กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของข้อต่อและการทรงตัวสำหรับบุคคลออทิสติก
รหัสโครงการ L5300-68-3-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการคนพิการบุคคลออทิสติกจังหวัดสตูล
วันที่อนุมัติ 15 พฤษภาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 72,725.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมบูรณ์ สุวาหลำ
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.625,100.12place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ศูนย์บริการคนพิการบุคคลออทิสติกจังหวัดสตูล จัดตั้งขึ้นโดยองค์กรภาคประชาชน ชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกจังหวัดสตูล ในการส่งเสริมและช่วยเหลือผู้พิการและผู้ดูแลให้เข้าถึงสิทธิและให้ได้มาด้วยสิทธิอันพึงจะได้รับตามกฎหมาย ในทุกด้านรวมถึงการฟื้นฟูและพัฒนาสมรรถภาพผู้พิการตามศักยภาพและความสามารถของแต่ละบุคคล โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาเด็กพิการให้มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นการเตรียมความพร้อมที่จะเรียนรู้และสร้างรากฐานชีวิตให้พัฒนาเด็กไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีวินัย รวมถึงคุณภาพชีวิตของครอบครัวคนพิการและผู้ดูแลให้ดีขึ้น อยู่ร่วมสังคมอย่างปกติสุข
บุคคลออทิสติก เป็นผู้พิการที่มีลักษณะอาการของโรคออทิซึม มีความบกพร่องเกี่ยวกับระบบการทำงานที่ผิดปกติของสมอง รวมถึงระบบการรับรู้และกลไกการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ส่งผลให้มีปัญหาในด้านพฤติกรรม ด้านการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และด้านการสื่อสาร การขี่สัตว์เพื่อการบำบัด เช่น อาชาบำบัด การนั่งช้างเล่น เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพและแก้ไขปัญหาด้านพฤติกรรมที่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติหรือมีท่าทางแปลกๆ เป็นการรักษาทางเลือก ที่สามารถช่วยเหลือบุคคลออทิสติก ลดการพึ่งพาทางการแพทย์ ที่ต้องรับยาหรือใช้ยาในการควบคุมพฤติกรรมบุคคลออทิสติก ซึ่งการรับประทานยาประจำอาจส่งผลกระทบข้างเคียงจากการใช้ยารักษาได้ในระยะยาว แต่ตามสภาพความเป็นจริง ผู้พิการยังขาดโอกาสในการเข้ารับบริการต่างๆ ด้วยค่าใช่จ่าย ระยะทางในการเดินทาง ผู้ดูแลไม่สามารถนำผู้พิการทำกิจกรรมพัฒนาต่างๆได้ ดังนั้น ศูนย์บริการคนพิการบุคคลออทิสติกจังหวัดสตูล ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของบุคคลออทิสติกและเด็กพิเศษ จึงจัดทำ “โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของข้อต่อและการทรงตัว สำหรับบุคคลออทิสติก” ขึ้น เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ผู้ดูแล บุคคลออทิสติกและเด็กพิเศษ
การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านร่างกาย ระบบประสาทสัมผัสการรับรู้ข้อต่อและการทรงตัว ทำให้ผู้พิการมีพัฒนาการที่ดีขึ้นในทุกด้าน การรับรู้ของข้อต่อทำให้การเคลื่อนไหวซ้ำๆลดและหายไป การทรงตัวทำให้มีการประสานสัมพันธ์กันของการเคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆในการทำงาน ผ่านกิจกรรมนั่งเรือบำบัด นั่งโยกเยกคู่ การใช้ลู่วิ่งสำหรับเด็ก และเบาะยิมนาสติก ทำให้บุคคลออทิสติกมีการปรับตัว ลดพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากระบบประสาทสัมผัสการรับรู้ ข้อต่อและการทรงตัว ระบบการตอบสนองของสมองต่อการรับรู้และการเคลื่อนไหว ทำให้บุคคลออทิสติกนิ่งขึ้น เกิดสมาธิและความพร้อมในการเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ดีขึ้น สามารถช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันและทำงานต่างๆได้ด้วยตนเอง ลดภาระการดูแลช่วยเหลือของผู้ปกครองหรือผู้แล อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
21 พ.ค. 68 การจัดหา จัดซื้อ สื่อ อุปกรณ์การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านร่างกาย 0 58,800.00 -
21 พ.ค. 68 การอบรมความรู้ การใช้สื่ออุปกรณ์พัฒนาข้อต่อและการทรงตัว 0 12,400.00 -
21 พ.ค. 68 ค่าวัสดุอื่นที่ใช้ และการฟื้นฟูสมรรถภาพบุคคลออทิสติกและผู้พิการ 0 1,525.00 -
รวม 0 72,725.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต ๑. ครู อาสาสมัคร ผู้ดูแลและคนพิการ มีความรู้และประสบการณ์ การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านร่างกาย ระบบประสาทสัมผัสการรับรู้ข้อต่อและการทรงตัว ๒. ผู้พิการมีและใช้สื่ออุปกรณ์ ฝึกทรงตัวและการรับรู้ของข้อต่อในการเคลื่อนไหวร่างกาย
        ๒.๑ ที่นั่งโยกเยก นั่งคู่ จำนวน ๑ อัน         ๒.๒ ลู่วิ่งสำหรับเด็ก จำนวน ๑ ชุด
        ๒.๓ เบาะยิมนาสติก พับได้ จำนวน ๒ ลูก         ๒.๔ เรือบำบัด ทรงแม่ค้า ชนิดอัดโฟม      จำนวน ๑ ลำ
๓. ผู้พิการมีสมรรถภาพด้านร่างกาย ระบบประสาทสัมผัสการรับรู้ข้อต่อและการทรงตัวดีขึ้น ตาม แผนพัฒนาศักยภาพคนพิการรายบุคคล ผลลัพธ์ ๑. ครู อาสาสมัคร ผู้ดูแลและคนพิการ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ มีความรู้และประสบการณ์ การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านร่างกาย ระบบประสาทสัมผัสการรับรู้ข้อต่อและการทรงตัว ๒. ผู้พิการ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ มีและใช้สื่ออุปกรณ์ ฝึกทรงตัวและการรับรู้ของข้อต่อในการเคลื่อนไหวร่างกาย         ๒.๑ ที่นั่งโยกเยก นั่งคู่ จำนวน ๑ อัน         ๒.๒ ลู่วิ่งสำหรับเด็ก จำนวน ๑ ชุด
        ๒.๓ เบาะยิมนาสติก พับได้ จำนวน ๒ ลูก         ๒.๔ เรือบำบัด ทรงแม่ค้า ชนิดอัดโฟม      จำนวน ๑ ลำ
๓. ผู้พิการ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ มีสมรรถภาพด้านร่างกาย ระบบประสาทสัมผัสการรับรู้ข้อต่อและการทรงตัวดีขึ้น ตามแผนพัฒนาศักยภาพคนพิการรายบุคคล

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2568 11:53 น.