โครงการ "คัดกรอง และเสริมสร้างความรู้ผู้สูงวัยป้องกันภาวะสมองเสื่อม ปี 2568"
ชื่อโครงการ | โครงการ "คัดกรอง และเสริมสร้างความรู้ผู้สูงวัยป้องกันภาวะสมองเสื่อม ปี 2568" |
รหัสโครงการ | L2542-2568-03-20 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาคุณภาาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ |
วันที่อนุมัติ | 12 มิถุนายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 11,189.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายมะดาโอะ ตาเล๊ะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสากอ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโครงสร้างประชากรของประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ และสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในภาวะเช่นนี้คือ การเตรียมพร้อมเพื่อการป้องกันการเกิดโรคภัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมาพร้อมๆ กับอายุที่ยืนยาวขึ้น และหนึ่งในโรคที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ คือโรคสมองเสื่อม ซึ่งเป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับอายุที่มากขึ้น
โรคสมองเสื่อมเป็นความผิดปกติที่สมองทำงานด้อยลงจากเดิมจนมีผลกระทบต่อการทำงานหรือ การใช้ชีวิตประจำวันของบุคคลนั้นๆ และทำให้ความรอบรู้ ความเฉลียวฉลาด ความคิด การตัดสินใจ เปลี่ยนแปลงไปในทางลดลง นอกจากนี้ปัญหาสำคัญที่พบในผู้ป่วยสมองเสื่อมมี 2 ประการ คือ ปัญหาความจำและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ซึ่งพบว่าผู้ป่วยจะมีการสูญเสียความจำระยะสั้นก่อนแล้วจึงสูญเสียความจำระยะยาว ตลอดจนความสามารถในการตัดสินใจทำให้เป็นภาระแก่ผู้ดูแลและครอบครัวที่ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ จากปัญหาดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแลอย่างมากในหลายด้าน โดยเฉพาะทางด้านจิตใจเพราะทำให้เกิดความเครียดที่ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต จนบางครั้งอาจเกิดภาวะซึมเศร้าได้ในบางราย
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุได้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา จากโรคสมองเสื่อม จึงได้จัดทำโครงการ “ผู้สูงวัย ห่างไกลสมองเสื่อม” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมและมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม |
70.00 | 60.00 |
2 | 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุทราบถึงแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม ผู้สูงอายุทราบถึงแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม |
70.00 | 60.00 |
3 | 3. เพื่อเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกัน สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกัน |
70.00 | 60.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 11,189.00 | 0 | 0.00 | |
1 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 1 1 ทำแบบประเมินความรู้ก่อนการอบรม 2 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม ได้แก่ สาเหตุ อาการ การป้องกันภาวะสมองเสื่อม 3 กิจกรรมกลุ่มในหัวข้อ เรื่อง รู้เร็วรู้ทัน ป้องกันและห่างไกลสมองเสื่อม - ฝึกทักษะบริหารสมองด้วยเกมส์ต่างๆ เพื่อกระตุ | 0 | 11,189.00 | - |
- ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม
- ผู้สูงอายุทราบถึงแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม
- มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรรมและได้พบปะพูดคุยใกล้ชิดกัน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2568 00:00 น.