โครงการสร้างเสริมสุขภาพกาย สำราญสุขภาพจิตด้วยดนตรี Folk Song เพื่อชีวิตพิชิตความเครียดสำหรับเด็กในวัยเรียน
ชื่อโครงการ | โครงการสร้างเสริมสุขภาพกาย สำราญสุขภาพจิตด้วยดนตรี Folk Song เพื่อชีวิตพิชิตความเครียดสำหรับเด็กในวัยเรียน |
รหัสโครงการ | 68-L5239-2-14 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนวัดดีหลวง |
วันที่อนุมัติ | 7 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 18,940.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ว่าที่ร้อยเอก สินสมุทร คงยอด |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.58,100.406place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ต.ค. 2567 | 30 ก.ย. 2568 | 18,940.00 | |||
รวมงบประมาณ | 18,940.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ตลอดระยะเวลาที่โรงเรียนวัดดีหลวงได้ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อมีภารกิจให้บริการด้านการศึกษา คณะครูได้มีโอกาสในการพูดคุยสอบถามถึงปัญหาด้านต่างๆที่เด็กและเยาวชนได้รับ อาทิ ปัญหาเรื่องการเงินในครอบครัว ,ปัญหาเรื่องสุขภาพกาย สุขภาพจิต, ปัญหาเรื่องความขัดแย้งในครอบครัว เด็กที่มีอายุน้อยมักมีภาวะเครียดตามคนวัยอื่นจะรู้สึกกังวลในการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่มีเปลี่ยนแปลงไปจากวัยเด็กสู่วัยรุ่น มีบทบาททางสังคมน้อยไม่เป็นที่สนใจ ทำให้ขาดความมั่นใจในตนเอง ยิ่งถ้ามีปัจจัยที่เป็นปัญหา ด้านอื่นมาสมทบ เช่น การขาดแคลนอาหารและสิ่งของจำเป็น, การถูกเมินเฉยไม่ได้รับการดูแล การถูกทอดทิ้งแม้อยู่ด้วยกันกับครอบครัวแต่ครอบครัวก็ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ และที่หนักที่สุดคือการถูกทอดทิ้งให้อยู่คนเดียวตามลำพังเพียงคนเดียวพ่อแม่ ผู้ปกครองไม่ค่อยดูแลก็จะมีความเครียดและทุกข์ใจมาก ทำให้สุขภาพแย่ลงอย่างรวดเร็วด้วยกลัวไม่เป็นที่รัก และเป็นที่สนใจ จากการศึกษาวิจัยพบว่า ร่างกายมีความสัมพันธ์กับจิตใจ ผู้ที่มีจิตใจดีกำลังใจดี ทำให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนแห่งความสุข เอ็นโดรฟิน (Endorphin) ทำให้ผ่อนคลาย มีสมาธิ จิตใจสงบ แต่ตรงกันข้ามคนชราที่ป่วยและมีความเครียดจะผลิตฮอร์โมนแห่งความทุกข์ คอร์ติซอล (Cortisol) ทำให้นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอขบวนการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอต่าง ๆ ของร่างกายจากการปรับสมดุลของสารเคมีต่าง ๆ แย่ลง โรคภัยไข้เจ็บก็จะมีมากขึ้น โครงการสร้างเสริมสุขภาพกาย สำราญสุขภาพจิตด้วยดนตรี Folk Song เพื่อชีวิตพิชิตความเครียดสำหรับเด็กในวัยเรียน คือการนำศาสตร์ที่ว่าด้วยการใช้ดนตรีหรือองค์ประกอบอื่นๆ ทางดนตรีมา ประยุกต์ใช้เพื่อปรับเปลี่ยน พัฒนา และคงรักษาไว้ซึ่งสุขภาวะของร่างกาย จิตใจอารมณ์ ดนตรีบำบัดในยุคปัจจุบันถูกนำมาใช้ในเชิงทางการแพทย์มากขึ้น เป็นความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ซึ่งคนทั่วโลกได้นำมา ช่วยฟื้นฟูกลุ่มผู้ป่วย ประเทศไทยเองมีการนำเข้ามาใช้ในการแพทย์เมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมา
ดังนั้น โรงเรียนวัดดีหลวงได้ให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาเด็กและเยาวชนควบคู่กับการส่งเสริมความรู้ ความถนัดและความสนใจไปพร้อม ๆ กัน โดยมีหลักคิดที่จะทำให้ร่างกายและจิตใจของเด็ก เยาวชน เกิดแรงกระตุ้น ในด้านบวก หายเหงา มีชีวิตชีวา ลดอาการเจ็บปวด มีกำลังใจในการดำเนินชีวิตมากขึ้น เป็นการส่งเสริมให้เด็ก เยาวชนค้นพบตัวเอง และมีความสุขในการแสดงออกในสิ่งที่ตนเองสนใจ เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ พร้อมที่จะกล้าแสดงออกในสิ่งที่ดีงาม
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เด็กและเยาวชนใช้ดนตรี Folk Song ในการบำบัดส่งเสริมป้องกันโรคลดภาวะเครียด วิตกกังวล เด็กและเยาวชนมีภาวะเครีย วิตกกังวล ลดลง ร้อยละ 70 |
||
2 | เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ที่แข็งแรง สมวัย เด็กและเยาวชนมีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ร้อยละ 50 |
- เด็กและเยาวชนมีภาวะเครีย วิตกกังวล ลดลง
- เด็กและเยาวชน สามารถเล่น ดนตรี Folk Song ได้อย่างน้อยหนึ่งเพลง
- เด็กและเยาวชนมีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ 4.เด็กและเยาวชนมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ ด้านสุขภาพจิต
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2568 14:33 น.