กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแยกขยะ สร้างคุณธรรม ช่วยสิ่งแวดล้อม สู่สุขภาพที่ยั่งยืน
รหัสโครงการ 68-L5292-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านทุ่งบุหลัง
วันที่อนุมัติ 20 พฤษภาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 พฤษภาคม 2568 - 30 กรกฎาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิตยา จิ้วจวบ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งบุหลัง อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.034567,99.685949place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 16 พ.ค. 2568 30 ก.ค. 2568 8,000.00
รวมงบประมาณ 8,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 69 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตคนในชุมชน การจัดการขยะอย่างไม่ถูกวิธี เช่น การทิ้งขยะในที่สาธารณะ หรือการกำจัดขยะด้วยวิธีเผาไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ดิน และน้ำ นอกจากนี้ยังสร้างผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในระยะยาว ทั้งโรคติดเชื้อและโรคที่เกิดจากสารเคมี ซึ่งในปัจจุบันมีปริมาณขยะเกิดขึ้นในโรงเรียนและชุมชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งประกอบด้วย ขยะอินทรีย์ได้แก่ เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ ฯลฯ และขยะรีไซเคิล ได้แก่ ขวดน้ำ ขวดแก้ว กล่องนม ขวดน้ำผลไม้ ฯลฯ และขยะทั่วไป ได้แก่ ถุงพลาสติก ถุงนม ฯลฯ ขยะอันตราย ได้แก่ หลอดไฟแบบต่างๆ ถ่านไฟฉาย กระป๋องสเปรย์ ฯลฯ จากการสำรวจนักเรียนที่สามารถแยกขยะได้อย่างถูกวิธี คิดเป็นร้อยละ 20 ของนักเรียนทั้งหมด จากการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ส่งผลต่อสุขภาพของนักเรียน และเป็นแหล่งที่มาของการเกิดโรคต่างๆ ที่มาจากขยะ       โรงเรียนบ้านทุ่งบุหลัง ในฐานะศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน มีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมให้แก่นักเรียน จึงเล็งเห็นความสำคัญในการให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางให้กับนักเรียนและชุมชน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดปริมาณขยะ และปัญหาขยะที่ตกค้างในโรงเรียนและชุมชนได้ อีกทั้งยังเป็นการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดการใช้พลังงานและลดมลพิษที่จะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่นักเรียนในโรงเรียน จะร่วมมือกันลดและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น ด้วยการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี และนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และเพื่อสร้างชุมชนที่ปลอดขยะ สะอาด และมีสุขภาวะที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดปริมาณขยะในโรงเรียนและชุมชน 2. นักเรียน มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและโรคที่มาจากขยะเพิ่มขึ้น
  1. ร้อยละ 70 ของโรงเรียนและชุมชนมีปริมาณขยะลดลง
  2. นักเรียนร้อยละ 80 สามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกวิธี
  3. ร้อย 80 นักเรียน ศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและโรคที่มากับขยะเพิ่มขึ้น
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นตอนการวางแผนและจัดตั้งคณะทำงาน

- แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ ประกอบด้วย ครู นักเรียน
- กำหนดบทบาทหน้าที่คณะทำงานแต่ละฝ่าย 2. ขั้นตอนการสำรวจสถานการณ์ - สำรวจปริมาณและประเภทของขยะในโรงเรียนและชุมชน - วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากขยะ เช่น แหล่งเพาะพันธุ์โรค หรือปัญหามลพิษ 3. ขั้นตอนกำหนดแนวทางและเป้าหมาย - ตั้งเป้าหมายการลดปริมาณขยะในโรงเรียนและชุมชน เช่น ลดขยะ 30 % - วางแผนการจัดการ เช่น การคัดแยกขยะ การรีไซเคิล การทำปุ๋ยหมัก 4. ขั้นตอนการให้ความรู้ และสร้างจิตสำนึก - จัดกิจกรรมอบรมและให้ความรู้ เรื่องการจัดการขยะ เช่นการคัดแยกขยะและการรีไซเคิล - เชิญวิทยากรจากหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมมาให้ความรู้ - รณรงค์ผ่านสื่อ เช่น ป้ายประชาสัมพันธ์ในโรงเรียน 5. ขั้นตอนดำเนินกิจกรรมการจัดการขยะ - ติดตั้งถังขยะสำหรับแยกประเภท เช่น ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล ขยะอินทรีย์ - ส่งเสริมการนำขยะมาสร้างสรรค์ เป็นสิ่งประดิษฐ์หรือสินค้า เช่น กระถางต้นไม้จากผ้าขนหนู ขวดพลาสติก 6. ขั้นตอนการเชื่อมโยงกับชุมชน - จัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน เช่น การเก็บขยะในพื้นที่สาธารณะ 7. ขั้นตอนการติดตาม ขยายผล และประเมินผล - ตรวจสอบผลการลดปริมาณขยะในโรงเรียนและชุมชน - จัดประชุมสรุปผล พร้อมปรับปรุงแนวทางการดำเนินงาน จัดทำรูปเล่ม - เผยแพร่ข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์และเครือข่ายโรงเรียน - สนับสนุนการทำงานอย่างต่อเนื่อง ความยั่งยืนในระยะยาว

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนศึกษา สามารถคัดแยกขยะ นำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่และปริมาณขยะในชุมชน และโรงเรียนลดลง
  2. นักเรียน มีระบบการจัดการขยะอย่างถูกวิธี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2568 11:27 น.