โครงการรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปี2568
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปี2568 |
รหัสโครงการ | 68-L4123-01-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกือลอง |
วันที่อนุมัติ | 25 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 27,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางธัญรดี คงทน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 124 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งของสตรีในประเทศไทยซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็น อันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี พบได้ถึง 3 คน ในประชากรหนึ่งแสนคน ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต ประมาณ 4,500 ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ 30-60 ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่าย สะดวก ราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการตรวจ Pap Smear ส่วนโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องทำการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยัง อวัยวะอื่น ๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ในปี 2563-2567 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกือลอง ได้ดำเนินการคัดกรองค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกมีผลงานสะสม 5 ปี (2563-2567) เป้าหมาย 747 คน ได้รับการตรวจคัดกรองสะสม 2 ปี (2564)จำนวน 230 คน คิดเป็นร้อยละ 30.78 ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด และในปีงบประมาณ 2565 การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองกลุ่มป้าหมาย 30 ปีขึ้นไปจำนวน 779 ราย ได้รับการคัดกรองด้วยตนเองหรือเจ้าหน้าที่จำนวน645 ราย คิดเป็นร้อยละ 82.79 จะเห็นได้ว่า การตรวจคัดกรองฯยังทำไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาได้ทัน จึงควรดำเนินการจัดทำโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2568 ต่อไป ดังนั้นทีมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกือลอง จึงได้จัดโครงการรณรงค์คัดกรองตรวจมะเร็งปากมดลูก ปี2568 ในรูปแบบค้นหาเชิงรุกในชุมชม เพื่อค้นหาผู้ที่มีภาวะเสี่ยงตั้งแต่เริ่มแรกก่อนที่จะลุกลามไปสู่ระยะที่มีโอกาสรักษาหายได้ยาก
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อสตรีวัยเจริญพันธุ์ในกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี Pap smear สตรีวัยเจริญพันธุ์ อายุ 30-60 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 100 |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 27,200.00 | 0 | 0.00 | |
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมให้ความรู้ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกให้กับหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 30 – 60 ปี อบรมให้ความรู้พร้อมตรวจคัดกรอง | 0 | 14,800.00 | - | ||
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมให้ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกให้กับหญิงวัยเจริญพันธ์ อายุ 30 – 60 ปี | 0 | 12,400.00 | - |
- สตรีกลุ่มวัยเจริญพันธ์ในกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
- อัตราเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2568 00:00 น.