โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ แค่ปรับ ขยับก็สุขภาพดีได้
ชื่อโครงการ | โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ แค่ปรับ ขยับก็สุขภาพดีได้ |
รหัสโครงการ | 68-L7251-01-13 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อตรุ |
วันที่อนุมัติ | 15 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 30 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 18,900.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวเสาวนีย์ คงดี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันพบความชุกของโรคเบาหวานความดัน ในพื้นที่ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี กล่าวคือ ผู้ป่วยสะสมด้วยความดันโลหิตสูง 1,194 คน ( คิดเป็นร้อยละ 30.94 ของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป) , เบาหวาน 518 คน ( คิดเป็นร้อยละ 13.42 ของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป) จากการจัดลำดับผู้มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อตรุ พบว่า อันดับที่ 1 และ 2 ที่มารับบริการสูงสุดคือ ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ตามลำดับ และในปีงบประมาณ 2568 ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อตรุ ได้ดำเนินการคัดกรองโรคเบาหวาน สำหรับประชาชนทั่วไป(ไม่รวมกลุ่มป่วย) เปรียบเทียบปี 2567 – 2568 พบว่า กลุ่มปกติ 2,689 ราย(97.57 %) , 2,576 ราย (77.90%) , กลุ่มเสี่ยง 567 ราย(17.21%) 672 ราย (91.92%), สงสัยป่วย38 ราย (1.15%), 54 ราย (91.52%), และในจำนวนสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยเป็นเบาหวานจำนวน 10ราย (26.32%)5 ราย (8.47 %), การคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง สำหรับประชาชนทั่วไป(ไม่รวมกลุ่มป่วย) จำนวน 2,672 ราย (คิดเป็น 97.16%) เปรียบเทียบปี 2567 – 2568 พบว่า กลุ่มปกติ 2,689 ราย(97.61%),1,999 ราย (74.81%), กลุ่มเสี่ยง 183 ราย(6.79%),640 ราย (23.95%), กลุ่มสงสัยป่วย 279 ราย(11.02%), 346 ราย (54.06)% และในจำนวนสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยเป็นความดันโลหิตสูงจำนวน 10 ราย(0.28%) เมื่อดูแนวโน้มกลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มสงสัยป่วย และกลุ่มป่วย พบแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น การสร้างความตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการป่วยจึงเป็นสิ่งสำคัญ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ลงได้
|
||
2 | กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน สามารถควบคุมน้ำตาลได้ และกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตได้
|
||
3 | กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
|
๑.รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลจำนวนประชากรที่มีอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป วางแผนและออกแบบกิจกรรมดำเนินงาน
๒.เขียนโครงการ
๓.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๔.ดำเนินการตามโครงการ
๔.๑ ชี้แจงโครงการและเผยแพร่ในเรื่องการตรวจสุขภาพ/วัดรอบเอว /วัดความดันโลหิต การตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดและการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
๔.๒ จัดทำเอกสารแบบคัดกรองสุขภาพและแบบคักรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
๔.๓ ออกตรวจคัดกรองสุขภาพ/วัดรอบเอว/คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตามมาตรฐาน จำนวน 5 หมู่บ้าน
4.4 จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง
๔.5 จัดตั้งคลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง
๔.6 กลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน(ตรวจติดตามน้ำตาล FBS และ วัดความดันโลหิตสูง ในช่วงดำเนินกิจกรรม 3 เดือน , 6 เดือน)
5. ประเมินผลโครงการ
1 ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง กับการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ตามหลัก 3อ 2ส เพื่อใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 กลุ่มเสี่ยง และเสี่ยงสูง เมื่อเข้าคลินิก สามารถดูแลสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่เป็นกลุ่มป่วย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2568 00:00 น.