โครงการสร้างความรอบรู้โรคติดต่อในชุมชน
ชื่อโครงการ | โครงการสร้างความรอบรู้โรคติดต่อในชุมชน |
รหัสโครงการ | 68-L7251-01-11 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดสน |
วันที่อนุมัติ | 15 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 30 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 15,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางดวงใจ แก้วจันทร์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
บุคคลที่ได้รับการสร้างเสริมให้มีความรอบรู้ทางสุขภาพ (Health Literacy) จะสามารถจัดการตนเอง ครอบครัว และชุมชนด้านการป้องกันควบคุมโรคได้อย่างเชี่ยวชาญและมีประสิทธิภาพ โดยการสนับสนุน ทางวิชาการ องค์ความรู้ และเทคโนโลยีที่มีมาตรฐาน การแสวงหาและเข้าถึงข้อมูล ความรู้แนวทางปฏิบัติที่จำเป็นทางสุขภาพ เพื่อสร้างความเข้าใจและประเมินข้อมูลข่าวสารความรู้ที่ได้รับ รวมทั้งสังเกตความเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมและสุขภาพอยู่เสมอ เพื่อใช้ประกอบการ ตัดสินใจ เพื่อให้มีพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคที่ถูกต้อง มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีการสื่อสารอย่าง เหมาะสม รู้เท่าทัน สามารถตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ ได้ดีและนำแนวทางการปฏิบัติตัวไปใช้พัฒนา พฤติกรรมสุขภาพของตนเอง โดยบูรณาการและสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานและภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก ในปี 2565 พบว่าตำบลวัดสน เกิดโรคไข้เลือดออกระบาดเป็นอันดับ 1 ของอำเภอระโนด ซึ่งมีผู้ป่วยสะสม จำนวน 31 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 60.50 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขกำหนด ให้มีอัตราป่วยไม่เกิน 50.00 ต่อประชากรแสนคน จากสถานการณ์ข้างต้น การสร้างความรอบรู้ให้แก่ประชาชนต้องดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดสน จึงได้จัดทำโครงการสร้างความรอบรู้โรคติดต่อในชุมชนตำบลวัดสน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เพื่อให้ประชาชนมีศักยภาพและทักษะในการป้องกันควบคุมโรค รวมทั้งให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรคได้อย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้แกนนำสุขภาพประจำบ้านมีความรู้ มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้
|
||
2 | เพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อมในการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรค
|
||
3 | เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
|
๒.๑ ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผน คัดเลือกโครงการ เขียนโครงการ
๒.๒ ดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการตามกำหนด/รายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารทราบ
- ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโรคติดต่อและการดูแลสุขภาพที่ทันเหตุการณ์ สามารถดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และคนชุมชนได้
- ชุมชนมีความพร้อมในการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรค
- ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ ลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค ร่วมป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2568 00:00 น.