กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านปาโจ
รหัสโครงการ 68 - L4138 – 02 - 10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านปาโจ
วันที่อนุมัติ 26 ธันวาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 10 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 18,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไพบูลย์ ดำสมุทร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.523,101.181place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 18,000.00
รวมงบประมาณ 18,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 58 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของโครงการ)     จากกระแสโลกาภิวัตน์ที่เกิดจากความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบทั้งด้านบวก และด้านลบต่อเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และคุณภาพชีวิตของประชาคมโลก สังคมไทยจึงต้องมีการปรับตัวโดยการ “พัฒนาคน”ทั้งด้านคุณภาพและสมรรถนะของบุคคลให้มีพื้นฐานในการคิด เรียนรู้ และทักษะการจัดการและการดำรงชีวิต ที่สามารถเผชิญกับปัญหาสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งจำเป็นต้องปรับกระบวนการพัฒนาพร้อมกับการสร้างโอกาสและหลักประกันให้ทุกคนในสังคม โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพื่อให้คนไทยได้รับการพัฒนาทั้งด้านสติปัญญา กระบวนการเรียนรู้ และทักษะความรับผิดชอบต่อตนเอง เพื่อประโยชน์ในการร่วมพัฒนาท้องถิ่นและประเทศชาติต่อไป     เด็กวัยเรียนและเยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญยิ่งของการพัฒนา ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในปีเด็กสากล พุทธศักราช 2522 ที่ว่า“เด็กเป็นผู้ที่รับช่วงทุกสิ่งทุกอย่างจากผู้ใหญ่ รวมทั้งภาระความรับผิดชอบในการธำรงรักษา ความสุขสงบของประชากรโลก”และในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขององค์การสหประชาชาติ (UN Convention on the right of the child) ซึ่งประเทศไทยลงนามและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2535 มีสาระสำคัญที่มุ่งคุ้มครองสิทธิเด็ก4 ประการ คือ สิทธิในการอยู่รอด (Servival Rights)สิทธิในการได้รับการปกป้องคุ้มครอง (Protection Rights) สิทธิในการพัฒนา (Development Rights) และสิทธิในการมีส่วนร่วม (Participation Rights) ซึ่งรัฐต้องดำเนินการให้เด็กได้รับการคุ้มครองในสิทธิดังกล่าว การลงทุนกับเด็กและเยาวชนย่อมมีผลคุ้มค่ามากกว่าการลงทุนใดๆ เด็กที่ได้รับการพัฒนาอย่างถูกต้อง เหมาะสมจะนำไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ สภาพปัญหาเด็กและเยาวชน จากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลต่อวิถีชีวิตของเด็กวัยเรียนและเยาวชน โดยเฉพาะด้านพฤติกรรมเสี่ยงจากการได้รับแบบอย่างที่ไม่เหมาะสม มีค่านิยมและวัฒนธรรมตามกระแสสังคมที่ไม่ถูกต้อง นำไปสู่ปัญหาที่เกิดจากตัวเด็ก ครอบครัว และสภาพแวดล้อมทางสังคมเช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์โรคเอดส์ ยาเสพติด ความรุนแรงและอุบัติเหตุ เป็นต้น ปัญหาดังกล่าว หากไม่มีการป้องกันล่วงหน้าจะก่อให้เกิดความสูญเสียนานัปการจำเป็นต้องให้ความสำคัญและเร่งสร้างคุณภาพทั้งการศึกษาควบคู่ไปกับสุขภาพ เพื่อพัฒนาศักยภาพให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี
การเสริมสร้างพลังความรู้สู่สุขภาวะ สุขภาพกับการศึกษา ต้องดำเนินการควบคู่กันไปในลักษณะเกื้อกูลซึ่งกันและกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อเด็กนักเรียนและเยาวชนดังนั้นนับตั้งแต่ปี 2540 แนวทางการพัฒนาเด็กวัยเรียนและเยาวชน จึงมีความชัดเจนเป็นรูปธรรมมากขึ้นทั้งเชิงยุทธศาสตร์และเป้าหมาย โดยเฉพาะจาก 2 มิติสำคัญของนโยบายชาติ ได้แก่   1. มิติแห่ง “การปฏิรูปการศึกษา” กล่าวถึง “การประกันคุณภาพการศึกษา”ด้านกระบวนการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ บนพื้นฐานกระบวนการจัดการศึกษาตามปรัชญาหลัก 3 ประการ คือ การศึกษาเพื่อปวงชนการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาเพื่อการแก้ไขปัญหาทั้งมวล   2. มิติแห่ง “การปฏิรูประบบสุขภาพ” กล่าวถึง “การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”ซึ่งเป็นการให้สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน โดยกระบวนการจัดการด้านสุขภาพตามปรัชญาหลัก 3 ประการ คือ สุขภาพเพื่อปวงชน สุขภาพเพื่อชีวิต และสุขภาพเพื่อแก้ไขปัญหาทั้งมวล
การพัฒนาเด็กและเยาวชนสู่ประชาคมอาเซียน การพัฒนาเด็กและเยาวชน ต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน โดยเฉพาะด้านสุขภาพซึ่งเป็นความจำเป็นพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิต หากเด็กมีพัฒนาการทางร่างกาย สติปัญญาและจิตใจที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีทักษะ สามารถดูแลสุขภาพตนเองและมีพฤติกรรมที่เหมาะสม และมีความพร้อมในการเรียนรู้ ย่อมส่งผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา การพัฒนาการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน จะประสบความสำเร็จหรือไม่เพียงใด อยู่ที่กระบวนการจัดการโดยมุ่งเน้นที่ประสิทธิภาพของสถาบันการศึกษาให้สามารถเป็นแกนนำหรือศูนย์กลางการพัฒนาการศึกษาควบคู่ไปกับการสร้างสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ครอบครัวของเด็ก ชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ซึ่งเป็นสถาบันพื้นฐานทางสังคมที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาให้เด็กและเยาวชนไทยมีคุณภาพมาตรฐานทัดเทียมกับประเทศอื่น จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นโรงเรียนบ้านปาโจได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการมีสุขภาพที่ดี จึงกำหนดแนวทางการดำเนินงานโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านปาโจขึ้น เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพอนามัยและสุขนิสัยที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพอนามัยแก่นักเรียน – ครู และบุคลากรทางการศึกษาทุกคนในโรงเรียนและชุมชน

ร้อยละ  90 มีความรู้เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพอนามัยแก่นักเรียน – ครู และบุคลากรทางการศึกษาทุกคนในโรงเรียน และชุมชน

90.00
2 เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี

ร้อยละ  90 นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีและทำให้นำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

90.00
3 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการว่ายน้ำที่ถูกต้องและสามารถช่วยเหลือเพื่อนที่ประสบเหตุทางน้ำได้

ร้อยละ  90  นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการว่ายน้ำที่ถูกต้องและสามารถช่วยเหลือเพื่อนที่ประสบเหตุทางน้ำได้

90.00
4 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการนำพืชที่เป็นสมุนไพรมาทำยาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย

ร้อยละ  90 นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการนำพืชที่เป็นสมุนไพรมาทำยาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
23 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมว่ายน้ำเพื่อชีวิต 58 4,520.00 -
23 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมส่งเสริมภูมิปัญญาสมุนไพรบ้านปาโจ 58 4,520.00 -
23 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมการจัดบอร์ดให้ความรู้เกี่ยวกับนิทรรศการอาหารที่ปลอดภัย 0 560.00 -
23 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมเสียงตามสาย 0 0.00 -
23 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรม เสริมสร้างภาวะโภชนาการนักเรียนที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 30 8,400.00 -
รวม 146 18,000.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) นักเรียนมีสุขภาพอนามัยแข็งแรงสมบูรณ์     2) นักเรียนมีสุขนิสัยที่ดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข     3) นักเรียนมีความรู้และนำความรู้ไปใช้ดูแลตนเองให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง     4) นักเรียนสามารถช่วยเหลือเพื่อนเมื่อได้รับบาดเจ็บได้ถูกต้อง     5) นักเรียนสามารถรักษาอาการปวดเมื่อยด้วยสมุนไพรจากภูมิปัญญาในชุมชนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2568 15:21 น.