัติ | 20 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 16,440.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวรอยมี่ ยะผา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.355399858,101.3271073place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 644 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ สามารถดูแลตนเองโดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคม และภูมิปัญญาชุมชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมในพื้นที่ในระดับท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรง ส่วนหนึ่งนั้น โดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคอัมพฤกษ์ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรอง ค้นหา ผู้ป่วยในชุมชน และให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทาน ผักผลไม้ให้เพิ่มขึ้น มีการออกกำลังกายเป็นประจำ ลดภาวะน้ำหนักเกิน การดำเนินงานได้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน นั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่ จากการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ในปี 2567 เป็นเป้าหมายประชากร 35 ปีขึ้นไป จำนวน 624 คน คัดกรองได้ 595 คน คิดเป็นร้อยละ 95.35 พบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวานจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 0.48 กลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 0.48 ผู้ป่วยรายใหม่ 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.16 และพบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 6.41 กลุ่มสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.32 ผู้ป่วยรายใหม่ 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.32 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกม.26 มุ่งหวังผลเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จึงได้จัดโครงการป้องกันและเฝ้าระวังโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงปี 2568 ขึ้น โดยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างความร่วมมือ และพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอัตราเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ เพื่อให้การรักษาในระยะเริ่มต้นอย่างทันท่วงที
|
||
2 | เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องห่างไกลจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
|
||
3 | เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ที่ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 16,440.00 | 0 | 0.00 | 16,440.00 | |
1 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | ประชุมชี้แจง อสม. เกี่ยวกับความรู้การตรวจคัดกรองหากลุ่มเสี่ยงโรคความดันและเบาหวาน | 0 | 12,240.00 | - | - | ||
1 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงปี 2567 | 0 | 4,200.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 16,440.00 | 0 | 0.00 | 16,440.00 |
- วิธีดำเนินการ
- ประชุมชี้แจง อสม. ในเรื่องโครงการและแนวทางการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง
- อสม. คัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
- ประชาสัมพันธ์เพื่อขอความร่วมมือสร้างกระแสในการสร้างสุขภาพ
- แกนนำ อสม. ตรวจคัดกรองประชาชน 35 ปีขึ้นไป โดยใช้แบบบันทึกการตรวจคัดกรองความเสี่ยง
- นำกลุ่มเสี่ยงที่เคยได้รับการตรวจคัดกรองเมื่อปี 2567 เข้ารับการอบรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะการเกิดโรคติดต่อเรื้องรัง
- เพื่อลดอัตรากลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไป มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง สามารถป้องกันตัวเองจากโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานได้
- เพื่อให้เกิดเครื่องข่ายการทำงานในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อในชุมชนมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากภาคีประชาชนเพื่อให้การแก้ปัญหามีความมั่นคงและยั่งยืน
- เกิดการส่งเสริมสุขภาพตามการดำเนินชีวิตของประชาชนและประชาชาติอิสลามที่มีความสมบูรณ์แบบ ทันสมัยและได้ผล
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2568 11:34 น.