Strong And No Smoking ร่วมสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันบุหรี่มวนและบุหรี่ไฟฟ้า ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | Strong And No Smoking ร่วมสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันบุหรี่มวนและบุหรี่ไฟฟ้า ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | L5300-68-1-7 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด |
วันที่อนุมัติ | 15 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 36,050.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวโซเฟียวิชญา ด้วงทอง |
พี่เลี้ยงโครงการ | - |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.625,100.12place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 10 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สถานการณ์การสูบบุหรี่ไฟฟ้าในปัจจุบันของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมที่พบเห็นได้ในทุกด้านตั้งแต่วัยรุ่นเป็นต้นไป จนถึงวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน เนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายที่ผ่านมายังไม่เป็นรูปธรรม ขาดการบรูณาการแบบมีส่วนร่วม จากทุกภาคส่วน รวมถึงการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับพิษภัย อันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า และการรู้เท่าทัน กลยุทธ์ทางการตลาดของบริษัทยาสูบข้ามชาติยังไม่ครอบคลุมและต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องประสานความร่วมมือ อย่างเป็นระบบและเข้มข้นจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและภาคีเครือข่าย และในปัจจุบัน บุหรี่มวนและบุหรี่ไฟฟ้ากลายเป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น โดยเฉพาะนักเรียน เนื่องจากความเข้าใจผิดว่าบุหรี่ ไฟฟ้าปลอดภัยกว่าบุหรี่ทั่วไป อย่างไรก็ตาม งานวิจัยพบว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดิน หายใจ หัวใจ และสุขภาพจิต อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการติดนิโคตินและสารเสพติดอื่นๆ เป็นสาเหตุสำคัญ ทำให้เกิดโรคที่คุกคามและเป็นอันตรายต่อชีวิต ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด โรคหลอดเลือด เป็นต้น และประเด็นสำคัญคือทำให้ผู้ที่อยู่รอบข้างได้รับพิษควันบุหรี่ ซึ่งมีภาวะเสี่ยงทำให้เกิดโรคไม่แตกต่างจากคนสูบบุหรี่หรืออาจจะมากกว่าคนสูบบุหรี่ จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2550 พบว่าคนไทยที่อายุเกิน 15 ปี และสูบบุหรี่มากถึงเกือบ 11 ล้านคน โดยในจำนวนนี้ 9.5 ล้านคนสูบบุหรี่เป็นประจำ และอีก 1 ล้านคนเศษ สูบเป็นครั้งเป็นคราว เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจเมื่อ พ.ศ.2549 พบว่าจำนวนผู้สูบบุหรี่ในขณะนี้ลดลงเพียงเล็กน้อย (ไม่ถึงร้อยละ 5) เชื่อกันว่าเป็นผลมาจากประเทศไทยไม่มีการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่อย่างเป็นระบบและไม่ทั่วถึง จากการประเมินสถานการณ์ดังกล่าวพบว่าหากบุคคลเหล่านี้ไม่เลิกสูบบุหรี่ จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคอันสืบเนื่องจากการสูบบุหรี่ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 4 หรือกว่า 2 ล้านคน
โครงการนี้จึงมีเป้าหมายในการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่นักเรียน มีความรู้เกี่ยวกับอันตรายของบุหรี่มวนและบุหรี่ไฟฟ้า ผลกระทบทางสุขภาพ พร้อมเสริมทักษะในการปฏิเสธและเลือกวิธีการป้องกันที่ปลอดภัย ไม่ยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่มวนและบุหรี่ไฟฟ้าและการลด ละ เลิกในกลุ่มสูบเพื่อส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีทั้งทางกายและจิต
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพในกลุ่มเยาวชนในการดูแลสุขภาพลด ละ เลิกการใช้บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า จึงได้จัดทำโครงการ โครงการ Strong And No Smoking ร่วมสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันบุหรี่มวนและบุหรี่ไฟฟ้า ปีงบประมาณ 2568
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
21 พ.ค. 68 | อบรมเชิงปฏิบัติการ นักเรียน | 0 | 20,650.00 | - | ||
21 พ.ค. 68 | กิจกรรมให้คำแนะนำ รณรงค์ลด ละ เลิก ในชุมชน ได้แก่ เจ้าหน้าที่/แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข | 110 | 15,400.00 | - | ||
รวม | 110 | 36,050.00 | 0 | 0.00 |
ผลผลิต เยาวชนนักเรียน/แกนนำ ที่ผ่านการอบรม มีความรู้ รู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของบุหรี่มวนและบุหรี่ไฟฟ้า ผลลัพธ์ 1.เยาวชนนักเรียน/แกนนำ ที่ผ่านการอบรม มีการดูแลสุขภาพตนเองไม่ใช้บุหรี่มวนและบุหรี่ไฟฟ้า 2.แกนนำชุมชนส่งเสริม/แนะนำให้ประชาชนในชุมชนไม่ใช้บุหรี่มวนและบุหรี่ไฟฟ้า
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2568 10:57 น.