กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ "4D Kids ลำใหม่ เติบโตดี สุขภาพแข็งแรง"
รหัสโครงการ 68-L4141-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่
วันที่อนุมัติ 20 พฤษภาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 16,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดุษฎี ปาลกาลย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.583,101.205place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กปฐมวัย (อายุ 0–5 ปี) เป็นช่วงสำคัญของการวางรากฐานชีวิต ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมในทุกด้าน ทั้งพัฒนาการ โภชนาการ สุขภาพช่องปาก และการได้รับวัคซีนอย่างครบถ้วน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากหลายหน่วยงานพบว่า เด็กไทยยังประสบปัญหาด้านสุขภาพหลายประการ เช่น

•เด็กไทยกว่า 30% มีพัฒนาการล่าช้า (ข้อมูลจากกรมอนามัย ปี 2566)

•เด็กปฐมวัยไทยมีปัญหาโภชนาการทั้ง ภาวะเตี้ย (10.3%) และผอม (5.5%) (รายงานภาวะโภชนาการเด็ก ป.2 โดย สสส. และมหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2566)

•เด็กไทยอายุ 3 ปีขึ้นไป กว่า 50% มีฟันผุ และไม่เคยได้รับการแปรงฟันโดยผู้ใหญ่ (กรมอนามัย, ปี 2565)

•เด็กบางกลุ่มยังไม่ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ครบถ้วน โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กต่างด้าว หรือในพื้นที่ห่างไกล (รายงานระบบเฝ้าระวัง EPI, กระทรวงสาธารณสุข)

จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องส่งเสริมความรู้ ทักษะ และความตระหนักของผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กในการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัยแบบองค์รวมผ่านแนวคิด “4D” ได้แก่ Development (พัฒนาการ)Diet (โภชนาการ)Dental (สุขภาพช่องปาก) และDisease prevention (การป้องกันโรค/วัคซีน)

จากสถานการณ์เด็กปฐมวัยในพื้นที่ตำบลลำใหม่ ในปี 2566 และ ปี 2567 ที่ผ่านมาพบว่าเด็กปฐมวัยได้รับการคัดกรองและสมวัย ครั้งแรก ร้อยละ 70.08และร้อยละ 68.09สงสัยพัฒนาการล่าช้า ร้อยละ 26.45 และร้อยละ 28.08 ด้านโภชนาการมีภาวะสูงดีสมส่วนร้อยละ 62.07 และร้อยละ 50.81 ตามลำดับ ซึ่งเด็กปฐมวัยเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว การได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอจะมีผลกระทบต่อเด็กได้ ในด้านการดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กอายุ 0-3 ปีได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากในปี 2566 จำนวน 57 ราย พบฟันผุ 9 ราย (15.79) และในปี 2567 ได้รับการตรวจ 43 ราย พบฟันผุ 2 ราย (4.65) จะเห็นได้ว่าเด็กที่เข้ามารับบริการตรวจสุขภาพช่องปากลดลง จากผลการปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ปีงบประมาณ 2567 ที่ผ่านมาพบว่าเด็กอายุครบ 1 ปี มีความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน 72.31 % เด็กอายุครบ 2 ปีมีความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน 83.78 %เด็กอายุครบ 3 ปี มีความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน 83.67 % และเด็กอายุครบ 5 ปี มีความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน 76.47 % ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ฉะนั้นเพื่อให้การดำเนินงานครอบคลุมจึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนทุกคนเพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุ 0-5 ปี ในอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจของผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเด็กใน 4 ด้าน ได้แก่ พัฒนาการ โภชนาการ สุขภาพช่องปาก และการรับวัคซีน

ร้อยละผู้ปกครองมีคะแนนความรู้ความเข้าใจหลังอบรมเพิ่มขึ้นจากก่อนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

2 เพื่อพัฒนาทักษะการดูแลและส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยแบบเชิงรุกในครอบครัว

ผู้เข้าร่วมอบรมร้อยละ 85 สามารถสาธิตวิธีดูแลเด็กในแต่ละด้านได้อย่างถูกต้อง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
15 ก.ค. 68 อบรมให้ความรู้และกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ 30 16,050.00 -
รวม 30 16,050.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองมีความรู้และความเข้าใจเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับ 4D
  2. เด็กได้รับการดูแลที่เหมาะสมทั้งพัฒนาการ อาหาร ช่องปาก และวัคซีน
  3. ลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพระยะยาวในเด็กปฐมวัย
  4. เกิดเครือข่ายพ่อแม่ผู้ดูแลที่สามารถขยายแนวคิดสู่ชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2568 09:52 น.