กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาการจัดระบบสุขภาพตำบลคลองขุดสู่เป้าหมายลดโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ L5300-68-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา)
วันที่อนุมัติ 15 พฤษภาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 46,460.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวบุปผา พนมคุณ
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.625,100.12place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 52 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 177 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 73 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมอง มะเร็ง ฯลฯ เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย พฤติกรรมการสูบบุหรี่ การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงภาวะเครียด และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง(CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง (CVD) เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวมองค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่านอกจากการบริการทางคลินิกแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีความสำคัญและจําเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อดังกล่าว ซึ่งการ บริการสุขภาพภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงบริการ ขั้นพื้นฐานที่จําเป็น รวมทั้งการบริการสุขภาพเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเป็นสำคัญ โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน สถานการณ์โรคเรื้อรังในพื้นที่หมู่ที่๓,๔,และ 7 ตำบลคลองขุด ปี ๒๕๖6-๒๕๖8 มีผู้ป่วย โรคเบาหวานจำนวน 56, 58 และ 6๖ คน ตามลำดับ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 116, 119 และ 123 คน ตามลำดับ ซึ่งพบว่าแนวโน้มการเกิดโรคเพิ่มมากขึ้นทุกปี จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด(สาขา) ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เล็งเห็นความสำคัญ ของการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกการเข้าถึงชุมชน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาการจัดระบบสุขภาพตำบลคลองขุดสู่เป้าหมายลดโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2568ขึ้น โดยจัดกิจกรรมบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาพการคัดกรองความ เสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง การให้คำแนะนำด้านสุขภาพ เพื่อค้นหาความเสี่ยงต่อการเกิด โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเป็นการเตรียมความพร้อมการดูแล สุขภาพตั้งแต่ระยะเริ่มแรก และการป้องกันการเกิดโรคในกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ เรื้อรัง อันจะทำให้ลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มได้ในระยะยาว

จากการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา) ได้ดำเนินงานตรวจคัดกรอง เบาหวานและความดันโลหิต ตามโครงการพัฒนาการจัดระบบสุขภาพตำบลคลองขุดสู่เป้าหมายลดโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ในปีงบประมาณ 2567 พบว่า ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวาน จำนวน 2,298 คน จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 3,332 คน คิดเป็นร้อยละ 68.97 ซึ่งจากการคัดกรองเบาหวาน พบว่า มีกลุ่มปกติจำนวน 2,269 คน คิดเป็นร้อยละ 68.10 กลุ่มเสี่ยง จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 0.63 และกลุ่มที่ต้องได้รับการรักษา/ส่งต่อ จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 0.24 ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง จำนวน 1,745 คน จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 2,690 คน คิดเป็นร้อยละ 64.87 ซึ่งจากการคัดกรองความดันโลหิต พบว่า มีกลุ่มปกติจำนวน 1,599 คน คิดเป็นร้อยละ 59.44 กลุ่มเสี่ยง จำนวน 101 คน คิดเป็นร้อยละ 3.75 และกลุ่มที่ต้องได้รับการรักษา/ส่งต่อ จำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 1.67 ส่วนในการดำเนินงานคลินิกเรื้อรังในปี 2567 พบว่า มีผู้รับบริการเป็นผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงทั้งหมด 177 คนเป็นคนไข้ไตระยะ 2 จำนวน 32 คน เป็นคนไข้ไตระยะ 3 จำนวน 15 คน ไตระยะ 4 จำนวน 1 คน จากข้อมูลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา) มีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปในปีงบประมาณ ๒๕๖8 ทั้งสิ้น 3,609 คน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาการจัดระบบสุขภาพตำบลคลองขุดสู่เป้าหมายลดโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตอย่างต่อเนื่องและบรรลุตามตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดไว้ร้อยละ 90 ของประชากร 35 ปีขึ้นไปตามชุดสิทธิประโยชน์ และเพื่อให้ประชากรกลุ่มป่วยปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสมเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนลดลง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 302 46,460.00 0 0.00 46,460.00
21 พ.ค. 68 กิจกรรมตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงและอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม3อ.2ส. 125 19,850.00 - -
21 พ.ค. 68 กิจกรรมตรวจเลือดประจำปีและตรวจปัสสาวะผู้ป่วยและอบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเพื่อลดภาวะโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น 177 26,610.00 - -
รวมทั้งสิ้น 302 46,460.00 0 0.00 46,460.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต 1. ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามชุดสิทธิประโยชน์อย่างน้อยร้อยละ 90 ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. กลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการคัดกรองเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 100 3. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ที่ได้รับการคัดกรองเข้าสู่กระบวนการรักษาทุกราย      ร้อยละ 100 ๔. ผู้ป่วยเรื้อรังมีภาวะโรคแรกซ้อนลดลง ร้อยละ ๖๐ ผลลัพธ์ 1. ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามชุดสิทธิประโยชน์ 2. ผู้ได้รับการคัดกรองตรวจพบภาวะเสี่ยงได้ผ่านกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ได้ผ่านกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 4.ผู้ป่วยเรื้อรังมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดำเนินของโรค การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องมากขึ้นและนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะโรคแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2568 14:29 น.