กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการใส่ใจสุขภาพคุ้มครองผู้บริโภค ต.ศาลาใหม่ ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L2487-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่
วันที่อนุมัติ 31 ตุลาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 35,110.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปัญญาอิสลามกุล
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะยูนัน มามะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.282,102.008place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภารกิจงานคุ้มครองผู้บริโภค ประกอบด้วยการควบคุมมาตรฐานสถานประกอบการ การเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพหลังวางจำหน่ายการพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคและผู้ประกอบการรวมถึงการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่าย ซึ่งในปี 2560 ได้มีการจัดให้มีกิจกรรมในระดับ คปสอ.ตากใบ (คณะกรรมการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขอำเภอตากใบ) เช่น การอบรมอย.น้อยระดับอำเภอ การสอบตรวจมาตรฐาน Primary GMP ในกลุ่มผู้ผลิตขนาดเล็ก การตรวจสอบมาตรฐานร้านชำ การตรวจสอบมาตรฐานกลุ่มผู้ผลิตน้ำดื่ม ฯลฯ ซึ่งในตำบลศาลาใหม่มีกลุ่มผู้ผลิตขนาดเล็กระดับชุมชนได้รับเลขสารบบอาหาร และได้รับการรับรองสัญลักษณ์ อย. ฮาลาล และมผช. ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน ปูลารุงอรุ่ง (ขนมพื้นเมือง) และกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ไข่เค็มบ้านโคกมะเฟือง จากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ ในปี 2560 ยังพบปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่ การขายยาอันตรายในร้านชำ อาหารฉลากไม่ครบถ้วน อาหารไม่มีฉลาก ไม่มีการควบคุมการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ฯลฯ ทำให้ความสำเร็จในการดำเนินงานยังน้อย เช่น ร้านชำที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานถึง พบถึง 44 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 74.57 (จากทั้งหมด 59 ร้านโดยประเมินตามเกณฑ์แบบตรวจ รช.นธ.1) ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่าย ยังส่วนใหญ่ยังไม่ผ่านด้านกายภาพและยังพบการสูบบุหรี่ การดำเนินกิจกรรม อย.ในโรงเรียนไม่มีความต่อเนื่อง รวมไปถึงการปฏิบัติตามกฎหมายในการคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะยังไม่เป็นรูปธรรมในหลายๆ ภาคส่วน สิ่งเหล่าจะส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนโดยตรงเนื่องจากประชาชนเป็นผู้บริโภค จึงจำเป็นจะต้องมีการควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ต่างๆ และสร้างให้เกิดความร่วมมือของเครือข่ายต่างๆในพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดมาตรฐานที่ดี ที่จะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี ปลอดโรคอย่างยั่งยืน ดังนั้น เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาข้างต้นและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ร้านอาหาร ร้านค้า และกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ มีมาตรฐาน

ร้านชำผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มากกว่าร้อยละ 40

15.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเกิดความตระหนักในการร่วมสร้างสุขภาพอนามัยที่ดีของประชาชนในชุมชน

ร้านชำผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มากกว่าร้อยละ 40

22.00
3 เพื่อให้มีการคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะอย่างเป็นรูปธรรม

สถานที่สาธารณะตามกฎหมายได้รับการจัดเป็นเขตปลอดบุหรี่ ร้อยละ 100

0.00
4 เพื่อพัฒนาและส่งเสริมเครือข่าย อย.น้อย ในโรงเรียน

ระดับความสำเร็จของการดำเนินงาน อย.น้อย มากกว่าระดับ 3 อย่างน้อย 2 โรงเรียน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 6,510.00 2 31,410.00
9 เม.ย. 61 กิจกรรมรณรงค์จัดสถานที่สาธารณะเป็นเขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย 0 5,010.00 5,010.00
20 เม.ย. 61 กิจกรรมรณรงค์จัดสถานที่สาธารณะเป็นเขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย 0 1,500.00 26,400.00

ขั้นที่ 1 เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ 1. สำรวจกลุ่มเป้าหมายให้เป็นปัจจุบัน 2. จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนออนุมัติ 3. ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนกลุ่มเป้าหมาย และติดตามกลุ่มเป้าหมาย ขั้นที่ 2 ดำเนินการตามโครงการ 4. ตรวจประเมินร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร ในพื้นที่ทุกร้าน จำนวน 27 ร้าน 5. ตรวจประเมินร้านชำทุกร้าน จำนวน 59 ร้าน 6. จัดกิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการและทดสอบความรู้ก่อนและหลังประชุมฯ จำนวนทั้งหมด 61 คน ดังนี้ - ประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องมาตรฐานสุขาภิบาลร้านอาหาร/แผงลอย/ร้านก๋วยเตี๋ยว ในกลุ่มตัวแทนผู้ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร จำนวน 15 คน (ทั้งร้านเก่าและร้านใหม่จากจำนวนทั้งหมด 27 ร้าน) - ประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องเกณฑ์มาตรฐานร้านขายของชำ ในกลุ่มตัวแทนผู้ประกอบการร้านขายของชำ จำนวน 27 คน (เป็นกลุ่มตัวแทนร้านชำที่ไม่ผ่านมาตรฐานตามประเมิน รช.นธ.1 จากทั้งหมด จำนวน 44 ร้าน) - ประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องการฟื้นฟูศักยภาพการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน เช่นฉลากอย. การเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าอุปโภคบริโภค ยาสูบ/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ ในกลุ่มแกนนำนักเรียน อย.น้อย จำนวน 24 คน (จาก 4 โรงเรียน คือโรงเรียนวัดโคกมะเฟือง, โรงเรียนบ้านศาลาใหม่, โรงเรียนบ้านคลองตัน, โรงเรียนบ้านปูลาเจ๊ะมูดอ) 7. รณรงค์จัดสถานที่สาธารณะเป็นเขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย - จัดทำสติ๊กเกอร์ปลอดบุหรี่ในสถานที่สาธารณะสำหรับให้ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร สำหรับติดที่ร้านทุกร้าน (27 ร้าน) จำนวน 108 แผ่น
- จัดทำสติ๊กเกอร์การขายบุหรี่ตามกฎหมายฯ และตามมาตรฐาน เกณฑ์ รช.นธ.๑ สำหรับติดที่ร้านชำทุกร้าน (59 ร้าน) จำนวน 59 แผ่น - จัดทำป้ายสติ๊กเกอร์อะคริลิก “สถานที่สาธารณะปลอดบุหรี่” สำหรับติดที่สถานที่สาธาณะในตำบลศาลาใหม่ทั้งหมด 12 แห่ง (ประกอบด้วยโรงเรียน 5 แห่ง, มัสยิด 5 แห่ง, วัด 2 แห่ง) ติดตั้งในอาณาเขตบริเวณขององค์กรนั้นๆ จำนวน 12 ป้าย ขั้นที่ 3 สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล 8. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ และรายงานผลตามโครงการให้ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบ ขั้นที่ 4 การประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง ๙. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการดูฉลากอาหาร ความรุนแรงจากใช้ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการที่เป็นผู้จำหน่ายและผู้ผลิต มีการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานมากขึ้น
  2. ประชาชนได้รับความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในการเลือกซื้อสินค้าในการอุปโภคบริโภค
  3. สามารถบังคับการใช้กฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภค และคุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2561 11:00 น.