โครงการฝากครรภ์คุณภาพ ครอบครัวสุขภาพดี ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการฝากครรภ์คุณภาพ ครอบครัวสุขภาพดี ปี 2568 |
รหัสโครงการ | L8411-01-68-12 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกม.26 |
วันที่อนุมัติ | 20 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 10,250.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวฟาฎีละห์ มะเระ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.355399858,101.3271073place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เป้าหมายสูงสุดของงานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญประการหนึ่ง คือ เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อน มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ต่อเนื่องถึงการให้การดูแลเด็กในช่วงปฐมวัยเพื่อให้เด็กเจริญเติบโตและมีพัฒนาการอย่างองค์รวมทั้งสุขภาวะทางกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ซึ่งปัจจัยสำคัญประการหนึ่งเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวคือการได้รับบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพ ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตัวในด้านสุขภาพที่ดี ได้แก่ ภาวะโภชนาการ การดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ กิจกรรมทางด้านร่างกาย และการออกกำลังกาย การละเว้นจากบุหรี่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือยาอื่นๆในขณะตั้งครรภ์ การยอมรับและจัดการกับอารมณ์ที่เหมาะสม ลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์เช่น ภาวะขาดสารอาหาร โลหิตจาง ขาดไอโอดีนและพลังงาน ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย (น้อยกว่า 2500 กรัม) ทารกพิการแต่กำเนิดรวมทั้งการคลอดตาย จากการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ปี 2567 พบว่าหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ทั้งหมดจำนวน 32 คน มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ (Early ANC) จำนวน 28 คิดเป็นร้อยละ 81.25 มาบริการฝากครรภ์ อย่างน้อย 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 90.38 ซึ่งส่วนนี้จะทำให้ จนท.สาธารณสุขดูแลปัจจัยเสี่ยงต่างๆระหว่างการตั้งครรภ์ได้ดียิ่งขึ้น สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความเสี่ยง ได้พบแพทย์ร้อยละ 100 ปี 2567 พบหญิงคลอดทั้งหมด 23 คน ทุกคนคลอดในสถานบริการ คิดเป็นร้อยละ 100 แต่มีรายงานพบภาวะซีดใกล้คลอด จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 13.04 ซึ่งเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดในช่วงคลอด แต่ไม่พบรายงานมารดาตาย และมารดาหลังคลอดที่มีเสี่ยงต่อการกำเนิดทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ต่ำกว่า 2500 กรัม) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ สติปัญญา และการเรียนรู้ของเด็กต่ำไปด้วย มีรายงานพบทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 4.35 แต่ไม่พบทารกคลอดตาย จะเห็นได้ว่ายังพบปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการเสียชีวิตทั้งแม่และลูกอยู่ ประกอบกับหญิงตั้งครรภ์รายใหม่มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพตำบลบ้านกม.26จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 80
|
||
2 | เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครรภ์ตามมาตรฐาน
|
||
3 | เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อมารดา และทารกในครรภ์
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 - 30 มิ.ย. 68 | อบรมให้ความรู้ | 50 | 10,250.00 | - | ||
รวม | 50 | 10,250.00 | 0 | 0.00 |
1.จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน
2.ติดตามหญิงตั้งครรภ์ และหลังคลอดที่มีภาวะเสี่ยง
3.ติดตาม และประเมินผลโครงการ
- หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ และเกิดความตระหนักในการเข้ารับการตรวจครรภ์ ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
และต่อเนื่อง โดยไม่พบภาวะเสี่ยงหรือภาวะลดลง 2. หญิงตั้งครรภ์ที่ตรวจพบภาวะเสี่ยงได้รับการส่งต่อเพื่อรับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ลดภาวะเสี่ยงของแม่และทารก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2568 11:35 น.