NCDs Remission Clinic ลดยาลดโรคในผู้ป่วยเบาหวาน ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | NCDs Remission Clinic ลดยาลดโรคในผู้ป่วยเบาหวาน ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | L5300-68-1-6 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด |
วันที่อนุมัติ | 15 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 51,540.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางกาญจนรัตน์ วิริยะสุข |
พี่เลี้ยงโครงการ | - |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.625,100.12place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคเบาหวานเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย เพราะ เป็นหนึ่งในห้าของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดปัจจุบันผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยมีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2563 มีความชุกร้อยละ 9.5 และมีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่มากกว่า 300000(สามแสน) รายต่อปีคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2588 จะมีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็น 783 ล้านคน ด้วยเหตุที่จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี แต่ทรัพยากรด้านสาธารณสุข ตลอด ถึงเวลาในการให้บริการ มีอย่างจำกัด ทำให้ประสิทธิภาพในการให้บริการไม่เต็มที่ ผู้ป่วยขาดทักษะด้านการจัดการตนเอง ควบคุมโรคได้ไม่ถูกต้อง ทำให้กลุ่มป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อน จนถึงพิการหรือเสียชีวิตเพิ่มขึ้นการจัดระบบการดูแลให้เกิดประสิทธิภาพ มุ่งหวัง “ เบาหวานสงบ “เบาหวานหายได้เป็นเป้าหมายการทำงานใหม่ที่ เพื่อสร้างความหวัง และกำลังใจให้กับประชาชน กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย และผู้ให้บริการ ในการดูแลสุขภาพเพื่อลดการเกิดโรคร่วมจากการใช้ยาปริมาณมาก รวมถึงการควบคุมภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง อันนำไปสู่ความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรกระบวนการนี้ต้องสร้างความเข้าใจ ในรายที่ตั้งใจ โดยให้ฝึกทักษะ เรียนรู้ทฤษฎีพื้นฐาน อันจะนำไปสู่การฝึกปฏิบัติ ควบคู่กับวิชาการ เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของ กลุ่มป่วยเบาหวานได้ ให้สามารถ มีความรู้ ดูแลตนเอง เพื่อการอยู่กับเบาหวานได้ โดยลดการใช้ยา กระบวน การลดระดับน้ำตาลแบบนี้ เรียกการรักษาว่า “DiabetesRemission” หรือโรคเบาหวานสู่ระยะสงบ จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่คลองขุดให้เข้าใจและสามารถควบคุมโรคเบาหวานที่ป่วยอยู่ให้ดีขึ้น ลดการสูญเสีย และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด มีผู้ป่วยเบาหวานที่มรับยาในคลินิกปี 2568 จำนวน 108 คน ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด จัดให้มีบริการเดือนละ 2 ครั้ง ในวันพฤหัสบดีที่ 1 และ 2 ของเดือน โดยมีแพทย์เวชศาสตร์ชุมชมและเภสัชกรจากโรงพยาบาลสตูล ออกให้บริการตรวจผู้ป่วยในคลินิกถ้าพบผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนจะมีการส่งต่อโรงพยาบาลสตูล ข้อมูลจาก HDC จังหวัดสงขลา ในปี 2567 มีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 57 คน คุมน้ำตาลได้ดี มีค่า HbA1c ไม่เกิน 7 จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 28.92 และผู้ป่วยเบาหวานที่มีค่า HbA1c มากกว่าร้อยละ 7 จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 39.75
ในปี 2568 มีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 60 คน คุมน้ำตาลได้ดี มีค่าHbA1c ไม่เกิน 7 จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 35.21 และผู้ป่วยเบาหวานที่มีค่า HbA1c มากกว่าร้อยละ 7 จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 49.29 ในปี 2568 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุดได้ดำเนินการ คัดกรองค้นหากลุ่มสี่ยงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงเพื่อลดป่วย ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ผู้มีค่า HbA1c มากกว่า 7 ได้ดำเนินการให้เข้าร่วมโครงการ DM Remission ลดยาลดโรคในผู้ป่วยเบาหวาน มีผู้สมัครใจ จำนวน 30 ราย เพื่อให้เกิดความรู้ เสริมสร้างทักษะ ในการดูแลตนเองเพื่อให้โรคเบาหวานอยู่เข้าสู่ระยะสงบ (DiabetesRemission) เกิดกระบวนการเรียนรู้ ด้วยความสมัครใจ เช่น การสร้างความมั่นใจในการเจาะเลือดด้วยตัวเองเพื่อติดตามระดับน้ำตาล มีการจัดการเรียนในห้องเรียน โดยทีมวิทยากรและมีการติดตามภาวะสุขภาพผ่าน การสื่อสารทางไลน์ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการให้เกิดแรงจูงใจ ว่าหมอที่ดีที่สุดในการรักษาสุขภาพ คือ ตัวของเขาเอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุดจึงได้จัดทำโครงการ NCDs RemissionClinic ลดยาลดโรคในผู้ป่วยเบาหวานครั้งนี้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
21 พ.ค. 68 | ติดตามผลการดำเนินงาน | 0 | 4,100.00 | - | ||
21 พ.ค. 68 | อบรมเชิงปฏิบัติการ ผู้ป่วยเบาหวาน แกนนำและเจ้าหน้าที่ | 0 | 47,440.00 | - | ||
รวม | 0 | 51,540.00 | 0 | 0.00 |
ผลผลิต กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย/แกนนำ ที่ผ่านการอบรม มีความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างถูกต้อง ผลลัพธ์ 1.กลุ่มป่วย/แกนนำ ที่ผ่านการอบรม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างถูกต้อง 2.กลุ่มป่วย ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านจากเจ้าหน้าที่และแกนนำในการให้คำแนะนำดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างถูกต้อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2568 10:32 น.