โครงการเฝ้าระวังภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธุ์ ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธุ์ ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L2972-10(1)-3 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุแตบือราแง |
วันที่อนุมัติ | 11 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 10,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางฟารีฮา เด่นอุดม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตะโละดือรามัน อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.603,101.554place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 16 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 90 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยหญิงไทย ร้อยละ 37 มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก แนะกินอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์ เลือด ตับ และอาหารทะเล เพื่อป้องกันภาวะซีด และโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดให้วันที่ 8 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันธาลัสซีเมียโลก ซึ่งโรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคโลหิตจางชนิดหนึ่งเกิดจากความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดภาวะซีดหรือโลหิตจาง สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ นอกจากนี้ สาเหตุของภาวะซีดที่พบบ่อยเกิดจากการกินอาหารที่มีธาตเหล็กไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย การมีประจำเดือนออกมากเกินไป พบได้บ่อยในหญิงวัยรุ่นและวัยเจริญพันธุ์ และการตรวจพบหนอนพยาธิในร่างกาย เช่น โรคพยาธิปากขอ เพราะพยาธิปากขอดูดกินเลือดเป็นอาหาร โดยอาการของการขาดธาตุเหล็กประกอบด้วย หน้าตาซีดเซียว เยื่อบุตา ริมฝีปาก ฝ่ามือ และเล็กซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย โตช้า เรียนรู้ช้า
Health Data Center กระทรวงสาธารณสุข ปี 2566 พบว่า หญิงตั้งครรภ์ มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 31.2 และหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 15 ถึง 49 ปี ที่ได้รับการคัดกรองภาวะโลหิตจาง ในขณะที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ พบภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 37.0 ซึ่งสมัชชาอนามัยโลก Global Nutrition Targets ได้กำหนดเป้าหมาย ลดอัตราภาวะโลหิตจางของหญิงวัยเจริญพันธุ์ลง เหลือร้อยละ 50 ภายในปี 2573 ทั้งนี้ การป้องกันการเกิดภาวะซีดหรือโลหิตจาง ที่นอกจากการให้ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและกรดโฟลิกแล้ว กรมอนามัย ยังแนะนำให้กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ดังนี้ 1) เนื้อสัตว์ เนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เป็นอาหารธาตุเหล็กสูง และร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้โดยตรง 2) เลือด ตับ เครื่องในจากสัตว์ ซึ่งเป็นแหล่งของธาตุเหล็กและสารอาหารอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน วิตามินบี ทองแดง ซีลีเนียม 3) อาหารทะเล เช่น หอยแครง หอยแมลงภู่ กุ้ง ปลาทูน่า 4) ไข่แดง เป็นอาหารที่กินง่ายกินได้ทุกวัน เด็กวัยเรียนและผู้ที่ไม่มีปัญหาสุขภาพควรกินเป็นประจำ เพื่อไม่ให้ขาดธาตุเหล็ก 5) ผักใบเขียว ในผักใบเขียวหลาย ๆ ชนิด มีธาตุเหล็กสูง เช่น ผักโขม คะน้า ตำลึง ปวยเล้ง บรอกโคลี
สำหรับผลกระทบจากภาวะโลหิตจางต่อการตั้งครรภ์ผลต่อมารดานั้น ทำให้การทำงานของหัวใจหนักขึ้น เพิ่มความเสี่ยง heart failure โอกาสติดเชื้อต่าง ๆ ง่ายขึ้น และช่วงการคลอดและหลังคลอดมีผลกระทบซ้ำเติมต่อมารดาจากการเสียเลือด ทำให้เกิดจากวะช็อก หรือ heart failure ได้นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression) ส่วนผลต่อทารกนั้นบางสาเหตุสามารถถ่ายทอดความเสี่ยงไปยังทารกได้ เช่น ธาลัสซีเมียทารกน้ำหนักน้อยกว่าปกติ หรือทารกโตช้าในครรภ์ เพิ่มอัตราการตายปริกำเนิด และการคลอดก่อนกำหนดมีเหล็กสะสมน้อยกว่าปกติ หากไม่ได้รับธาตุเหล็กเสริมหลังคลอด จะมีพัฒนาการและเจริญเติบโตของสมองที่ช้ากว่าเด็กทั่วไป
ในการนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจึงเล็งเห็นความจำเป็นที่ต้องส่งเสริมองค์ความรู้ในการป้องกันภาวะซีดตั้งแต่เนิ่นๆในหญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ จึงดำเนินการโครงการดังกล่าว
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์มีความรู้เพิ่มขึ้น หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์มีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 40 |
||
2 | หญิงวัยเจริญพันธ์เมื่อตั้งครรภ์มีภาวะซีดลดลง หญิงวัยเจริญพันธ์เมื่อตั้งครรภ์มีภาวะซีดลดลง ร้อยละ 20 |
||
3 | หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดได้รับส่งเสริมการกินยาและได้รับการติดตาม หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดได้รับส่งเสริมการกินยาและได้รับการติดตาม ร้อยละ 100 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์มีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 40 2. หญิงวัยเจริญพันธ์เมื่อตั้งครรภ์มีภาวะซีดลดลง ร้อยละ 20 3. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดได้รับส่งเสริมการกินยาและได้รับการติดตาม ร้อยละ 10
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2568 11:06 น.