โครงการแก้ไขปัญหาโภชนาการหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ตำบลตะบิ้ง ประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการแก้ไขปัญหาโภชนาการหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ตำบลตะบิ้ง ประจำปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง |
วันที่อนุมัติ | 10 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 27 พฤษภาคม 2568 - 28 พฤษภาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 48,370.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวสูซานา ดือราแม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ณ องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง ตำบลตคะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 53 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
บทบาทและภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และแก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2552 องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ตามมาตรา 67 ข้อ 6ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ และพระราชบัญญัติ กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 หมวด ๒ การกําหนดอํานาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้ (๑๐) การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรีคนชรา และผู้ด้อยโอกาส
ระยะตั้งครรภ์ เป็นจุดเริ่มต้นที่มีความสำคัญสำหรับการให้กำเนิดทารก ให้มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา แม้ว่าการตั้งครรภ์ของสตรีจะเป็นภาวะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่ก็เป็นภาวะที่หญิงตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม บางคนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองในขณะตั้งครรภ์ ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีสุขภาพที่ดี แต่บางคนขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพในขณะตั้งครรภ์ ส่งผลให้บางคนมีภาวะโภชนาการต่ำ เป็นปัญหาสำหรับเด็กแรกเกิด ทำให้มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่หญิงตั้งครรภ์ต้องได้รับการดูแลในเรื่องการรับประทานอาหารและอาหารเสริมโปรตีน ซึ่งจะช่วยเพิ่มภาวะโภชนาการให้อยู่ในเกณฑ์ปกติทั้งหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของระยะการตั้งครรภ์ ลดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด อันส่งผลให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย เด็กมีพัฒนาการสมวัย และเติบโตไปเป็นประชากรที่มีคุณภาพ ดังนั้นกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง จึงได้จัดทำ“โครงการแก้ไขปัญหาโภชนาการหญิงครั้งครรภ์ องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง” ขึ้นโดยขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้งเป็นเงิน 48,370.-บาท (เป็นเงินสี่หมื่นแปดพันสามร้อยเจ็ดสิบบาทถ้วน-)
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 48,370.00 | 0 | 0.00 | |
27 - 28 พ.ค. 68 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพแก่ผู้เข้าร่วมโครงการรายใหม่ | 0 | 45,720.00 | - | ||
2 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ | 0 | 2,650.00 | - |
- หญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์และฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพ
- หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ ความเข้าใจ และประเมินภาวะแทรกซ้อน หรืออาการผิดปกติที่ควรไปพบแพทย์ได้
- หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโภชนาการที่เหมาะสมตรวจไม่พบภาวะซีดหรือโลหิตจาง
- ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักมากกว่า 2,500กรัม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2568 14:10 น.