โครงการควบคุมการระบาดโรคไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | โครงการควบคุมการระบาดโรคไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | L2975 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลโคกโพธิ์(กลุ่มองค์กร อสม.รพ.สต.บ้านสามยอด) |
วันที่อนุมัติ | 27 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 42,150.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอารง สตาปอ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.732,101.061place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 70 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยมาโดยตลอด เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมีความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยรณรงค์ป้องกันและควบคุมทุกครั้งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนแต่ก็ยังพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนักยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศ ตำบลบ้านโคกโพธิ์ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่องในส่วนพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านสามยอดมีจำนว 6 หมู่บ้าน การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มีนาคม-พฤศจิกายน ของทุกปีซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรคจะเกิดขึ้นได้ทั้งในชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนต่างๆด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้ง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาและความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเองพร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกคนไม่ว่าในเรื่องพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมรอบๆบ้านขยะมูลฝอยดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชนตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างบุคคลในครัวเรือน ชุมชนมัสยิดโรงเรียน2.เพื่อให้ทุกฝ่ายในชุมชนมีความเข้าใจตระหนักถึงความรุนแรงของไข้เลือดออกและเห็นความสำคัญของการควบคุมและป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก3.เพื่อลดความชุกชมของลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก-สถานบริการสาธารณสุข ศพด โรงเรียน มีค่า CIเท่ากับ0-ครัวเรือนในชุมชนร้อยละ80มีค่า HIน้อยกว่าหรือเท่ากับ204.เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
กิจกรรมที่ ๑ อบรมให้ความรู้ ๑. จัดประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนการดำเนินโครงการและชี้แจงแนวทางการประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออกโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ก่อนลงสำรวจตามหมู่บ้าน ๑๒ จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ที่ต้องใช้ในกิจกรรมรณรงค์ สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ กิจกรรมที่ ๒ ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์รณรงค์และลงสำรวจลูกน้ำยุงลาย ๖ หมู่บ้าน .๑ ประสานงานผู้นำชุมชน / สมาชิก อบต. / อส.ม. / โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในพื้นที่เพื่อเข้าร่วม กิจกรรมในครั้งนี้ ๒.๒ ประชาสัมพันธ์ จัดตารางลงพื้นที่ตามหมู่บ้าน๖ หมู่ เขตรับผิดชอบของ รพ.สต.สามยอด ตามกำหนดการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่รับผิดชอบ ร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และประเมินค่า CI และ HI โดย อสม. กิจกรรมดังนี้ - สร้างกระแสการใช้วัสดุที่มีในบ้านหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นในการควบคุมลูกน้ำ และตัวแก่ยุงลาย เพื่อตัด วงจรการแพร่ระบาดของโรค เช่น ตะไค้รหอม ใบมะกรูด - จดบันทึกการสำรวจในสมุดบันทึก และส่งรายงานผ่านแอปของกรม พร้อมรายงานต่อเจ้าหน้าที่กิจกรรมที่ ๓ กิจกรรมควบคุมป้องกันพ่นหมอกควัน 6 หมู่บ้าน ๓. พ่นหมอกควันแบบปูพรหมทั้ง 6 หมู่บ้าน จำนวน 1 ครั้ง โดยมือพ่นผ่านอบรม ๓๒ พ่นหมอกควันแบบชนิดเคสต่อเคส และรอบข้างอีก 100 เมตร จำนวน 2 ครั้ง (กิจกรรมทั้งปีงบประมาณ) กิจกรรมที่ ๔ ติดตามการสำรวจลูกน้ำและสรุป ๔.๑ ติดตามสำรวจลูกน้ำยุงลาย ประเมิน ค่า CI,HI สลับหมู่บ้าน หลังจากการสำรวจครบ จำนวน ครั้ง ๔๒ รายงานแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อบต. และแนวทางการแก้ปัญหาต่อไป จากประสบการณ์ที่ผ่านมา
- เกิดความร่วมมือระหว่างบุคคลในครัวเรือน ชุมชน และโรงเรียน
- ทุกฝ่ายในชุมชน มีความเข้าใจ ตระหนักถึงความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก และเห็นความสำคัญของการควบคุมและป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก
- ความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย ที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ในชุมชนลดลง
- อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ให้ลดลงจากค่ามาตรฐาน๕ ปี ย้อนหลัง หรือไม่เกิน๕๐ ต่อแสนประชากร
- แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในชุมชน วัด โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ถูกกำจัด สภาพแวดล้อมได้รับการปรับปรุง ไม่ให้เอื้อต่อการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2568 15:52 น.